กรอบแนวคิดเกี่ยวกับ Competency (Competency Frameworks)
การสร้าง Competency Model มักเริ่มต้นจากการนำวิสัยทัศน์และหรือพันธะกิจ หรือค่านิยมหลัก ขององค์กร จะใช้ตัวใดตัวหนึ่งหรือทั้งหมดร่วมกันก็ได้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ มาเป็นตัวตั้งในการกำหนด Competency โดยมีกระบวนการดังภาพ
ตารางแนวคิดทั่วไปในการสร้าง Competency Model
Core Competencies | Vision , Mission or Values Business Strategy |
Job Competencies | Job Functional |
ในกรณีที่องค์กรได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธะกิจ หรือค่านิยมหลัก ไว้อยู่ก่อนแล้วการหา Competency มักเริ่มต้นจากการนำวิสัยทัศน์ พันธะกิจหรือค่านิยมหลักขององค์กรมาพิจารณาหา Core Competency จากนั้นนำมาพิจารณาร่วมกับงาน ในหน่วยงานต่างๆในองค์กร โดยจะพิจารณาว่างานที่ออกแบบมาให้ตอบสนองต่อกลยุทธ์ขององค์กรนั้น ผู้ปฏิบัติงานดังกล่าวจำเป็นต้องมี Competency อะไรจึงจะสามารถทำงานนั้นได้ดี ในขั้นตอนนี้เราจะได้ Job Competency ของงานต่างๆในองค์กร จากนั้นจึงนำ Competency ที่ได้มาทั้ง 2 ส่วน ดังกล่าวมาสร้างเป็น Competency Model
การออกแบบ Competency Model สามารถทำได้หลายวิธี โดยทั่วไปมักเริ่มต้นจากการแบ่งกลุ่ม Competency ตามที่องค์กรต้องการ เช่น
1.แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ Core Competency และ Job Competency
ดังแสดงในรูปข้างต้น
2.นำ Core Competency ขององค์การและ Job Competency มาแบ่งออกเป็นความสามารถในด้านต่างๆที่องค์การต้องกร ดังตัวอย่างที่แสดงในตัวอย่างถัดไป
ตัวอย่างการจัด Competency ตามหมวดหมู่ที่องค์กรกำหนด
Competency Cluster | Competencies |
Individual skills
(ความสามารถส่วนบุคคล) |
|
Management Skills
(ความสามารถทางการบริหาร) |
|
Technical Skills
(ทักษะทางเทคนิค) |
|
ตัวอย่าง Model ที่แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม แสดง Competency ย่อยในแต่ละกลุ่มที่สัมพันธ์กัน
Conceptual |
|
Interpersonal |
|
Personal |
|
ตัวอย่าง Competency Model ที่แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม โดยนำ Value และ Strategy ขององค์กรมากำหนด Core Competency ความสามารถทางการบริหารมากำหนด Managerial Competencies และนำ Job functions ของตำแหน่งงานมากำหนด Technical Competencies
Core competency | Values & Strategy |
Professional Competency | Managerial Ability |
Technical Competency | Technical Skills |
การกำหนด Competency Model ในส่วนนี้ อาจจะเป็นส่วนหนึ่ง ของการทำความเข้าใจสำหรับ การเข้าไปจัดทำของทีมที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญ ว่ารูปแบบการจัดทำ มีลักษณะแบบนี้ เพื่อที่จะได้กำหนดขั้นตอนในการจัดทำ Competency ให้เป็นแนวทางที่ชัดเจน
ซึ่งโดยทั่วไป จะมีการกำหนด Competency Model มี 3 ประเภท คือ สมรรถนะหลัก (Core Competency)
สมรรถนะเฉพาะตำแหน่งงาน(Functional Competency) และ สมรรถนะระดับบริหาร (Managerial Competency) หรือบางตำราอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งก็ได้ สมรรถนะระดับผู้นำ (Leadership Competency สมรรถนะส่วนนี้ ใช้เฉพาะพนักงานระดับ หัวหน้าขึ้นไปเท่านั้น สำหรับในรายละเอียด ผู้เขียนจะขอกล่าวลงในรายละเอียดแต่ละหัวข้อในบทต่อไปอีกครั้ง
เอกสารการสอนของ ดร.กฤติน กุลเพ็ง