นักบริหารงานบุคคล หลายๆ องค์การ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่บุคคลรุ่นใหม่ มักมีความเข้าใจในเรื่องประเด็นปัญหา การคำนวณอัตราการลาออกของพนักงาน ว่าจะต้องใช้ข้อมูลพนักงานที่ออกจากบริษัท ในเรื่องอะไรบ้าง เช่น การปลดออก การให้ออก การโยกย้าย และการลาออก จากบริษัทเดิมไป ประเด็นเหล่านี้ ต้องนำมาคำนวณการคิดเป็น อัตราการลาออกหรือไม่ ถ้านักบริหารบุคคลยังไม่มีความเข้าใจที่ไปในทิศทางเดียวกันแล้ว ข้อมูลที่เรานำมาแชร์กัน ในเรื่องอัตราการลาออก ก็จะไม่ใช่เป็นตัวเลขฐานเดียวกัน เมื่อเป็นลักษณะนี้เปอร์เซ็นการลาออกของพนักงานประจำเดือน ก็จะนำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้อีกต่อไป
การคำนวณอัตราการลาออกของพนักงานตามสูตร คือ จำนวนพนักงานที่ออกต่อเดือน X 100
จำนวนพนักงานทั้งหมดของเดือน
ประเด็นที่อยากจะทำความเข้าใจเรื่อง จำนวนพนักงานที่ออกต่อเดือน เราใช้ พนักงานที่ออกในลักษณะใดบ้าง ด้วยหลักเกณฑ์โดยทั่วไป การคำนวณอัตราการลาออกของพนักงานในองค์การ เราใช้ พนักงานที่ลาออกโดยเขียนลาออกของบริษัทด้วยความสมัครใจเท่านั้น ถ้าเป็นกรณีที่ บริษัทให้พนักงานออกเอง เช่น การให้ออก การปลดออก จะไม่นำมานับเป็นอัตราการลาออก และประเด็นการโยกย้าย ในกรณีที่บริษัทมีบริษัทในเครือหลายแห่ง พอต้นเดือน พนักงานต้องถูกโยกย้ายไปดำรงตำแหน่งในบริษัทในเครืออีกแห่งหนึ่ง ในลักษณะนี้เช่นนี้ เราจะไม่นำมาเป็นข้อมูลในการคำนวณอัตราการลาออกอีกเช่นกัน เมื่อนักบริหารงานบุคคลมีความเข้าใจที่เหมือนกันเสียแล้ว ข้อมูลในลักษณะนี้ก็จะไม่มีความผิดพลาดเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ประเด็นเรื่องจำนวนพนักงานทั้งหมดของเดือน จะใช้ตัวเลข ณ วันใด ถ้าใช้วันต้นเดือนก็จะเป็นอีกตัวเลขหนึ่ง และถ้าใช้ ณ วันสิ้นเดือนก็จะเป็นอีกตัวเลขหนึ่ง สำหรับประเด็นตัวเลขที่บริษัทส่วนใหญ่ที่นิยมใช้กัน คือ ตัวเลข ณ วันสิ้นเดือน หรือบางบริษัทใช้ตัวเลขเฉลี่ยต่อเดือนก็มี เมื่อนักบริหารงานบุคคลมีความเข้าใจที่เหมือนกัน ใช้ข้อมูลไปในทิศทางเดียวกัน ก็จะทำให้ตัวเลขที่เกิดขึ้น สามารถนำมาเปรียบเทียบข้อมูลกันได้ มีความน่าเชื่อถือด้านข้อมูลมากขึ้น
สำหรับนักบริหารงานบุคคลที่มีประสบการณ์ ในการทำงานเรื่อง การดูข้อมูลพนักงานลาออก อาจจะต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับพนักงานที่เป็น core หลักขององค์กร ว่ามีการลาออกมากน้อยเพียงใดเพิ่มเติม เพื่อจะได้ทราบว่าพนักงานที่เป็นกำลังหลักขององค์กร มีการลาออกเป็นจำนวนเปอร์เซ็นเท่าไร และลาออกมากในเดือนไหน ซึ่งจะนำมาเป็นข้อมูลในการสรรหาว่าจ้างคนเข้าสู่องค์กรได้ทันท่วงที ตามตัวอย่างข้อมูลด้านล่าง
ตามข้อมูลด้านบนจะเห็นได้ว่า จำนวนพนักงานที่เป็นพยาบาล จะมีเปอร์เซ็นการลาออกในช่วงเดือน พฤษภาคม และมิถุนายน มากที่สุด แสดงว่าต้องมีสาเหตุเพราะอะไร และพยายามแก้ไขและปรับข้อมูลในสิ่งที่เกิดขึ้นว่า จะมีวิธีการแก้ไขได้อย่างไร เพื่อไม่ให้ขาดอัตรา สิ่งที่อยากจะเพิ่มเติม เรื่อง อัตราการลาออกของพนักงานในองค์การ คือ จำนวนเปอร์เซ็นการลาออกของพนักงาน แนวความคิดเมื่อสมัยก่อน จะมองว่าจำนวนเปอร์เซ็นการลาออกของพนักงานมากๆ มักจะถูกมองว่าไม่ดี มาสมัยใหม่เปอร์เซ็นการลาออกของพนักงาน จะถูกมองเชื่อมโยงไปถึงคุณลักษณะของพนักงานที่ออกด้วย ถ้าเป็นกรณีที่พนักงานในองค์การลาออก ส่วนใหญ่เป็นพนักงานที่มีคุณลักษณะที่ผลการปฏิบัติงานไม่ดี มีศักยภาพต่ำ เปอร์เซ็นการลาออกมีจำนวนมาก มักจะถูกว่าดี เพราะพนักงานที่ออกไปเป็นคนที่มีศักยภาพต่ำ ไม่สามารถทำให้บริษัทหรือองค์การได้รับประโยชน์ แต่ในทางกลับกัน ถ้าเป็นในประเด็นเปอร์เซ็นการลาออกของพนักงานที่มีศักยภาพสูง มีผลการปฏิบัติงานดี มีจำนวนมากๆ ที่เดินออกจากองค์การ ผู้บริหารต้องเข้าไปดูในรายละเอียดว่าเป็นเพราะอะไร ลักษณะที่เกิดขึ้น ถูกประเมินว่า เป็นสัญญาณที่ไม่ดี ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า เปอร์เซ็นการลาออกทั้งสองกรณีมีเปอร์เซ็นที่เท่ากัน แต่แปลความหมายต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของพนักงานที่ลาออกจากองค์การ ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น