สำหรับข้อมูลแต่ละองค์กร  ควรจะต้องให้ความสำคัญประเด็นเรื่อง ขีดความสามารถของพนักงานเพิ่มเติม เพราะว่าคำว่าขีดความสามารถประกอบไปด้วย  ความรู้  ทักษะและความสามารถประกอบกันเป็นองค์ความรู้ในการปฏิบัติงานนั้นๆ ให้ประสบความสำเร็จ

  • ความรู้ (Knowledge)   คือสิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้าหรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะความเข้าใจ หรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิดหรือการปฏิบัติองค์วิชาในแต่ละสาขา  ความรู้ประกอบด้วย 2 ชนิดคือ
    1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในสมอง ( Tacit Knowledge ) อาจเรียกง่ายๆ ว่า ความรู้ในตัวคน ได้แก่ ความรู้ที่เป็นทักษะ ประสบการณ์ ความคิดริเริ่ม พรสวรรค์ หรือสัญชาติญาณของบุคคลในการทำความเข้าใจ       สิ่งต่างๆ บางครั้งเรียกว่าความรู้แบบนามธรรม
    2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง ( Explicit Knowledge ) อาจเรียกว่าความรู้นอกตัวคน เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่นการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นหนังสือ ตำราเอกสาร      กฎระเบียบ   วิธีปฏิบัติงาน เป็นต้น บางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
  • ทักษะ(skill)คือความสามารถใด ๆ ก็ตามที่อยู่ในบุคคลอันมีความชำนาญ โดยไม่จำกัดขอบเขตว่าต้องเป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านใด ทั้ง ทักษะทางด้านกีฬา ทักษะทางการเจรจา ทักษะการป้องกันตัว ทักษะทางการวิเคราะห์ ทักษะทางภาษา ทักษะการประดิษฐ์ หรือ อื่น ๆ ก็ล้วนนับเป็นทักษะอย่างหนึ่งทั้งสิ้น

แต่ทักษะในการดำเนินชีวิตหรือใช้ในการปฏิบัติงานประกอบไปด้วย

1. ทักษะการจัดการอารมณ์ (Coping with emotion)

อารมณ์ เป็นเหมือนตัวแปรสำคัญในการลงมือ หรือกระทำ

การตัดสินใจต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัว หากสามารถจัดการควบคุม

สิ่งเหล่านี้ได้จะสามารถจัดการสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขึ้นโดยไม่มีสิ่งใด ๆ มารบกวนได้

2. ทักษะการตัดสินใจ (Decision making)

ฝึกฝนการตัดสินใจต่าง ๆ อย่างมีระบบแบบแผน เพื่อป้องกัน

การตัดสินใจที่ผิดพลาดและส่งผลเสียตามมา

3. ทักษะการสื่อสาร (Effective communication)

การสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน ทั้งการ

ใช้คำพูด ตัวอักษร หรือท่าทาง เพราะฉะนั้นการรู้จักการสื่อสาร

ได้ อย่างเหมาะสมกับผู้คนรอบตัว รวมถึงสถานการณ์ต่าง ๆ จะ

ทำให้สามารถสร้างมิตรสัมพันธ์ที่ดีให้แก่คนรอบข้างได้

4. ทักษะการจัดการปัญหา (Problem Solving)

ปัญหามักเกิดขึ้นกับชีวิตคนเราอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเรื่องเล็ก

หรือเรื่องใหญ่ หากรู้จักการจัดการปัญหาอย่างถูกต้องจะ

ช่วยป้องกันการขยายปัญหา และสามารถแก้ไขได้

อย่างถูกต้อง  รวดเร็วและตรงตามวัตถุประสงค์ได้

5. ทักษะการควบคุมจัดการกับความเครียด (Coping with stress)

เช่น การหาวิธีผ่อนคลาย การระงับความเครียด และ การ

ไตร่ตรอง  แก้ไขต้นตอของความเครียด จะช่วยให้คุณ

สามารถดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้องได้ และ สามารถยก

ระดับสุขภาพให้ดีขึ้นด้วยเช่นกัน

6. ทักษะการเข้าใจผู้อื่น (Empathy)

ต้องมีการทำความเข้าใจอันเป็นที่ยอมรับได้ซึ่งกันและกัน

จึงจะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

7. ทักษะการสร้างสัมพันธ์ (Interpersonal relationship)

คนที่รู้จักการสร้างบรรยากาศที่ดี มีวาจาการพูดอันเหมาะสม

เข้าใจผู้อื่น และประพฤติตนได้อย่างเหมาะสมได้รับการ

ยอมรับจากคนรอบข้างและสามารถสร้างสัมพันธ์ที่ดีแก่กัน

ได้อย่างยั่งยืน

8. ทักษะการมีวิจารณญาณ (Critical thinking)

การคิดอย่างมีสติ มีการไตร่ตรองอย่างรอบคอบ

การคิดวิเคราะห์ ประเมิน ก่อนตัดสินใจเชื่อหรือลงมือ

กระทำสิ่งใดก็ตามย่อมส่งผลดีและลดอัตตราการเกิดผลเสีย

ของผลลัพธ์ที่ตามมาได้

9. ทักษะการคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking)

ความคิดสร้างสรรค์เป็นเหมือนศิลปะประจำตัว ที่จะ

ช่วยเนรมิตสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ โดยไม่จำเป็นต้องเป็น

เชิงรูปธรรมเสมอไปนามธรรมก็สร้างสรรค์ได้เช่นกัน

เช่น การค้นหาแนวคิดใหม่ ๆ การหาวิธีแก้ปัญหาใหม่ ๆ เป็นต้น

10. ทักษะการตระหนักรู้ในตนเอง (Self-awareness)

การรู้จักตนเองให้มากขึ้นก็เป็นสิ่งที่ดีเหมือนกัน หากว่าง ๆ

ก็ลองทำความรู้จักกับตนเอง หรือ ค้นหาในสิ่งที่ตนเองชอบ

จริง ๆ จะช่วยให้คุณมีความสุขกับการใช้ชีวิตได้มากยิ่งขึ้น

  • ความสามารถ (Ability) Dr. Stephen P. Robbins ได้ให้ความหมายไว้ว่า “สมรรถภาพของบุคคลซึ่งสามารถที่จะทำภารกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานได้เป็นผลสำเร็จ” ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เกิดมามีคุณลักษณะและความสามารถที่ไม่เท่ากัน องค์การจึงควรเข้าใจธรรมชาติและหาวิธีดึงเอาศักยภาพที่มีอยู่ในตัวบุคคลให้แสดงออกมาในการทำงานอย่างเต็ม

          พอทราบความหมายทั้ง 3 คำแล้วว่า ทั้งความรู้ ทักษะ และความสามารถ เมื่อนำมาใช้ในการปฏิบัติงาน จะทำงานที่ปฏิบัติอยู่นั้นประสบความสำเร็จ  ซึ่งกรณีที่องค์กร/บริษัทได้พัฒนาพนักงานโดยเน้นทั้งความรู้ ทักษะ และความสามารถของพนักงานอย่างแท้จริง  จะส่งผลให้องค์กรที่ปฏิบัติอยู่ประสบความสำเร็จได้เร็วกว่าองค์กรที่ไม่พัฒนา

          K   S   A  ของพนักงานยิ่งสูงมากเท่าไร จะทำให้องค์กรนั้นๆประสบความสำเร็จได้เร็วกว่าองค์กรอื่น  ฉะนั้นจึงพอสรุปได้ว่า  K  S  A มีความสัมพันธ์กับการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน  ยิ่งพนักงานมีทั้ง 3 หัวข้อสูงเท่าไร ยิ่งทำให้ส่งผลต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานมากเท่านั้น


  บทความ     
  666 views     Comments