ผู้บริหารองค์กรในยุคปัจจุบันต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ นาๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง กระบวนการผลิต ปัญหาสินค้าไม่ได้คุณภาพ ผลิตไม่ทันความต้องการของลูกค้า อาจจะเกิดจากหลายอย่าง เช่น การสื่อสารภายในองค์กรไม่ดี พนักงานไม่มีทักษะที่ดีพอ เทคโนโลยีไม่ได้มาสนับสนุนกระบวนการผลิตเท่าที่ควร ฝ่ายบัญชีและการเงิน เคร่งครัดเรื่องเอกสารมากเกินไป จนให้ทำงานไม่สะดวก ฝ่ายการตลาดขายแพ็คเกจสินค้าที่ขายแล้วไม่มีกำไร พนักงานทำงานหนักจนเกินไป ไม่มีเวลาพักผ่อน สิ่งที่เอ่ยมาทั้งหมดล้วนเป็นปัญหาขององค์กร ที่ต้องรอการแก้ไขทั้งสิ้น ที่ผู้เขียนพูดมา ยังไม่กล่าวถึงปัญหาเรื่องคนเลย ซึ่งส่วนใหญ่ปัญหาดังกล่าวมาทั้งหมดนั้น จะมีคนเข้ามาเกี่ยวข้องทุกขั้นตอนในการทำงาน

กระบวนการทำงานก็เปลี่ยนแปลงไป คนทำงานก็เปลี่ยน ทำให้ผู้บริหารองค์กรต้องคิดอยู่เสมอว่า จะมีวิธีการอย่างไรที่จะสร้างแรงจูงใจ คิดค้นวิธีทำงานใหม่ๆ มาเป็นสิ่งจูงใจในการทำงาน เพื่อให้พนักงานในองค์กร เกิดแรงจูงใจที่จะทำงานให้ดีขึ้น และอยู่กับองค์กรไปตลอด ไม่คิดที่จะออกไปอยู่ที่อื่น แต่คงไม่เป็นผลเสียแล้ว เพราะว่ายุคนี้เป็นยุคของโลก

ไร้พรมแดน จะทำอะไรทุกคนย่อมรู้กันทั้งบ้าน ทั้งเมือง

ยกตัวอย่าง เมื่อก่อนโทรศัพท์มือถือ พอห่างจากตัวเมืองหน่อยไม่สามารถรับสัญญาณได้แล้ว ไม่สามารถดูหนัง ฟังเพลงได้ และมองไม่เห็นซึ่งกันและกัน พอมายุคปัจจุบัน จะเดินทางไปแห่งใด สามารถบอกพิกัดได้หมด ว่าตรงจุดไหนและบริเวณใด ถ้ามองดูแล้ว ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย สำหรับข้อเสียที่เกิดขึ้นกับองค์กรในยุคปัจจุบันก็คือ ข่าวสารแรงงาน ข้อมูลค่าจ้างและสวัสดิการ มักจะถูกบิดเบือน และมีความเชื่อไปในทางที่ผิด ไปตามกระแสของโลก พนักงานก็เริ่มออกหางาน ไปยังองค์กรที่มีอำนาจ

มีกำลังในการจ้างที่แพงกว่า ตกแต่งประสบการณ์ให้ดูดี มีคนอ้างอิงที่

น่าเชื่อถือ ทั้งๆที่ ความรู้ ความสามารถ และทักษะไม่ได้เป็นไปตามประสบการณ์แต่อย่างใด

นักศึกษาที่จบจากรั้วมหาวิทยาลัย มีวัฒนธรรมที่ปลูกฝังก่อนออกโลกอาชีพว่า ถ้าคนใดออกไปทำงานที่บริษัท ถ้าเงินเดือนได้ไม่ถึง 15,000 บาท อย่ากลับมาให้เพื่อนเห็นหน้า เพื่อนๆจะไม่ต้อนรับ เด็กรุ่นใหม่จึงต้องเสาะแสวงหางานที่มีรายได้ดี ไม่ยุ่งยากในกระบวนการทำงาน วัฒนธรรมลักษณะนี้เกิดขึ้นในหมู่คนทำงานรุ่นใหม่ บางคนต้องยอมไม่ทำงาน เพราะจะได้ไม่ถูกเพื่อนสบประมาท จึงเห็นได้ว่านักศึกษาที่จบปริญญาตรีตกงานมากขึ้น เพราะว่าเลือกงานทำ ไม่ยอมทำงานที่ต่ำต้อย ใช้แรงงานมากเกินไป ความอดทนต่ำ

ผู้บริหารองค์กรเริ่มมีหน้าที่ใหม่เพิ่มขึ้น คือ การสัมภาษณ์คนเข้าสู่องค์กร เพราะว่า พนักงานเริ่มเข้า – ออก จากบริษัทมากขึ้นทุกวัน ทำให้ไม่มีเวลาทำงาน ต้องเสียเวลามานั่งสัมภาษณ์พนักงาน ฉะนั้นสิ่งที่ผู้บริหารต้องมีทักษะ ประสบการณ์ในการพิจารณาผู้สมัครที่เดินทางมาสัมภาษณ์ จะมีวิธีการเลือกเฟ้นอย่างไร จึงจะกลั่นกรองผู้สมัครได้แม่นยำขึ้น อย่างน้อยมีเทคนิคในการดูพฤติกรรมเบื้องต้น จะได้ไม่ถูกหลอกได้

ตัวอย่าง ผู้เขียนเคยมีเพื่อนที่ ทำงานอยู่ด้วยกัน ทำงานในบริษัทแห่งแรกประสบการณ์ 2 ปี ลาออกไปไปอยู่แห่งใหม่ ได้รับค่าจ้างสูงขึ้นเกือบสองเท่าจากที่เคยได้ ทำงานบริษัทแห่งที่ 2 ได้ ปีเศษๆ ลาออกจากบริษัทแห่งที่ 2 อีก ไปอยู่บริษัทที่ 3 ได้รับค่าจ้างสูงกว่าบริษัทที่ 2 สองเท่า ตำแหน่งก็สูงขึ้นด้วย เมื่อเทียบกับผู้เขียนในสมัยนั้นอัตราเงินเดือนห่างกันประมาณเกือบสี่เท่า เวลาผ่านไป 3 ปี เท่านั้น เพื่อนคนดังกล่าวต้องลาออกจากบริษัทที่ 3 เพราะว่า ทนต่อสภาพ ปัญหาภายในไม่ได้   งานทุกอย่างที่เข้ามาไม่สามารถแก้ปัญหาให้เสร็จลุล่วงได้ พนักงานมีปัญหาประท้วงเป็นรายวัน ฝ่ายบุคคลไม่สามารถเป็นที่พึ่งให้กับองค์กรได้ เลยต้องลาออกจากองค์กร หลังจากลาออกมาจากบริษัทที่ 3 แล้ว ก็มา

สมัครบริษัทที่ 4 ในตำแหน่งที่ลดลงจากเดิม เงินเดือนก็ลดลงจากบริษัทที่ 3 ประมาณสามเท่า และเป็นบริษัทที่ไม่มี แบรนด์เนม เท่าไรนัก ถ้าเทียบกันกับตำแหน่งผู้เขียนในปัจจุบันก็พอๆกัน แถมบริษัทที่ทำงานด้วย มีภาพลักษณ์ที่ดีกว่า เป็นที่รู้จักแก่บุคคลทั่วไป

การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งที่เร็วเกินไป โดยที่ความรู้ ความสามารถไม่ได้โตตามตำแหน่ง ก็จะทำให้เกิดปัญหาในเชิงการบริหารได้ เพราะว่าประสบการณ์เรื่องคน ไม่ใช่ใช้ การลอกเลียนแบบเหมือนกับ งานอย่างอื่นได้

กรณีมีการสัมภาษณ์พนักงานเข้าสู่องค์กร สำหรับผู้บริหารที่เป็น ประธานในการคัดเลือกพนักงาน จำเป็นจะต้องมีข้อสังเกต กรณีที่ยกตัวอย่างมาเป็นข้อมูลไว้ เพราะว่าการที่พนักงานอยากเติบโตในทางลัด มักจะใช้วิธีดังกล่าว เพื่อย่นระยะเวลาในการทำงานและถีบตัวเองขึ้น แต่ศักยภาพ ความสามารถ ไม่ได้ตาม ทำให้เกิดปัญหาแก่องค์กรตามมามากมาย บริษัทคงไม่ใช่ที่จะคัดเลือกพนักงานคนใดคนหนึ่ง มาเพื่อเป็นการทดลอง เพื่อความสะใจเท่านั้น การที่ผู้สมัครมีประสบการณ์จากที่อื่นมาแต่ละบริษัทที่ไม่เกิน 3 ปี แต่ละบริษัท ต้องตั้งเป็นข้อสังเกตเอาไว้เลยว่า ผู้สมัคร อาจจะมีพฤติกรรมที่เลือกงาน ต้องการที่จะอัพตัวเองขึ้น และสิ่งที่ผู้บริหารต้องเจอปัญหาที่น่ากลัวอีกระดับหนึ่งคือ การปลอมประสบการณ์ของตัวเอง เพื่ออัพตัวเอง ซึ่งจะเข้าข่ายในกรณีเดียวอีกเช่นกัน

ผู้เขียน   ดร.กฤติน   กุลเพ็ง      ประสบการณ์ 25 ปี ทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์และพัฒนาองค์กร เชี่ยวชาญเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ บริหารวัฒนธรรมองค์กร และ การ Implement Competency Model ให้กับองค์กรภาครัฐและเอกชน เป็นอาจารย์พิเศษ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน