การบริหารทรัพยากรมนุษย์  ในช่วงเริ่มต้นของการปฏิบัติงาน  จะต้องดำเนินการ สรรหาและคัดเลือกพนักงานให้ตรงกับสิ่งที่องค์กรต้องการแล้ว  ยังต้องจ่ายค่าจ้างให้เหมาะสมและเป็นไปตามมูลค่าภาระงาน  ที่พนักงานปฏิบัติอีกด้วย  ความจำเป็นของการคำนวณค่าประสบการณ์ของพนักงาน  จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่  ผู้บริหารควรจะเริ่มใส่ใจตั้งแต่เริ่มต้นอีกเช่นกัน  เพราะว่ากระบวนการปฏิบัติงานในเรื่องนี้  ถ้าไม่เริ่มทำตั้งแต่เริ่มแรก  ก็จะเกิดปัญหาที่รอการแก้ไขไปตลอด   การกำหนดอัตราค่าจ้าง สำหรับพนักงานที่จบมาจากรั้วมหาวิทยาลัย เลยนั้น  สามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้วิธีคำนวณ  แต่ถ้าพนักงานที่มีประสบการณ์จากที่อื่นมา  บริษัทจะมีวิธีการคำนวณอย่างไร  จึงจะเกิดความเป็นธรรม  ถูกต้องและเหมาะสมกับองค์กรของแต่ละบริษัท

อันดับแรก  เราควรจะต้องมีความเข้าใจในการบริหารค่าจ้างของบริษัทก่อนว่า  บริษัทมีอัตราค่าจ้างเริ่มต้นของแต่ละวุฒิการศึกษาอย่างไรบ้าง  เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารองค์กรเสียก่อน  หลังจากนั้น  จึงนำอัตราค่าจ้างเริ่มต้นมาเป็นตัวตั้งในการคำนวณค่าประสบการณ์ของพนักงาน  สิ่งที่ผู้บริหารควรคำนึงเพิ่มเติมในข้อมูลของพนักงานก็คือ  ประสบการณ์ของพนักงานที่ผ่านมาตรงกับงานที่เราจะรับหรือไม่  สถานะบริษัทที่พนักงานมีประสบการณ์มาอยู่ในเกรดใด  ซึ่งถ้าเป็นบริษัทที่เป็นมาตรฐานมากกว่า  เราจะคิดค่าประสบการณ์ให้เท่าไร  สิ่งที่ผู้เขียนได้กล่าวมาทั้งหมด  ผู้บริหารด้าน  HR  จะต้องหาข้อมูลและหาข้อสรุปในเรื่องนี้  ให้เกิดความชัดเจน  เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดประสบการณ์ได้อย่างถูกต้อง

ผู้เขียนจึงจะขอยกแนวทางในการพิจารณาการคิดค่าประสบการณ์ของบริษัท  ที่เป็นมาตรฐาน  เพื่อเป็นตัวอย่างในการคิดคำนวณประสบการณ์  ได้อย่าถูกวิธี

untitled78

ตัวอย่างการคิดค่าประสบการณ์ด้านบน  กรณีที่บริษัทรับพนักงานใหม่เข้ามา  1  คน

วุฒิระดับปริญญาตรี  อัตราเงินเดือน  15,000  บาท  เป็นอัตราค่าจ้างเริ่มต้นของบริษัท  ตามโจทย์พนักงานมีประสบการณ์ที่ผ่านมา  3  บริษัท  มีประสบการณ์บริษัทที่  1   2.5  ปี   บริษัทที่  2  0.5  ปี  และ บริษัทที่  3  0.25  ปี  ตามลำดับ   การคำนวณค่าประสบการณ์เริ่มตั้งแต่ บริษัทจะต้องเขียนแนวปฏิบัติการคำนวณค่าประสบการณ์เสียก่อน  เพราะจะได้เป็นแนวปฏิบัติของบริษัท  สมมุติว่าบริษัทแห่งนี้  ได้มีแนวปฏิบัติการคำนวณค่าประสบการณ์  ให้  2/3  ของประสบการณ์ภายนอกทั้งหมด   จำนวนปีที่คิดคำนวณออกมาคือ    2.17  ปี   เมื่อได้จำนวนประสบการณ์ออกมาแล้ว  นำไปพิจารณากับการขึ้นค่าจ้างภายในบริษัท  ว่าปีที่  1  ขึ้นกี่เปอร์เซ็น  ปีที่ 2-3  ตามลำดับ  ผลปรากฏว่าบริษัทมีการพิจารณาขึ้นค่าจ้างเป็น  5 %  6%  5%   แล้วจึงนำมาคำนวณกับจำนวนประสบการณ์ของพนักงาน  เสมือนหนึ่งว่าพนักงานมาอยู่ที่บริษัท  เมื่อคำนวณออกมา พนักงานที่มีประสบการณ์ภายนอก  2.17  ปี  จะได้ค่าประสบการณ์คิดเป็นจำนวนเงิน  1,650  บาท  แต่ทั้งนี้ตัวเลขที่ได้มานั้น  ในทางปฏิบัติ ไม่ควรนำมาใช้ได้เลย  ต้องนำไปเปรียบเทียบกับพนักงานที่อยู่ในระดับอายุงานภายในองค์กรที่มีประสบการณ์เท่ากัน เสียก่อนว่า  ผลเป็นอย่างไร  ถ้าเกินว่าพนักงานภายใน  ก็อาจจะปรับลดลงมา  เพื่อให้ค่าประสบการณ์นั้นไม่ไปกระทบกับพนักงานที่อยู่ภายในองค์กร

นั่นคือวิธีการคำนวณค่าประสบการณ์ภายนอก  สำหรับพนักงานที่มีมาจากบริษัทอื่นๆ  ถ้าองค์กรใดยังไม่มีวิธีที่จะคำนวณให้ลูกจ้าง  ที่มีประสบการณ์  ก็สามารถใช้วิธีนี้เป็นแนวทางในการคำนวณได้  ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อพนักงานที่มีทักษะ และประสบการณ์ที่ตรงตามสายงานมา  สามารถสร้างแรงจูงใจให้พนักงานได้ตัดสินใจเข้ามาปฏิบัติงานภายในองค์กรได้อย่างราบรื่น