ผู้บริหารและหัวหน้าหน่วยงาน  ต้องมีความเข้าใจสำหรับคำว่าภาระงาน และค่าล่วงเวลาของพนักงานด้วย  เพราะว่าทั้งสองส่วนนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างไร  ซึ่งผู้เขียนขออธิบายเพิ่มเติมและยกตัวอย่างประกอบเพื่อจะได้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น

การรวบรวมกิจกรรมขั้นตอนการทำงาน

1

 

จากตัวอย่างแผนภูมิข้างบน  เป็นการรวบรวมภาระงานของหน่วยงานที่ ผู้ดำรงตำแหน่งจะต้องเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลขึ้นมาไว้  เพื่อเป็นหลักฐานในการทำงานของตำแหน่งดังกล่าว ว่าในการปฏิบัติงานของพนักงาน มีการใช้เวลาไปจำนวนเท่าไร  ถ้ามีภาระงานเพิ่มมากขึ้น  ผู้ดำรงตำแหน่งจะต้องบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมเข้าไป  เมื่อพนักงานภายในองค์กรหรือบริษัทได้ปฏิบัติในลักษณะนี้ทุกคน  ก็จะทำให้หัวหน้าได้ทราบถึงภาระงานของพนักงานในแต่ละคน  เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานแต่ละภาระงาน  ซึ่งถ้าหัวหน้าที่มีเวลามาช่วยกำกับดูแลงานให้น้อง  ก็จะสามารถมาช่วยบางภาระงาน  ที่ใช้จำนวนเวลามาก  เพื่อที่จะทำให้ระบบงานของหน่วยงานนั้น  ได้ทำงานง่ายขึ้น กระบวนการทำงานสั้นลง  ก็จะส่งผลทำให้ระยะเวลาการทำงานของลูกน้องสั้นลงไปด้วย

ในกรณีที่พนักงานไม่ได้รับการดูแลจากหัวหน้าเลย  ภาระงานที่รับมาจากหัวหน้าทุกวัน หรือจากหน่วยงานอื่นเข้ามาด้วย  ก็ยิ่งทำให้พนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในงานดังกล่าวเริ่มทำงานไม่ทัน  ต้องเพิ่มระยะเวลาทำงานให้มากขึ้นกว่าเดิมจึงจะแล้วเสร็จ   ซึ่งถ้าหัวหน้าหน่วยงานไม่ได้ใส่ใจลูกน้องเลย  ก็จะไม่ทราบว่าทำไมลูกน้องจึงทำงานช้าลง  และต้องอยู่ทำงานหลังเวลาเลิกงานเป็นประจำ  ฉะนั้นการเช็คระบบงานของภาระงานของหน่วยงาน พนักงานจะต้องจัดทำภาระงานเอาไว้ตั้งแต่เริ่มแรก ว่าได้ปฏิบัติงานโดยใช้เวลาไปกี่ชั่วโมง  เมื่อเวลาผ่านไปกระบวนการทำงานเปลี่ยนมาเก็บข้อมูลใหม่  ได้ใช้เวลาเพิ่มขึ้นไปเท่าไร  ก็จะทำให้เรามองเห็นภาพภาระงานที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ชัดเจนขึ้น  ซึ่งในแต่ละขั้นตอนรายละเอียดหัวหน้าจะต้องทราบและเข้าใจข้อมูล และระบบงานที่ทำด้วย  เพื่อเป็นการทวนเช็คระบบการทำงานของลูกน้องไปด้วยว่า สิ่งที่น้องทำมาถูกต้องหรือไม่

เมื่อมีการทบทวนถูกต้องแล้ว หัวหน้าก็จะพอทราบถึงภาระงานที่แท้จริงมีความสัมพันธ์กับเวลาหรือไม่  เมื่อภาระงานเพิ่มมากขึ้น  หัวหน้าจะมีวิธีการสังเกตอย่างไร  ที่จะบอกว่าลูกน้องมีภาระงานเพิ่มมากขึ้นมากกว่าเดิม  สิ่งที่อยากจะให้ข้อมูลเพิ่มเติม  เพื่อมองให้เห็นภาพในเชิงลึกมากขึ้น  ในกรณีที่มีค่าล่วงเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง

2

          สิ่งที่หัวหน้าหน่วยงานจะต้องทราบและศึกษาเพิ่มเติมถึงเรื่อง การทำงานล่วงเวลาของลูกน้องในสังกัดของตนเอง ว่าจำนวนค่าล่วงเวลาย้อนหลังเป็นอย่างไร มีแนวโน้มที่สูงขึ้นหรือไม่  ถ้ามีแนวโน้มสูงขึ้น  ก็อาจจะเช็คว่ามีความสัมพันธ์กับระบบงานที่เพิ่มขึ้นหรือไม่  ถ้ามีความสัมพันธ์จริง  ก็ยังไม่อาจจะเชื่อได้ว่า  ค่าล่วงเวลามีผลมาจากภาระงานที่เพิ่มขึ้นมาจริง  หัวหน้าควรจะไปทบทวนระบบการบริหารจัดการ ด้านการลาหยุดของพนักงานภายในหน่วยงาน ว่ามีการหยุดงานติดต่อกันหรือไม่  หรือมีพนักงานบางคนลาป่วยอยู่หรือเปล่า  อาจจะต้องไปตรวจสอบจากระบบการลาของลูกน้องด้วย

จากแผนภูมิที่ได้ยกตัวอย่างมาให้เห็นภาพ  ผู้เขียนได้ยกประเด็นเรื่อง การทำงานล่วงเวลา และ จำนวนวันลาหยุดของพนักงาน ว่ามีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันหรือไม่  ถ้ามองตามกราฟ จะเห็นได้ว่า  จำนวนชั่วโมงการลาของพนักงานในหน่วยงาน จะส่งผลต่อค่าล่วงเวลาของพนักงานด้วยเช่นกัน  ฉะนั้นที่ผู้เขียนให้มองภาพว่าจำนวนภาระงานของหน่วยงานที่เพิ่มขึ้นนั้น  จะมีความสัมพันธ์กับค่าล่วงเวลา แต่สิ่งที่จะต้องไปกำกับดูแลเพิ่มเติมขึ้นว่า  การบริหารจัดการ ด้านการลาหยุดของพนักงาน  หัวหน้าได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงดีแล้วหรือยัง  ว่ามีการบริหารจัดการดีแล้ว  เพราะว่าจะส่งผลที่จะทำให้ ค่าล่วงเวลาเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน  ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาระงานเป็นบางส่วนเท่านั้น  ซึ่งจะต้องมีข้อสังเกตของหัวหน้าหน่วยงานที่จะต้องมีทักษะ ในการปฏิบัติงาน ที่มีความรอบคอบ ก่อนการตัดสินใจอะไรลงไป