เทคนิคการสัมภาษณ์งานในยุคใหม่ นักบริหารงานบุคคลได้เริ่มมีความใส่ใจเรื่อง การสัมภาษณ์งานกันมากขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่ ใช้วิธีการนำไปเก็บตัวเข้าค่ายก่อน เพื่อตรวจสอบประวัติหรือพฤติกรรมที่แสดงออกมาในช่วงที่ทำกิจกรรม แล้วนำมาเป็นส่วนประกอบในการทำนายผล หรือบางแห่งใช้วิธีการดูโหวงเฮ้ง ว่าจะมีลักษณะที่เหมาะสมกับองค์การที่ทำงานหรือไม่ ดวงของผู้ถูกสัมภาษณ์นั้นเข้ากับหัวหน้าได้หรือเปล่า นั่นก็คือขั้นตอนการสรรหาคัดเลือกคนเข้าสู่องค์การ แต่อย่างไรก็ตาม การสรรหาคัดเลือก สิ่งที่ไม่ควรทิ้งประเด็นไปก็คือ การพิจารณาข้อมูลส่วนตัว(Biodata) ของผู้ถูกสัมภาษณ์ ซึ่ง HR จะต้องเริ่มทำการตรวจสอบประวัติจากใบสมัครตั้งแต่ตอนกรอกใบสมัครและสัมภาษณ์เบื้องต้น
ผู้เขียนจะขออธิบายรายละเอียดในการตรวจสอบประวัติส่วนตัวของผู้ถูกสัมภาษณ์ดังต่อไปนี้
1.การเปลี่ยนชื่อ-สกุลของผู้ถูกสัมภาษณ์
2.ประวัติครอบครัว
3.ความถี่การย้ายสถานศึกษา
4.เกรดเฉลี่ย
5.ใบแจ้งผลการเรียนก็เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถนำมาเป็นประเด็นในการพิจารณาได้อีกเช่นกัน คือ เรื่องความคิดเห็นของคุณครูประจำชั้น ที่เขียนในใบแจ้งผลการเรียนว่า นักเรียนคนนี้มีพฤติกรรม จุดอ่อน จุดแข็ง อย่างไร วิชาที่ได้เกรดเฉลี่ยน้อยสุด เป็นวิชาที่องค์การ ต้องการหรือไม่ เช่น บริษัทต้องการรับตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บุคคล
6.กิจกรรมระหว่างการศึกษาก็จะสามารถเป็นแนวทางในการพิจารณาเรื่อง ทัศนคติของพนักงาน ว่ามีพฤติกรรมไปในลักษณะใด ชอบเก็บตัว ชอบอ่านหนังสือ ชอบการแสดงออก และชอบเป็นผู้นำ
7.ประวัติการทำงานกรณีที่ผู้ถูกสัมภาษณ์มีประวัติการทำงานที่อื่นมาแล้ว ก็จะต้องพิจารณาถึง เรื่อง ความสัมพันธ์ของเพื่อร่วมงาน ผู้บังคับบัญชาในที่ทำงานเดิมว่าเป็นอย่างไร ทิศทางในการดำเนินชีวิตของผู้สมัครว่ามีแนวคิดอย่างไร
8.อัตราเงินเดือนที่ต้องการประเด็นพิจารณาอยู่ตรงที่ ว่าผู้ถูกสัมภาษณ์มีความคาดหวังเกี่ยวกับผลตอบแทนเป็นอย่างไร มีการประเมินตนเองหรือไม่ หรืออาจะพิจารณาถึงเรื่อง การลาออกจากที่เดิมมาเพื่อ ต้องการเงินเดือนที่เพิ่มขึ้น แต่ความสามารถและทักษะไม่เพิ่มตามไปด้วย
9.ประวัติการพัฒนาฝึกอบรม
10.งานอดิเรกสามารถคาดเดาถึงเรื่อง ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ถูกสัมภาษณ์ว่ามีความชอบ ไปในลักษณะใด เช่น ชอบอ่านหนังสือ ก็อาจจะคาดเดาได้ว่า ผู้ถูกสัมภาษณ์ชอบการค้นคว้าหาความรู้
