เทคนิคการสัมภาษณ์พนักงาน  เป็นกระบวนการหนึ่งที่จะดำเนินการสรรหาบุคคลากรเข้ามาปฏิบัติงานภายในองค์กร ซึ่งบางครั้งต้องยอมรับว่า เมื่อดำเนินการสัมภาษณ์แล้ว  การที่จะหาข้อสรุปว่าผู้สมัครรายใดจะเป็นผู้ที่ได้รับการคัดเลือก  มาเป็นพนักงานของบริษัท  ต้องผ่านการสรุปผลจากคณะกรรมการสัมภาษณ์แต่ละท่านเสียก่อน  ในทางปฏิบัติก็จะเกิดปัญหาขึ้นสำหรับการสรุปผลการสัมภาษณ์  จะมีคะแนนเสียงจากกรรมการมีคะแนนเท่ากัน  บางบริษัทถ้าคณะกรรมการที่เป็นเลขคี่  เช่น  4   6   8  คน  เมื่อผลออกมาที่หาข้อสรุปไม่ได้  จึงต้องดำเนินการส่งเรื่องให้กับผู้บริหารอีกระดับหนึ่งเป็นผู้ตัดสินใจ  จนทำให้งานบางอย่างมีความล่าช้า  เช่น แทนที่จะตอบรับผู้สมัครในทันทีได้เลย  ก็ล่าช้าไป ทำให้ผู้สมัครได้งานที่บริษัทอื่นไปแล้ว

จากปัญหาดังกล่าวที่ได้เกิดขึ้นมา  ผู้เขียนจะพบไม่มากนัก  แต่บางองค์กรที่มีคณะกรรมการสัมภาษณ์ที่ยังไม่มีความเป็นมืออาชีพ  จะไม่ค่อยกล้าตัดสินใจ บางครั้งต้องส่งเรื่องให้ผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้ตัดสินใจแทนก็มี  ซึ่งโดยการปฏิบัติงานด้านการสัมภาษณ์งาน  ส่วนใหญ่การตัดสินใจของคณะกรรมการสัมภาษณ์  จะใช้เทคนิคในกรณีที่มีคะแนนเสียงเท่ากันของคณะกรรมการ  ผู้เป็นประธานการสัมภาษณ์จะของดออกเสียงไว้ก่อน  เมื่อผลออกมาคะแนนเท่ากัน  ประธานจะเป็นผู้ชี้ขาดในทางปฏิบัติ  การชี้ขาดของประธานบางสถานการณ์  ก็ใช้เทคนิคการตัดสินใจ โดยให้เกียรติคณะกรรมการสัมภาษณ์ที่เป็นเจ้าของหน่วยงานที่จะรับพนักงาน ว่าจะเลือกผู้สมัครคนใด  แล้วอาจจะตัดสินใจเลือกตามที่คณะกรรมการสัมภาษณ์ที่เป็นเจ้าของที่จะรับพนักงานก็ได้เช่นกัน

ลักษณะที่เกิดขึ้น  ผู้เขียนมองว่าควรจะตัดสินใจให้เสร็จสิ้นภายในกระบวนการการสัมภาษณ์พนักงานในทันที  เพราะว่าถ้าให้เก็บข้อมูลสัมภาษณ์ทั้งหมด  แล้วส่งไปให้ผู้บริหารอีกระดับหนึ่ง  ดำเนินการตัดสินใจคัดเลือกผู้สมัคร จะเป็นการยุ่งยากมากกว่าเดิม  และเป็นสิ่งที่ลำบากมากในการตัดสินใจคัดเลือก  เพระว่าผู้บริหารไม่ทราบข้อมูลเชิงลึกในการสัมภาษณ์ผู้สมัคร  ไม่ได้เห็นบุคลิกหน้าตาของผู้ถูกสัมภาษณ์เลย  การตัดสินใจจะเกิดความผิดพลาดได้ง่ายมากกว่า  ประกอบกับในยุคของการแข่งขันด้านการรับคนของแต่ละบริษัท  ค่อนข้างสูง  ถ้าปล่อยเวลาให้เนิ่นนานไป  จะทำให้ผู้สมัครเกิดความรู้สึกว่า  บริษัทไม่ได้สนใจในตัวเขาแล้ว  ไปตอบรับบริษัทอื่นที่สนใจ  ก็จะทำให้เกิดการเสียเวลาในการสัมภาษณ์ไปอย่างน่าเสียดาย

ฉะนั้น การแต่งตั้งคณะกรรมการสัมภาษณ์สำหรับองค์กร  โดยทั่วไปจึงได้ดำเนินการกำหนดคณะกรรมการสัมภาษณ์ให้มีจำนวนเป็นเลขคี่  รวมทั้งประธานการสัมภาษณ์  เพื่อแก้ปัญหาการสรุปผลการสัมภาษณ์  ที่ได้คะแนนออกมาเท่ากัน  ถ้าคณะกรรมการสัมภาษณ์เป็นเลขคี่  ก็จะได้ไม่มีข้อมูลสรุปผลที่ออกมาที่มีคะแนนเท่ากันอีกต่อไป


  บทความ     
  2766 views     Comments