การบริหารองค์กรยุคใหม่ต้องมีความเข้าใจพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ เพื่อที่จะได้ดึงดูดพนักงานที่มีศักยภาพเข้าสู่องค์กร โดยเฉพาะคนที่เป็นคนเก่งและเป็นคน Gen Y ความต้องการก็จะไม่เหมือนคน Gen B  ผู้บริหารองค์กรก็ต้องมีความเข้าใจสิ่งปลีกย่อยเหล่านี้  เพื่อที่จะได้วางระบบการทำงานของบริษัทให้ได้มาตรฐานตามที่พฤติกรรมคนรุ่นใหม่อยากให้เป็น  แต่ไม่ใช่ว่าบริษัทจะไปเอาใจแต่คนรุ่นใหม่เท่านั้น แต่องค์กรจะต้องปรับเพื่อให้เข้ากับแนวโน้มของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าองค์กรใดไม่ปรับ ก็จะไม่ได้พนักงานที่เดินเข้ามาสู่องค์กร  จะทำอย่างไรที่ต้องหาวิธีดึงดูดคนเข้ามาสู่องค์กรให้ได้ก่อน  หลังจากเมื่อพนักงานเข้ามาสู่องค์กรแล้ว ค่อยสร้างแรงจูงใจ เพื่อที่จะให้พนักงานเกิดความรู้สึกรักองค์กรตามมา

z

คนที่เป็นคนเก่ง เมื่อเข้ามาสู่องค์กรแล้ว  ก็อยากจะเห็นองค์กรได้สร้างระบบอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเขาบ้าง ตัวอย่างเช่น เรารับพนักงานที่มีเกรดเฉลี่ย  3.89  เข้ามาสู่องค์กร คนเก่งที่จบออกมาจารั้วมหาวิทยาลัย  ความต้องการของเขาไม่เพียงแต่ได้เข้ามาทำงานในองค์กรเท่านั้น  สิ่งที่เขาต้องการเพิ่มก็คือ  อะไรบ้างที่บริษัทให้ความแตกต่างจาก พนักงานคนอื่นที่ไม่ได้เกียรตินิยม อย่าลืมว่าสิ่งที่พนักงานจบมาเกรดเฉลี่ยสูงขนาดนี้  ต้องมีองค์กรอื่นที่ให้ออฟชั่นแก่เขาอยู่แล้ว  แต่ขึ้นอยู่กับว่าเขาจะเลือกองค์กรใด  ถ้าสมมุติว่าพนักงานเขาเลือกองค์กรเรา  เพราะว่ามีญาติแนะนำมา และสถานที่ทำงานใกล้บ้าน  ก็ถือว่าไม่ได้ขึ้นอยู่กับองค์กรแล้ว  แสดงว่าโอกาสที่พนักงานจะต้องเดินออกจากองค์กรเริ่มมีสูง  เพราะว่าองค์กรไม่ได้มีส่วนทำให้เขาเกิดความรู้สึกอยากทำงานด้วย  นอกจากเหตุผลสองข้อที่กล่าวมา

ผู้เขียนได้เป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรหลายแห่ง  ได้เห็นมุมมองของบริษัทที่ยังไม่มีแบรนด์เนมที่ติดตลาด  เริ่มสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานที่เป็นคนเก่ง และคนดีให้อยู่กับองค์กรนาน ๆ  โดยการสร้างระบบการบริหารงานบุคคลที่เกิดแรงดึงดูดพนักงานที่เป็นคนเก่งเอาไว้  โดยการปรับอัตราค่าจ้างเมื่อมีผลการประเมินผ่านไป 3  เดือน  ให้ค่าเกียรตินิยมสำหรับพนักงานที่ได้เกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 3.00  ขึ้นไป  ส่งเสริมให้มีการสอบชิงทุนไปเรียนต่อในระดับปริญญาโททั้งในประเทศและต่างประเทศ  เมื่อเข้ามาแล้วระบบการประเมินผลการผ่านทดลองงานแบบเข้มข้นของบริษัท ถ้ากรณีที่พนักงานที่เป็นคนเก่ง  มีการปฏิบัติที่ได้เป้าหมายขององค์กร ก็ไม่จำเป็นต้องรอให้ครบกำหนดของระยะเวลาการทดลองงาน  เป็นต้น  สิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้คนเก่งทีมีศักยภาพของบริษัทเกิดความรู้สึกว่า  เขาเป็นเคนสำคัญที่องค์กรได้ให้เกียรติมากกว่ากลุ่มอื่น  ผู้เขียนมองว่านั่นคือ เป็นสัญญาณบ่งบอกเป็นอันดับแรกว่า  องค์กรได้ดูแลพนักงานใหม่ ที่เกิดความแตกต่างในระดับหนึ่งเท่านั้น

สิ่งที่ผู้เขียนได้สัมภาษณ์น้องพนักงานใหม่ที่รับเข้ามาในบริษัทว่า สิ่งที่เขาประทับใจในส่วนใดที่บริษัทได้ดูแลให้อยู่ ณ ขณะนี้  พนักงานมองไปถึงเรื่อง การให้เกียรติพนักงานที่ทำงานดี บริษัทได้บรรจุก่อนครบกำหนดการทดลองงาน  ซึ่งเป็นสิ่ง ที่พนักงานเกิดความประทับใจ สร้างความแตกต่าง และยังทำให้พนักงานภายในองค์กร  อยากจะมีพฤติกรรมแบบนั้น เพื่อที่จะได้บรรจุก่อนบ้าง  การสร้างระบบต่างๆ เหล่านี้  ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของการดึงดูดพนักงานในช่วงระยะแรกเท่านั้น  แต่การที่พนักงานจะอยู่องค์กรได้นาน  ต้องมีองค์กรประกอบอีกมากมาย หลายประการ ซึ่งผู้เขียนจะขอยกตัวอย่าง การที่พนักงานคงอยู่ในองค์กรเพราะสาเหตุใดบ้าง ดังนี้

a

สิ่งที่ประกอบให้พนักงานได้ตัดสินใจอยู่องค์กร ในอันดับแรกคือ

  1. ความก้าวหน้าในงานอาชีพ   ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งแรกที่ทำให้พนักงานเกิดการคงอยู่ของพนักงาน เพราะพนักงานเมื่อเข้ามาทำงานสักระยะหนึ่ง  ก็อยากมีชีวิตที่มั่นคง มีหน้าที่การงานที่สูงขึ้น  ตามทฤษฎีของ มาสโลว์ นั่นเอง
  2. ก่อให้เกิดการเรียนรู้เพิ่มขึ้น     การที่พนักงานอยู่ในองค์กร บริษัทต้องพัฒนาให้ความรู้แก่พนักงานอย่างต่อเนื่อง  ไม่ว่าจะส่งไปดูงานทั้งในและต่างประเทศ  การส่งพนักงานไปเข้ารับการฝึกอบรมภายนอก
  3. การให้งานที่ท้าทาย      พนักงานที่มีศักยภาพสูง ต้องการทำงานที่มีคุณค่า งานที่ใช้ทักษะ และความรู้  อยากให้หัวหน้าได้มอบหมายงานที่เพิ่มขึ้น
  4. งานที่มีคุณค่าต่อองค์กร    ในบริษัทก็จะมีการแบ่งพนักงานที่เป็นสายงานหลัก และสายงานรอง  ถ้าเป็นกรณีสายงานหลักที่ทำกำไรให้กับองค์กร  พนักงานก็อยากจะมีส่วนเข้าไปรับผิดชอบ  ฉะนั้นบริษัทก็ต้องสร้างระบบให้มีการพิจารณาพนักงานที่มีศักยภาพเข้าไปทำงานในสายงานหลัก เพื่อให้เกิดคุณค่าต่อองค์กร
  5. เพื่อร่วมงานที่ดี   สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง ก็คือเพื่อนร่วมงานที่มีทัศนคติดี  เวลาทำงานมีความเป็นทีมไม่แบ่งพรรค แบ่งพวก มีความอิจฉา ริษยา สิ่งเหล่านี้ส่วนใหญ่พนักงานที่เป็นคนเก่งมักไม่ค่อยชอบ  เพราะว่าเขาเป็นคนเก่งสิ่งที่เขาต้องการคือ การวัดด้วยผลงานอยู่แล้ว  ไม่จำเป็นต้องอาศัยระบบพวกพ้อง
  6. มีผู้บังคับบัญชาที่ดี     พนักงานมีความต้องการหัวหน้าที่ดี มีคุณธรรม มีความโปร่งใส ในการทำงาน  ให้เกียรติลูกน้อง พอมีการให้ความดี ความชอบ ก็พิจารณาจากผลงานเป็นหลักไม่เลือกพวกพ้อง
  7. การยกย่องชมเชย    ทักษะการบังคับบัญชาเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องสร้างแรงจูงใจ ในการทำงาน เมื่อเวลาพนักงานทำดีมีผลงาน ก็ต้องได้รับการยกย่อ สรรเสริญ เพื่อให้พนักงานในสังกัดทราบถึง ความดี ความชอบ ไม่ใช่ปล่อยไปตามธรรมชาติ
  8. มีอิสระในการทำงาน    เมื่อพนักงานเข้ามาทำงานแล้ว ก็ต้องให้พนักงานทำงานในสิ่งที่เขาชอบ ให้ความอิสระในการทำงาน ดึงพนักงานเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ในกระบวนการทำงาน เพื่อจะได้ให้พนักงานมีโอกาสได้ปรับปรุงกระบวนการทำงานของเขาเอง
  9. มีช่วงโมงการทำงานที่ยืดหยุ่น    การทำงานในโลกยุคใหม่มุ่งเน้นไปที่ผลของงานเป็นหลัก ควรมีการปรับระบบการทำงานที่มีความเป็นทางการออกบ้าง  เพื่อที่จะได้ส่งเสริมให้พนักงานเกิดความรู้สึกที่ดี  ไม่มององค์กรไปในทางที่ไปในด้านลบ
  10. ผลตอบแทนที่เป็นธรรม   เมื่อถึงการให้ความดี ความชอบ  ก็มีการพิจารณาจากผลงานของพนักงานเป็นหลัก ไม่เลือกความอาวุโสของพนักงาน

จากสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น  เป็นกระบวนการหนึ่งที่ทำให้พนักงานใหม่ที่กำลังก้าวเข้ามาสู่องค์กรเกิดความประทับใจ ตั้งแต่เริ่มแรก พนักงานเมื่อตัดสินใจเข้ามาทำงานภายในองค์กรแล้ว  จะมีความรู้สึกรักองค์กร ไม่อยากจากจากองค์กรไปที่ไหน ถ้าระบบการทำงานภายในองค์กรดี  ก็ยิ่งทำให้การตัดสินใจออกจากองค์กร เป็นสิ่งที่ยากสำหรับพนักงาน