จากข้อมูลที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนั้น เป็นการนำข้อมูลส่วนตัวมาพิจารณาในการสรรหาคัดเลือกคนเข้าสู่องค์การ ซึ่งแต่ละองค์การก็จะมีคณะกรรมการพิจาณาเพิ่มเติมหรือตรวจสอบข้อมูลอีกระดับหนึ่ง ถ้าใช้หน่วยงาน HR อย่างเดียวก็จะได้ข้อมูลที่อาจจะมีความคลาดเคลื่อนได้ โดยเฉพาะให้เจ้าหน้าที่บุคคลที่มีประสบการณ์น้อย ก็จะทำให้ได้ข้อมูลที่ผิดพลาดได้เช่นกัน เพราะว่าทักษะในการสัมภาษณ์และการตั้งคำถาม ของผู้มีประสบการณ์น้อยจะทำให้ไม่ได้ข้อมูลที่เป็นจริงของผู้ถูกสัมภาษณ์ได้
ในปัจจุบันข้อมูลส่วนตัวของผู้ถูกสัมภาษณ์ มีกฎหมายสิทธิมนุษยชนให้ความคุ้มครองเรื่อง ข้อมูลส่วนตัว จึงทำให้การสัมภาษณ์ในเรื่องนี้ ค่อนข้างลำบากมากขึ้น นักบริหารงานบุคคล จึงต้องคิดค้นวิธีการที่จะให้ได้มา ซึ่งข้อมูลที่เป็นจริง เพื่อไม่ให้ผู้ถูกสัมภาษณ์มีความรู้สึกว่า องค์การได้ล่วงเกินเรื่องส่วนตัวของเขามากเกินไป จึงได้มีการคิดค้นในการออกแบบสอบถาม เรื่องข้อมูลส่วนตัวของผู้ถูกสัมภาษณ์ โดยไม่ให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดี และผู้ถูกสัมภาษณ์เองก็ยินดีที่จะตอบโดยไม่ได้ถูกบังคับจากบริษัท และเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงความผิดของกฎหมายสิทธิมนุษยชน อีกด้วยเช่นกัน
ผู้เขียนจึงขอยกตัวอย่างแบบสอบถามที่ ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ถูกสัมภาษณ์สามารถ กรอกด้วยความเต็มใจ
คำถามเกี่ยวกับประวัติส่วนตัว (Biodata) |
เลือกคำถามที่ใกล้เคียง หรือ “ตรง” กับตัวท่านมากที่สุดเพียง 1 คำตอบ 1. ตอนเด็กๆ พ่อ-แม่ ของท่าน
|
2. ยามว่างท่านมักจะ
|
3. วิธีการเก็บเงินของท่าน คือ
|
4. แผนการในอนาคตของท่าน ในอีก 3 ปีนับจากนี้ไป คือ
|
สิ่งที่ได้กล่าวมาทั้งหมด ก็เป็นส่วนหนึ่ง ของการทำนายผลด้วยข้อมูลส่วนตัว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอน ของการสรรหาคัดเลือกคนเข้าสู่องค์การ จาก 10 หัวข้อที่กล่าวมาข้างต้น กระบวนการสัมภาษณ์งานนอกจากจะได้ข้อมูลมาทั้งหมดแล้ว ใช่ว่าจะทำนายได้ถูกต้องแม่นยำ ก็หาไม่ ต้องใช้ทักษะในการสัมภาษณ์ของผู้บริหารส่วนหนึ่ง ในการพิจารณาถึงข้อมูล ความเป็นไปได้ประกอบด้วย บางครั้งประสบการณ์ก็เป็นตัวช่วยให้ ผลการทำนาย ออกมาเป็นจริงมากยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน
ดร. กฤติน กุลเพ็ง
“ประสบการณ์ 25 ปี ทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์และพัฒนาองค์กร เชี่ยวชาญเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่บริหารวัฒนธรรมองค์กร และ การ Implement Competency Model ให้กับองค์กรภาครัฐและเอกชน ประสบการณ์ในการทำงานในเครือซิเมนต์ไทยมา 15 ปี เป็นอาจารย์พิเศษ สอนด้าน Human Resource Management มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน”