การวางแผนทรัพยากรมนุษย์สามารถกระทำได้ด้วยการวางแผนจากบนลงล่าง (Top-down Approach) และการวางแผนจากล่างขึ้นบน (Bottom-up Approach) ผสมผสานกัน กล่าวคือ การวางแผนจากบนลงล่างจะเริ่มต้นที่แผนหลักขององค์การ ก่อนกำหนดแผนทรัพยากรมนุษย์ พิจารณาสภาวการณ์ต่างๆ ในขณะนั้น การวางแผนจากบนลงล่างเป็นการเริ่มต้นวางแผนจากข้างบนลงมาข้างล่างหรือที่เรียกว่า นโยบายเป็นใหญ่ที่จะให้ได้ผลหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์หลักขององค์การ เพราะวัตถุประสงค์เป็นเสมือนตัวเชื่อมกิจกรรมต่างๆ ของทุกหน่วยงานในองค์การ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์จะต้องพิจารณาจากแผนหลักหรือแผนกำไร และแผนการผลิตขององค์การ กระบวนการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ มีรายละเอียด ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป ลำดับขั้นของกิจกรรมการวางแผนทรัพยากรมนุษย์

การพยากรณ์
การกำหนดเป้าหมาย
การวางแผนกลยุทธ์
การปฏิบัติตามแผน
การประเมินผลแผนงาน
การพยากรณ์
เป็นการพยากรณ์อุปสงค์(Demand) ซึ่งเป็นความต้องการด้านทรัพยากรกับอุปทาน(Supply) ซึ่งเป็นปริมาณทรัพยากรในตลาดแรงงาน โดยวิเคราะห์ดูว่าทรัพยากรมนุษย์ที่ต้องการในอนาคตขององค์การมีจำนวนเท่าใด และคุณสมบัติของทรัพยากรมนุษย์เป็นอย่างไร การพยากรณ์ทรัพยากรมนุษย์ขององค์การในอนาคตสามารถนำเอาวิธีทางสถิติ (Statistical method) ดุลยพินิจ (Judgment) และประสบการณ์ (Experience) มาใช้ได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะนำเอาหลายวิธีการมาผสมผสานกัน

การกำหนดเป้าหมาย(Goal Setting)
ซึ่งจะเกี่ยวกับงานและทักษะงานในอนาคต กล่าวคือ ในอนาคตจะมีบางด้านเพิ่มขึ้น เช่น งานสารสนเทศ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดทักษะ(skill)ที่จำเป็นที่จะต้องใช้งานนั้น ต้องมีการวางแผนเพื่อให้สามารถหาทรัพยากรที่มีทักษะเพิ่มขึ้นเพื่อทำงานดังกล่าวได้ อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณสมบัติด้านทักษะที่เหมาะสมด้วย

การวางแผนกลยุทธ์(Strategic Planning)
เป็นการพยากรณ์และกำหนดเป้าหมายทรัพยากรมนุษย์ต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์การ ในกรณีมุ่งเน้นกลยุทธ์ขององค์การมุ่งสู่คุณภาพจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวางแผนทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ โดยมุ่งสู่การเตรียมความพร้อมด้านผู้บริหารที่มีคุณภาพ เสริมความเป็นผู้นำ และการเตรียมทรัพยกรมนุษย์ที่มีคุณภาพ โดยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ซึ่งในฉบับต่อไป จะพูดมาต่อถึงเรื่อง การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ เพื่อที่จะให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์องค์การ โดยดึงปัจจัยสำคัญของแผนกลยุทธ์องค์การมาทำการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านคน ให้มีความเข้าใจยิ่งขึ้น โปรดติดตามในบทความต่อไปครับ

ดร. กฤติน กุลเพ็ง

“ประสบการณ์ 25 ปี ทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์และพัฒนาองค์กร เชี่ยวชาญเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่บริหารวัฒนธรรมองค์กร และ การ Implement Competency Model ให้กับองค์กรภาครัฐและเอกชน ประสบการณ์ในการทำงานในเครือซิเมนต์ไทยมา 15 ปี เป็นอาจารย์พิเศษ สอนด้าน Human Resource Management มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน”