กรณีที่องค์กรใหญ่ ๆ ได้เริ่มมีการตื่นตัว มากขึ้นสำหรับการรับพนักงานใหม่เข้ามา สู่องค์กร แต่พอถึงการประเมินผลการปฏิบัติงาน ว่ามีการผ่านทดลองงานหรือไม่ผ่านทดลองงาน จะใช้อะไรเป็นเกณฑ์มาตรฐานดีว่า จำนวนเท่าไรจึงจะเหมาะสม ในทางปฏิบัติ ถ้าเรามาพิจารณาให้เห็นถึงประเด็นข้อเท็จจริงว่า กรณีที่บริษัทพิจารณาประเมินผลการปฏิบัติงาน ของพนักงานที่อยู่ในช่วงทดลองงาน เช่น รับพนักงานใหม่มา 100 คน บริษัทมีการประเมินผลผ่านทดลองงานทั้งหมด 100 คน แสดงว่าบริษัทรับพนักงานมาตรงความต้องการของบริษัททั้งหมด หรือไม่อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ บริษัทไม่หลักเกณฑ์ที่ดีพอ สำหรับการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานใหม่ มีเท่าไรก็ได้หมด มุมมองหนึ่งที่มองบริษัทว่า มีระบบการประเมินผลการผ่านทดลองงานไม่ค่อยเข้มข้น อาจจะมีพนักงานบางส่วน ที่เป็นพนักงานใหม่ และเป็นคนเก่ง มองว่าบริษัทไม่ค่อยมีหลักเกณฑ์ อย่างไรก็ได้ คนเก่งมักไม่ชอบ ไม่มีความท้าทายสำหรับองค์กรแห่งนี้
ฉะนั้นบริษัทที่ได้มาตรฐานโดยทั่วไป จึงต้องวางระบบในการประเมินผลการปฏิบัติงานกรณีไม่ผ่านทดลองงาน แบบเข้มข้น ถ้ามีกรณีที่เป็นประเด็นที่บริษัทกำหนดไว้ว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ ไม่สามารถให้ผ่านทดลองงานได้ ก็จะต้องให้ทุกหน่วยงาน เคร่งครัดในการประเมินลูกน้องในสังกัด ให้เกิดความเท่าเทียมกันทั้งบริษัท ไม่มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ยกตัวอย่างเช่น บางบริษัทกำหนดหลักเกณฑ์เอาไว้ กรณีที่พนักงานที่ในช่วงทดลองงาน จะต้องไม่มีวันที่มาทำงานสายต่อเดือนต้องไม่เกิน 4 วัน ไม่มีวันลากิจ ลาป่วย และกรณีที่มีการลงโทษตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร สำหรับที่ยกตัวอย่างมานั้น เป็นข้อกำหนดเบื้องต้นที่ ทุกหน่วยงานต้องยึดถือปฏิบัติ เป็นมาตรฐานกลาง ถ้าไม่ผ่านเกณฑ์นี้ ถือว่าทุกหน่วยงาน จะต้องประเมินพนักงานในสังกัดไม่ผ่านเหมือนกัน หรือกรณีที่พนักงานอยู่ในช่วงทดลองงานไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ที่เป็น core Value ขององค์กร ก็ถือว่าเป็นกรณีที่จะต้องไม่ผ่านการทดลองงานอีกเช่นกัน
สำหรับการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของในแต่ละหน่วยงานนั้น ฝ่าย HR จะต้องเข้ามาเป็นตัวกลางและตรวจสอบทุกหน่วยงาน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างเคร่งครัด ก็จะมีส่วนทำให้ การปฏิบัติ กรณีการประเมินไม่ผ่านทดลองงาน เกิดความมาตรฐานทั้งองค์กรได้ แต่บางบริษัทได้มีการกำหนดผลการประเมินการไม่ผ่านทดลองงานไว้ที่ 15 % ไว้เลย ซึ่งทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแนวปฏิบัติของแต่ละองค์กร ว่าควรจะเซ็ท อยู่ในรูปแบบใดจึงจะเหมาะสม