คณเคยถูกคาดหวังให้ทำตัวหรือมีพฤติกรรมอย่างไรในองค์กรจากเจ้านาย  หรือเพื่อนร่วมงานหรือไม่ ถามเช่นนี้  ก็เพราะว่าระยะสองสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ ผมได้มีโอกาสเข้าไปร่วมทำงานและแลกเปลี่ยนความรู้กับ 3 องค์กร  ในฐานะที่ปรึกษาและวิทยากรหัวข้อ  ค่านิยมร่วมและการสร้างวัฒนธรรมองค์กร

 

 

ก่อนอื่นผมอยากจะทำความเข้าใจ ตามภาพต้นไม้ข้างต้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจ เรื่องวัฒนธรรมองค์กรได้มากยิ่งขึ้น ก่อนว่า ในองค์กรหนึ่งนั้น การที่จะให้พนักงานมีความรู้สึกร่วมหรือค่านิยมร่วม องค์กรต้องสร้างความเชื่อมั่น(Beliefs)ก่อน ซึ่งเปรียบเสมือนส่วนรากของต้นไม้  เมื่อพนักงาน เกิดความเชื่อถือ เชื่อมั่นแล้ว จะแผ่ขยายวงกว้างออกไปสู่พนักงานทุกระดับชั้นกลายเป็น ค่านิยมขององค์กร(Values) ก็เปรียบเสมือนกับส่วน กิ่งก้านของต้นไม้   พนักงานส่วนใหญ่เกิดความเชื่อมั่นในค่านิยมที่สร้างกันมานานนับปีแล้ว จะนำไปสู่พฤติกรรม(Behavior) ของพนักงานที่แสดงออกมาที่เหมือนๆกัน เช่น  การทักทายกันทุกเช้าด้วยการไหว้ ซึ่งเปรียบเสมือนกับ ใบไม้ และผลไม้ที่ผลิดอก ออกผลเต็มต้น นั่นคือ กระบวนการ การสร้างค่านิยมขององค์กร

บางองค์กรมีค่านิยมร่วมหรือตัววัฒนธรรมองค์กรที่พึงประสงค์เรียบร้อยแล้ว  บางองค์กรกำลังเริ่มตั้งหลักค้นหากันอยู่  บางองค์กรมีทีเด็ดมีโปรแกรมให้พนักงานมีความฝัน  มีความหวัง  มีการเรียนรู้  มีการค้นหาความปรารถนาที่ซ่อนอยู่ภายใน  มีการค้นหาความหมายต่อการทำงานในแต่ละวัน  ด้วยการส่งเสริมให้พนักงานเขียนวิสัยทัศน์ส่วนตัวเกี่ยวกับวิชาชีพของตนเอง  เลยขอถือโอกาสนำเอาประสบการณ์ที่ได้ทำในช่วงที่ผ่านมามาคุยกับท่านผู้อ่าน เรามาเริ่มจากองค์กรที่มีการกำหนดค่านิยมร่วมขององค์กรมาเรียบร้อยแล้วก่อน ซึ่งองค์กรนี้ได้ผ่านช่วงของการสื่อสาร  และการประชาสัมพันธ์ให้พนักงานองค์กรได้มีการตระหนักรับรู้ (Awareness) ถึงตัวค่านิยมร่วมหรือวัฒนธรรมองค์กรมาเรียบร้อยแล้ว

 

โดยพนักงานส่วนใหญ่รับรู้รับทราบว่านี่คือค่านิยมองค์กร ได้ลองให้ผู้บริหารซึ่งเป็นระดับผู้จัดการยกตัวอย่างว่า  ในช่วง ที่ได้ไปแลกเปลี่ยนความรู้  พวกเขาได้ปฏิบัติตัวอย่างไรบ้างในการแสดงออกว่าได้ปฏิบัติตามค่านิยมร่วมหรือวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งแต่ละท่านก็ได้ยกตัวอย่างว่า  ได้ปฏิบัติตามค่านิยมขององค์กร  โดยในแต่ละตัวอย่างจะมีพนักงานเข้ามาเกี่ยวข้องในซีน(scene) ตลอด  คำถามย้อนกลับว่าแต่ละท่านได้บอก  ได้กล่าวกับลูกทีมหรือไม่ว่าสิ่งที่ได้ทำร่วมกันนั้นเรากำลังปฏิบัติตามวัฒนธรรมองค์กรอยู่  คำตอบที่ได้คือ “ไม่ได้บอก” แถมยัง ไม่ได้ชม อีกต่างหาก  ได้ทีเลยให้ข้อแนะนำไปว่า  ในฐานะที่เป็นผู้จัดการ  พวกเค้าต้องมีบทบาทหน้าที่อย่างไรในเรื่องการปลูกฝัง  ปลุกจิตสำนึกในการที่จะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ปฏิบัติตามวัฒนธรรมองค์กรที่พึงประสงค์และซึมลึกลงไปในสายเลือดได้ โดยที่เขาไม่ต้องรู้สึกว่าองค์กรชอบทำอะไรแบบไฟไหม้ฟาง  ประเภทเห่อกันตอนแรกๆ  แล้วอีกซักพักก็ค่อย ๆ  แผ่วไป  สุดท้ายก็หายไปจริง ๆ ข้อแนะนำให้ระดับผู้จัดการที่จะทำการปลูกฝังเรื่องวัฒนธรรมองค์กรให้กับลูกทีม

    • ประการแรก
    • ประการที่สอง
    • ประการที่สาม
    • ประการที่สี่
    • ประการที่ห้า

ส่วนพนักงานเองก็ใช่ว่าจะเฝ้ามองและรอให้ผู้บริหารทำก่อนแล้วตัวเองถึงจะลงมือทำในเรื่องการปฏิบัติตามค่านิยมหรือวัฒนธรรมองค์กรหลายครั้งมักจะได้ยินเพื่อนๆ  พนักงานบ่นให้ฟังเสมอๆ  ว่า  “พวกเราเปลี่ยนไม่ยากหรอกขอให้นายเปลี่ยนก่อนแล้วพวกเราจะเปลี่ยนตาม”  ไม่เถียงว่าปัจจัยหลักที่จะทำให้พนักงานมีพฤติกรรมที่ปรับเปลี่ยนไปตามที่องค์กรต้องการคือปัจจัยเรื่องภาวะผู้นำ  หรือ Leadership แต่หากว่าปัจจัยที่ว่านี้เป็นสิ่งที่พนักงานควบคุมไม่ได้  เราก็อย่านำมาเป็นสิ่งที่จะทำให้เราเสียศูนย์ในการทำงานที่เราควรจะต้องเคารพต่อความเป็นมนุษย์ในตัวเราเลย  จริงไหม
ดังนั้นหากอยู่ในองค์กรที่ได้กำหนดคานิยมร่วมขึ้นมาแล้ว  ในฐานะที่เป็นพนักงานคนหนึ่ง  สิ่งที่เราต้องทำคือ  หยิบเอาคู่มือค่านิยมร่วมหรือคู่มือวัฒนธรรมองค์กรมาอ่าน  มาทบทวน ว่าพฤติกรรมที่องค์กรกำหนดเอาไว้ในแต่ละค่านิยมมีอะไรบ้าง  ทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ เมื่อรู้ว่าตัวเราในฐานะที่เป็นพนักงานขององค์กรนี้ถูกคาดหวังว่าต้องทำอะไร  อย่างไรในที่ทำงาน (I know what is expected of me at work) ก็ต้อง “ลงมือ”ทำตามที่ถูกคาดหวัง เพราะองค์กรจ้างเรามา  จ่ายเงินเดือนให้เรา  เขามีสิทธิที่จะคาดหวังให้ทำตามพฤติกรรมที่ได้กำหนดไว้ในค่านิยมร่วมและหากเราในฐานะที่เป็นทั้งผู้บริหารและพนักงานได้  อ่านและพิจารณาพฤติกรรมที่องค์กรได้กำหนดไว้ในคู่มือค่านิยมร่วมดี ๆ  แล้ว  เราจะเห็นว่าแต่ละองค์กรก็มุ่งเน้นและเคารพพนักงานของตัวเองเป็นมนุษย์ทำงานที่มีคุณค่าทั้งนั้น ผมยังไม่เคยเห็นองค์กรไหนกำหนดค่านิยมที่สอนให้พนักงานตนเองเป็นคนไม่ดีเลย เช่นั้นเรามาสืบสานปณิธานสู่การทำงานอย่างมีความสุขกันเถอะ

 

บางองค์กรมี Core Competency แล้ว สามารถใช้ความสามารถหลักขององค์กรที่มีอยู่นั้น ช่วยกันปลูกฝังให้เป็นค่านิยมขององค์กรได้อีกทางหนึ่ง  และให้อยู่ในใจของพนักงานทุกคน ก็จะสามารถเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพยั่งยืนได้ ในฐานะที่เป็นผู้จัดการ  พวกเขาต้องมีบทบาทหน้าที่อย่างไรในเรื่องการปลูกฝัง  ปลุกจิตสำนึกในการที่จะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ปฏิบัติตามวัฒนธรรมองค์กรที่พึงประสงค์  และซึมลึกลงไปในสายเลือดได้

จากที่ผู้เขียนได้กล่าวมาทั้งหมด ใคร่ขอแนะนำกระบวนการที่จะทำให้เกิด Managing by Values ได้นั้นประกอบไปด้วย 3 phase คือ

Phase Gaining Clarity

Phase Communicating Effectively

Phase Aligning Practices

Gaining Clarity คือการคิดค่านิยม (values) ให้ออกมาในลักษณะที่ชัดเจนและเรียบง่าย เพื่อให้พนักงานสามารถรับรู้และเข้าใจ นอกจากนั้นค่านิยม และพันธกิจ ที่ได้รับจะต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับเป้าหมายของบริษัท

Communicating Effectively คือ ความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ที่ทำให้ทุกคนในองค์กรเกิดความเข้าใจตรงกัน

Aligning Practices คือ การทำให้คนในองค์กรมีค่านิยมร่วมกัน เพื่อให้มีการปฏิบัติเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

 ดร. กฤติน กุลเพ็ง

“ประสบการณ์ 25 ปี ทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์และพัฒนาองค์กร เชี่ยวชาญเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่บริหารวัฒนธรรมองค์กร และ การ Implement Competency Model ให้กับองค์กรภาครัฐและเอกชน ประสบการณ์ในการทำงานในเครือซิเมนต์ไทยมา 15 ปี เป็นอาจารย์พิเศษ สอนด้าน Human Resource Management มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน”