สวัสดิการพนักงาน ที่ทุกองค์กรนิยมที่จะจัดให้กับพนักงาน เพื่อให้พนักงานเกิดความรู้สึกที่ดี ต่อบริษัทว่ามีสวัสดิการที่ดีให้กับพนักงานเพิ่ม โดยมองว่าเป็นสิ่งที่ช่วยให้พนักงานได้ตัดสินใจอยู่กับองค์กรนานๆ นั่นคือแนวคิดสมัยดั้งเดิมสำหรับพนักงานที่เป็นรุ่น Gen B เมื่อเวลาเปลี่ยนไป การจัดสวัสดิการของบริษัท ฝ่าย HR จะต้องมีเข้าใจกับพฤติกรรมมนุษย์ ของพนักงานที่เป็นคนรุ่นใหม่ด้วยเช่นกัน ไม่เช่นนั้นจะเป็นการจัดสวัสดิการให้กับพนักงานที่เป็นการสูญเปล่า เพราะพนักงานไม่ค่อยให้ความสำคัญต่อสวัสดิการที่บริษัทได้จัดให้ ทั้งๆ ที่เมื่อสมัยก่อน ถือว่าเป็นสวัสดิการที่สร้างแรงจูงใจเป็นอย่างมาก สำหรับพนักงานที่เติบโตมากับองค์กร
ผู้เขียนอยากจะขอยกตัวอย่าง การจัดสวัสดิการเรื่อง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่ทุกบริษัทได้ทุ่มเงินลงทุนที่เป็นตัวเงินค่อนข้างสูงเพื่อพนักงาน โดยจดทะเบียนจัดตั้งกองทุน ซึ่งมีการจ่ายเงินสบทบให้กับพนักงานตามอายุงาน ถ้าพนักงานปฏิบัติงานอยู่กับองค์กรมานานๆ จะได้รับเงินสบทุนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในทางปฏิบัติพนักงานจะต้องถูกหักเงินเข้ากองทุนเป็นประจำทุกเดือน เงินสบทบที่จะได้จากบริษัทก็ต่อเมื่อ พนักงานได้ปฏิบัติตามเหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนดไว้ เช่น ปฏิบัติงานครบ 3 ปี บริษัทจะสบทบให้ 50% ปฏิบัติงานครบ 6 ปี บริษัทสบทบให้ 70 % และ 10 ปีขึ้นไป บริษัทจะสบทบให้ 100 % การสบทบของบริษัทที่จะให้กับพนักงานนั้น จะต้องมีข้อแม้ว่า พนักงานจะต้องปฏิบัติตามระเบียบวินัยของบริษัท พูดง่ายๆก็คือ ถ้าออกจากองค์กรโดยผิดระเบียบ จะไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินสบทบจำนวนดังกล่าวนี้เลย
เมื่อมีหลักเกณฑ์ในลักษณะเช่นนี้ จะมีพนักงานจำนวนหนึ่งที่ไม่ค่อยเห็นด้วยสักเท่าไร ที่จะต้องให้มีการหักเงิน ทำไมบริษัทจัดสวัสดิการให้แล้ว จะต้องมาเบียดเบียนพนักงาน โดยการหักเงินเข้ากองทุนอีก เหมือนบริษัทไม่ได้ลงทุนอะไร ซึ่งแนวคิดคนรุ่นใหม่ที่เริ่มต่อต้านการหักเงินของบริษัท จนมีพนักงานใหม่ๆ ที่เข้ามาสู่องค์กรเริ่มไม่ให้ความสำคัญในการจัดสวัสดิการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพราะว่าคนรุ่นใหม่ที่เป็น Gen Y มองว่ารายได้รวม ที่บริษัทได้ตกลงเซ็นสัญญาตั้งแต่เริ่มแรก เขาจะต้องได้รับเต็มจำนวน แต่เมื่อเข้ามาปฏิบัติงาน มีเอกสารมาให้ได้รับความยินยอมให้หักเงิน จากรายได้รวม เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันสังคม ค่าเครื่องแบบพนักงาน รองเท้า safety จนทำให้รายได้ต่อเดือนที่ได้ตกลงกับพนักงานไว้ ได้ไม่ถึงที่ได้ตกลงกันไว้ จึงทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อองค์กรมากขึ้นไปอีก พฤติกรรมพนักงานแต่ละยุคสมัยมีการเปลี่ยนแปลงไป การจัดสวัสดิการที่ว่าดี อาจจะไม่ถูกใจกับคนรุ่นใหม่ก็เป็นได้
ฝ่าย HR จึงต้องให้ความสำคัญ ลองสำรวจการใช้สวัสดิการพนักงานแต่ละประเภท ว่าพนักงานให้ความสำคัญมากน้อยเพียงใด จากที่ผู้เขียนมีประสบการณ์ได้ในการสำรวจ การใช้สวัสดิการพนักงาน เรื่อง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ปรากฏว่ามีพนักงานสมัครเข้ากองทุนจำนวน
50 % เท่านั้น และมีพนักงานจำนวนไม่น้อยเริ่มมาลาออกจากกองทุนเพิ่มมากขึ้น เพราะว่าอยากได้เงินกองทุนที่ได้ถูกหักไปจากบริษัท มาใช้จ่ายทำอย่างอื่น จึงทำให้สวัสดิการดังกล่าว ไม่ได้สร้างแรงจูงใจให้กับพนักงาน ที่จะตัดสินใจอยู่กับองค์กรนานๆ อาจถูกมองว่าบริษัทเอารัดเอาเปรียบพนักงานเสียด้วยซ้ำไป ฝ่าย HR จำเป็นต่อมีโปรแกรมในการสื่อสารให้กับพนักงานถึง ความสำคัญของการจัดสวัสดิการ เรื่อง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้มากขึ้นว่ามีประโยชน์อย่างไรบ้าง ที่พนักงานจะได้รับเพิ่ม เช่น ด้านการลดหย่อนภาษี การออมไว้เมื่อเกษียณอายุ เป็นต้น
มีบางองค์กรเริ่มให้ความสำคัญในการจัดสวัสดิการในรูปแบบใหม่เพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะสร้างแรงจูงใจให้กับคนรุ่นใหม่ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของบริษัท เช่น การจัดแพ็คเกจสวัสดิการแบบยืดหยุ่น การให้สวัสดิการเรื่อศัลยกรรมใบหน้าได้ การ Promote wifi ของบริษัท โดยการให้พนักงานประกวดคำขวัญ จัดส่งมายังผู้บริหารบริษัท การให้พนักงานเอางานกลับไปทำที่บ้านโดยนับเป็นชั่วโมงทำงาน เป็นต้น การสร้างสิ่งแปลกใหม่ที่ให้พนักงานรุ่นใหม่ได้มีส่วนร่วม ในการปฏิบัติงาน ก็จะสามารถดึงดูดพนักงานรุ่นใหม่ ที่เป็นคน Gen Y เข้ามาร่วมงานได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องประกาศลงผ่านทางสื่อให้เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด