บริษัทโดยส่วนใหญ่  คิดว่าเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ไม่สำคัญ  ถ้าไม่มีมาตรการอะไรมารองรับ  การสรรหาคัดเลือกพนักงานเข้าสู่องค์กร  ซึ่งการรับพนักงาน  บางบริษัทก็จะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดเป็นผู้รับผิดชอบ มีอำนาจในการตัดสินใจเลือกพนักงานเข้ามาร่วมงาน  เพราะว่าเป็นการให้เกียรติ  ระดับหัวหน้าที่ต้องสรรหาคัดเลือกผู้ใต้บังคับบัญชาเข้ามาร่วมงาน  นั่นเอง  แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อองค์กรอยู่ไปนานๆ เข้า  บางหน่วยงานจะมีพนักงานที่มีบุคลิก หน้าตา สำเนียง  ที่มีความคล้ายคลึงกันทั้งหน่วยงานเลยก็มี  จึงทำให้ไม่เกิดการพัฒนา  ที่จะต้องสรรหาพนักงานที่มีความรู้  ความสามารถ  ที่มีแนวความคิดที่แตกต่างจากพนักงานที่มีอยู่ภายในหน่วยงาน

การรับพนักงานจึงเป็นปัญหาสำหรับองค์กรใหญ่ๆ  ที่มีการก่อตั้งของบริษัทมาเป็นเวลาหลายปี  จึงได้มีการรับพนักงานพนักงานลักษณะดังกล่าวเข้ามาสู่องค์กร  มากขึ้น  เพราะว่ากระบวนการรับสมัครไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง  ตั้งแต่เริ่มต้นนั่นเอง  ส่วนใหญ่เริ่มตั้งแต่พิจารณาใบสมัคร  หัวหน้าเมื่อได้รับใบสมัครมา  ก็จะมานั่งพิจารณาอันดับแรก คือ  พิจารณาที่อันดับแรกคือ ชื่อ และนามสกุล  พอนามสุกลเป็นญาติกันหรือคนรู้จักกัน ก็จะดอกจันไว้ก่อน  หลังจากนั้นมาพิจารณาอันดับที่สอง คือ สถาบันการศึกษา เมื่อผู้สมัครงาน  เป็นนักศึกษารุ่นน้องในสถาบัน  ก็จะใส่ดอกจันไว้อีก  พอมาอันดับที่สาม  พิจารณาที่  บ้านเกิด  ถ้าผู้สมัครมาจากจังหวัดเดียวกัน อยู่บ้านใกล้กัน  ก็จะใส่ดอกจันไว้อีก  ตกลงเป็นสามดอกจัน  เมื่อเป็นเช่นนี้  ผู้สมัครที่เข้าข่ายดังกล่าว  ก็จะถูกพิจารณาได้รับการสรรหาและคัดเลือก  ไว้ตั้งแต่เริ่มแรก  สิ่งประเด็นนี้  ที่ทำให้องค์กรได้รับพนักงานที่เหมือนกันเข้ามาภายในองค์กร

เมื่อเป็นลักษณะนี้  องค์กรที่ต้องการพนักงานที่จะมาเติมเต็ม  ในสิ่งที่บริษัทต้องการ  เช่น ต้องการพนักงานที่มีแนวคิดแตกต่าง  เพื่อสร้าง นวัตกรรมใหม่ๆให้กับบริษัท  ก็จะต้องเริ่มคิด พิจารณาถึงกระบวนการสรรหาและคัดเลือกพนักงาน  ที่มีแนวคิดแตกต่างจากเดิม  โดยแต่ละหน่วยงานต้องทำการวิเคราะห์  ทั้งความรู้  ความสามารถ และทักษะของพนักงานภายในหน่วยงานตัวเองให้ได้ก่อนว่า  หน่วยงานยังขาดพนักงานในลักษณะใด แบบใด  จึงจะทราบได้ว่า ข้อมูลที่จะต้องดำเนินการ  ส่งข้อมูลคุณสมบัติ ความต้องการของพนักงานที่หน่วยงานอยากได้ ไปยังฝ่ายทรัพยากรบุคคล  เพื่อสรรหาผู้สมัครเข้ามาร่วมงาน  ผู้เขียนจะขอยกตัวอย่าง  การวิเคราะห์พนักงานภายในแต่ละคน  โดยการใช้เครื่องมือ  competency  มาเป็นฐานในการวิเคราะห์  ซึ่งอาจจะต้องเริ่มพิจารณาอันดับแรก คือ core  competency  และ  Functional competency  ตามลำดับ

untitled47

เมื่อดูจากข้อมูลข้างบน   หัวหน้าหน่วยงานจะต้องพิจารณาพนักงานในสังกัดทั้งหมดว่า  พนักงานของตนเอง  มีส่วนที่ต้องพัฒนาในด้านใดบ้าง  เพราะว่าบางหัวข้อต้องใช้ระยะเวลาการพัฒนาค่อนข้างนาน  ถ้าหน่วยงานรับคนที่มีศักยภาพตามที่เราต้องการ  จะมาเติมเต็มหน่วยงานในส่วนที่ขาดได้เร็วกว่า  เป็นต้น

การพิจารณารับพนักงานในยุคใหม่  จึงให้ความสำคัญที่การรับพนักงานเข้ามาร่วมงาน ว่าจะต้องรับพนักงานแบบใด  เข้ามาร่วมงาน  จึงไม่มีความจำเป็นอีกแล้วที่จะต้องรับคนที่เหมือนกันหัวหน้าทุกอย่าง  เข้ามาร่วมงาน  เพื่อจะบอกว่า การรับคนที่มีลักษณะเหมือนกันเข้ามา จะทำให้เกิดความเป็นทีม  และการประสานงานกันได้ดีกว่า  ก็ไม่แน่เสมอไป  เพราะว่าเห็นอยู่หลายๆ  องค์กรที่รับคนมาลักษณะนี้  ก็มีความขัดแย้งภายในมากกว่าเสียด้วยซ้ำไป  ผู้บริหารองค์กร

ยุคใหม่จึงเริ่มมาใส่ใจ  ในการสรรหาและคัดเลือกคนเข้าสู่องค์กร  ที่มีความรู้  ความสามารถ  ที่มากกว่า หรือสิ่งที่หน่วยงานยังขาดอยู่  เข้ามาร่วมงาน  เพื่อให้งานของหน่วยงานเกิดประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายนั่นเอง