การบริหารค่าจ้าง สิ่งที่ผู้บริหารแทบทุกองค์การ มักจะประสบปัญหาค่อนข้างมาก เพราะว่า ในช่วงเริ่มแรกที่ก่อตั้งบริษัท มักไม่ค่อยได้ศึกษาและมีความเข้าใจถึงประเด็นในเรื่องนี้ พอบริษัทได้อยู่ไปเป็นเวลานานๆ ประมาณสัก 50 ปี ขึ้นไป พนักงานที่อยู่ในองค์กร ก็เริ่มแก่ไปตามบริษัทด้วยเช่นกัน  ผู้บริหารอนุมัติงบประมาณขึ้นค่าจ้างและจ่ายโบนัสเป็นประจำปีทุกปี แล้วแต่มากน้อยขึ้นอยู่กับ ผลประกอบการของบริษัท อย่างไรก็ตามพนักงานที่ผลงานในระดับปานกลาง-ดีมาก มักจะได้ปรับเงินเดือนทุกปี หรือแม้กระทั่งผู้บริหารใจดีหน่อย พนักงานที่ได้ผลการประเมิน D ก็ยังให้มีการขึ้นเงินเดือน ให้อีกเช่นกัน  พอพนักงานอายุประมาณ 47 ปี เกษียณอายุ 55 ปี  เงินเดือนพนักงานบางคน มากกว่าผู้บริหารเสียด้วยซ้ำ  ทั้งๆที่บางคนผลงานไม่ค่อยดี  เจ็บป่วยบ่อยครั้ง มีการลางานมาก พัฒนาไปเป็นหัวหน้าก็ไม่ได้ เพราะว่าวุฒิการศึกษาไม่สามารถปรับได้ หรืออาจจะมีปัญหาด้านสุขภาพแต่บริษัทก็ยังต้องขึ้นเงินเดือนให้เป็นประจำทุก ปี เพราะเป็นกติกาของบริษัท

สำหรับเรื่องนี้ ผมเคยได้รับการหารือกับเจ้าของบริษัท ที่ทำธุรกิจมานานพอสมควร ซึ่งมักพบปัญหาอุปสรรคในเรื่องนี้  ถ้าจะให้พนักงานออก บริษัทต้องจ่ายค่าชดเชยเป็นเงินจำนวนมาก ผู้บริหารจะเลือกปฏิบัติที่จะให้พนักงานเพียงคนเดียวก็ไม่ได้ เพราะว่าพนักงานมีเข้าข่ายในลักษณะนี้ในบริษัท มีจำนวน 20 คน  ถ้ารวมจ่ายเป็นเงินก้อนก็ไม่ไหว มีปัญหาด้านสภาพคล่องทางการเงิน  จึงต้องทนจ้างพนักงานเก่าที่มีอยู่ ก็ทำกันไป ผลผลิตก็ไม่ได้ตามเป้าหมาย คุณภาพงานก็ไม่ดีเท่าที่ควร ยิ่งนานวันขึ้น พนักงานที่เป็นลักษณะเช่นนี้ยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  จะจ้างคนใหม่มาก็ไม่มีอัตราที่จะจ้างต้องรอคนเก่าออกไปก่อน  ผู้บริหารจึงเริ่มให้ความสนใจเรื่องนี้ ต้องกลับเข้ามาดูโครงสร้างค่าจ้างขององค์การ ของพนักงานแต่ละระดับ ว่ามีส่งที่จะต้องมาพัฒนาเพิ่มเติมอย่างไรบ้าง เช่น พนักงานที่มีพฤติกรรมดี ผลการปฏิบัติงานดี จำเป็นต้องรักษาเอาไว้ ควรจะต้องให้มีการขึ้นค่าจ้างประจำปีมากกว่า พนักงานคนอื่นๆ  และคนทีปฏิบัติงานไม่ดีจะทำอย่างไร ไม่ใช่ปล่อยให้พนักงานขึ้นเงินเดือนเป็นประจำทุกปี ก็เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องนัก  แนวทางการชะลอค่าจ้าง จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการที่จะเป็นสิ่งจูงใจและกระตุ้นให้พนักงานเกิดความ พยายาม ความตั้งใจในการปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด

แนวทางการชะลอค่าจ้าง

 Level MR                 % ของอัตราการขึ้นค่าจ้าง                                                                                       
        < P75   P75 – P100 > P 100     
นาย 1 (A) 100.00 100.00 0
นาย 2 (B) 100.00 100.00 0
นาย 3 (C) 100.00 100.00 0
นาย 4 (D) 50.00 00.00 0
นาย 5 (E) 00.00 00.00 ไม่ขึ้น

จากข้อมูลแนวทางการชะลอค่าจ้าง จะเห็นได้ว่า พนักงานที่เป็น นาย 1-3 มีผลการประเมินการปฏิบัติงาน A-C ตามลำดับ บริษัทจะพิจารณาปรับค่าจ้างขึ้นให้เต็มตามจำนวนที่ได้รับการปรับ เช่น บริษัทกำหนดให้ พนักงานที่ถูกประเมินในปีนี้ได้ขึ้นเงินเดือนตามผลการประเมินการปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้

พนักงานที่ถูกประเมินได้เกรด  A = 10 %   B = 8 %    C = 5 %        D = 3 %

สมมุติว่าพนักงาน  นาย 1  อัตราเงินเดือน   15,000  บาท

นาย 2  อัตราเงินเดือน   12,000   บาท

นาย 3  อัตราเงินเดือน  10,000   บาท

นาย 4  อัตราเงินเดือน  14,000   บาท

ถ้าพิจารณาตามาแนวทางการชะลอค่าจ้างพนักงานที่ถูกประเมินผลการปฏิบัติงาน A-C จะได้การขึ้นเงินเดือนเป็น 100 %

นาย 1 ได้ปรับเป็น    1,500  บาท

นาย 2 ได้ปรับเป็น       960  บาท

นาย 3 ได้ปรับเป็น      500  บาท

สำหรับนาย 4  ถ้าเป็นกรณีที่อัตราเงินเดือนต่ำกว่า P75 จะได้ปรับค่าจ้าง 50 % คือ  14,000 x 3 % x  50 % = 210  บาท   กรณีนาย 4 อัตราเงินเดือนสูงกว่า P75 จะไม่ได้รับการพิจาราปรับค่าจ้างในครั้งนี้เลย เป็นต้น

นั่นคือตัวอย่างแนวทางการชะลอค่าจ้างของพนักงาน ก่อนที่จะนำแนวทางเรื่องดังกล่าวนี้มาปรับใช้ในองค์กร  ผู้บริหารจำเป็นต้องแจ้งพนักงานให้ทุกคนทราบถึงแนวปฏิบัติการชะลอค่าจ้าง เสียก่อน เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลค่าจ้างพนักงานทั้งองค์กร ไม่ได้เลือกปฏิบัติแก่พนักงานคนใดคนหนึ่ง  ซึ่งจะทำให้แก้ปัญหาพนักงานที่ทำงานไม่ได้ตามมาตรฐานของบริษัท และยังเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานที่มีความขยันขันแข็ง เกิดการพัฒนาตัวเองให้มีผลการปฏิบัติงานที่ดีต่อไป