กรณีลักษณะเช่นนี้ มีหลายๆ บริษัทมักจะมีข้อถกเถียงกันเป็นประจำ ว่าการที่พนักงานตั้งครรภ์ ซึ่งอยู่ในช่วงการทดลองงาน บริษัทสามารถจะดำเนินการแจ้งพนักงานว่า ไม่ผ่านการทดลองงาน เพราะว่าการตั้งครรภ์ได้หรือไม่ กระทำลักษณะเช่นนี้ จะเข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่ประการใด หรืออาจจะมีบางบริษัท มีการเขียนลงไว้ในข้อบังคับของบริษัท เลยว่า ถ้ากรณีพนักงานตั้งครรภ์ บริษัทอาจถือว่า กระทำการผิดกฎของบริษัท ตามที่ได้เขียนไว้ ในข้อบังคับของบริษัท ซึ่งในช่วงที่พนักงานมาสมัครงาน และผ่านกระบวนการสัมภาษณ์แล้ว พนักงานจะต้องถูกตรวจปัสสาวะ เพื่อหาผลการตั้งครรภ์ของพนักงานด้วย กรณีที่ตรวจเจอพบว่า พนักงานมีผลการตรวจปัสสาวะเป็น positive บางบริษัทจะแจ้งพนักงานไปเลย ว่าบริษัทไม่รับ ก็จะมีลักษณะนี้เกิดขึ้น ที่พนักงานหญิง อาจจะถูกปฏิเสธเรื่องการทำงานเพราะเรื่องนี้ ก็จะมีผู้สอบถามว่า ผิดหรือไม่
ในกฎหมายแรงงานได้กำหนดไว้ว่า “ห้ามเลิกจ้างพนักงานหญิง เพราะเหตุการณ์ตั้งครรภ์” ถ้ามองในประเด็นเรื่อง การตรวจปัสสาวะก่อนเข้าทำงานแล้ว บริษัทไม่รับ เพราะเหตุผลว่าพนักงานมีผลปัสสาวะเป็น positive คือมีการตั้งครรภ์ ก็อาจจะไม่เข้าข่ายนัก หรือบางบริษัทก็อาจจะไม่รับพนักงานใหม่ดังกล่าว เพราะว่า สาเหตุอื่น หรือใช้เหตุผลอื่น ที่ไม่ใช่การตั้งครรภ์ ก็จะไม่เข้าข่ายความผิดอีกเช่นกัน ฉะนั้นการให้เหตุผลก็เป็นสิ่งสำคัญ สำหรับเรื่องนี้ ถ้าบริษัทปฏิเสธ การรับเข้าเป็นพนักงานตามตรงเลย ก็อาจจะเข้าข่าย ที่พนักงานสามารถ ไปร้องต่อศาลแรงงานได้
ถ้าเป็นในกรณีที่ รับพนักงานเข้าไปอยู่ภายในองคำกรแล้ว แต่ปรากฏว่า พนักงานเกิดการตั้งครรภ์ในขณะที่อยู่ในช่วงทดลองงาน บริษัทอ้างเหตุผลที่ไม่ผ่านการทดลองงานต่อพนักงาน ในลักษณะเช่นนี้ ถือว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายอย่างแน่นอน เพราะกฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า ห้ามเลิกจ้างพนักงาน เพราะเหตุการณ์ตั้งครรภ์ แต่ก็จะมีผู้ที่ใช้ช่องว่าของกฎหมายว่า ที่ไม่ผ่านเพราะว่าไม่ใช้เหตุผล การตั้งครรภ์ แต่เป็นกรณีอื่น ก็ต้องนำพิสูจน์กันว่า ในหัวข้อประเมินของพนักงานที่ได้คะแนนต่ำสุดนั้น เป็นข้อเท็จจริงหรือไม่ ก็ต้องนำหลักฐานมาพิสูจน์กัน สำหรับในข้อบังคับของบริษัทที่เขียนไว้อย่างชัดเจน ว่า กรณีที่พนักงานตั้งครรภ์ บริษัทอาจจะปลดออกจากการเป็นพนักงานนั้น ถือว่าเป็นการเขียนไว้ขัดต่อกฎหมายอย่างแน่นอนครับ
ผู้เขียน ดร.กฤติน กุลเพ็ง ประสบการณ์ 25 ปี ทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์และพัฒนาองค์กร เชี่ยวชาญเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ บริหารวัฒนธรรมองค์กร และ การ Implement Competency Model ให้กับองค์กรภาครัฐและเอกชน เป็นอาจารย์พิเศษ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน