การสร้างความผูกพันของพนักงานภายในองค์กร  ซึ่งในทางปฏิบัติ หน่วยงานที่จะต้องเก็บข้อมูลทั้งในเชิงระบบและเชิงลึก  ก็คงหนีไม่พ้นงานของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์  ที่จะต้องมาเป็นแม่งานในการพัฒนาต่อยอดข้อมูล  จากการสำรวจข้อมูลของพนักงานทั้งองค์กร จึงใคร่ขอยกตัวแบบของ Engagement Model

 

untitled-jpg

 

  1. Company Practices  ปัจจัยแรกของการที่จะเสริมสร้างความผูกพันของพนักงาน เริ่มต้นที่บริษัทหรือองค์กร จะต้องมีนโยบายที่กำหนดออกมาจากผู้บริหารอย่างชัดเจน  ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง

แบรนด์ของบริษัท ที่มีเอกลักษณ์ โดยมีพนักงานทั้งองค์กร  เป็นผู้มีบทบาทในการสร้างแบรนด์ ด้วย และพร้อมใจในการรักษาชื่อเสียงของบริษัท  ให้เป็นที่รู้จักในแวดวงธุรกิจด้วยกัน  เป็นที่ยอมรับในสังคมโดยทั่วไป

  1. People ผู้นำขององค์กร  ต้องมีความรับผิดชอบ และเป็นผู้มีบทบาทในการนำพาองค์กรไปในทิศทางที่ มีวิสัยทัศน์  พันธกิจ ตอบสนองเป้าหมายขององค์กรได้เป็นอย่างดี  บุคลิกของผู้นำ ต้องมีความรู้ ความสามารถ  มีความโปร่งใส  มีความยุติธรรม และ สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับพนักงานทั้งองค์กร
  2. Work ระบบงานภายในองค์กร  เมื่อพนักงานเริ่มปฏิบัติงาน สิ่งที่พนักงานอยากได้รับคือ ความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน มีแบบกำหนดหน้าที่งานเขียนไว้อย่างชัดเจนในแต่ละตำแหน่งงาน พร้อมทั้งกระบวนการทำงาน(WI) ที่มีขั้นตอนกำหนดไว้ อย่างเป็นระบบ   มีระบบ on the job training เพื่อให้พนักงานได้ฝึกปฏิบัติก่อนลงมือปฏิบัติงานจริง  เมื่อพนักงานปฏิบัติงานแล้วมีข้อสงสัยในการทำงาน ก็สามารถสอบถามพี่เลี้ยงในการทำงาน ได้อย่างตลอดเวลา
  3. Total Reward การจ่ายค่าตอบแทนในการทำงาน  เมื่อปฏิบัติงานแล้ว  องค์กรควรจะต้องมีการกำหนดตัวชี้วัดของแต่ละงานเอาไว้ เพื่อสะดวกในการประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อนำไปจ่ายค่าตอบแทน ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นค่าจ้าง และการจ่ายโบนัส  โดยเน้นการจ่ายค่าตอบแทนตามผลงานเป็นหลัก  ซึ่งหัวหน้า /ผู้จัดการ สามารถอธิบายการจ่ายค่าตอบแทนของพนักงานได้อย่างเป็นธรรม มีระบบ feedback จากลูกน้องที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม
  4. Opportunities โอกาสในการเจริญเติบโตของพนักงานภายในองค์กร  จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานขององค์กรทั่วไป  โดยมีการกำหนดมาตรฐานของแต่ละตำแหน่งงานเอาไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้พนักงานได้รับทราบว่า  ถ้าเขาจะเติบโตไปเป็นหัวหน้า/ผู้จัดการ จะต้องมีการเตรียมตัวอย่างไร  มีแนวทางในการพัฒนาตัวเองตามมาตรฐานที่บริษัทได้กำหนดไว้  อย่างเป็นระบบ  โดยบริษัทจะต้องมีระบบการพัฒนาและฝึกอบรมให้กับพนักงาน เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ตำแหน่ง  ให้พนักงานทุกระดับ  อย่างเท่าเทียมกัน
  5. Quality of work life คุณภาพชีวิตของพนักงานในพื้นฐานที่ บริษัท/องค์กรควรจะมีระบบในการดูแลอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น ความปลอดภัยในการทำงาน มีการตรวจร่างกายประจำปีให้กับพนักงานเพื่อเช็คข้อมูลว่าลักษณะงานมีผลต่อร่างกายพนักงานมากน้อย ความร้อน ห้องน้ำ แสง  สี  เสียง ในการทำงาน มีปัญหาในการทำงานหรือไม่  รวมทั้งผู้บริหารองค์กรให้การดูแลลูกน้องในสายงาน โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพนักงาน หรือมีการจัดอัตรากำลังให้เหมาะสมกับภาระงานจริง เป็นต้น

ทั้งหกปัจจัยดังกล่าว ถ้าผู้บริหารนำมาต่อยอดในการดูแลพนักงานภายในองค์กรได้เป็นอย่างดี ก็จะเป็นส่วนหนึ่ง  ในการเสริมสร้างความผูกพัน ให้พนักงานเกิดความจงรักภักดีต่อองค์กร และเมื่อพนักงานได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจากผู้บริหาร  ก็จะสามารถที่จะไปดูแลลูกค้าที่เป็นของบริษัทได้เป็นอย่างดี  ซึ่งจะทำให้เกิดผลดีต่อความพึงพอใจของลูกค้าและผู้มารับบริการ  สุดท้ายจะส่งผลให้ผลประกอบการโดยรวมของบริษัทออกมาได้ตามเป้าหมาย  ซึ่งในแต่ละปีผู้บริหารควรจะมีการสำรวจความพึงพอใจของพนักงาน แต่ละหัวข้อ เพื่อนำผลที่ได้สำรวจมาเป็นข้อมูลในการตัดสินใจในการพัฒนาองค์กรอย่างเป็นระบบ ตามที่พนักงานได้ร้องขอ หรือเขียนแบบสอบถามมายังผู้บริหาร   จะทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกที่ดีต่อองค์กร  ที่เขาปฏิบัติงาน ว่าเป็นบ้านหลังที่สองของเขาที่ได้รับการพึ่งพาเป็นอย่างดี

 

ดร.กฤติน   กุลเพ็ง   กรรมการผู้จัดการ  บริษัท ไอโอดีคอนเซาท์ติ้ง แอนด์เทรนนิ่ง จำกัด

วิทยากรและที่ปรึกษา ให้กับภาครัฐและภาคเอกชน