การตรวจสุขภาพประจำปีของบริษัท ถ้าเป็นองค์กรยุคใหม่ ก็จะใช้ผลของการตรวจสุขภาพพนักงานประจำปีของพนักงาน มาเป็นเครื่องมือหนึ่งในการปรับสวัสดิการ เพื่อเป็นประโยชน์ของพนักงานภายในองค์กรให้ได้มากที่สุด ซึ่งบางครั้งผู้บริหารองค์กรโดยส่วนใหญ่ จะไม่ค่อยให้ความสำคัญในการดูแลพนักงาน ให้ได้รับการตรวจสุขภาพพนักงานอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ทางการแพทย์ เพราะโดยปกติผู้บริหาร จะมีการประกาศของบริษัท ให้พนักงานมาเข้ารับการตรวจสุขภาพพนักงานประจำปี ในวันที่บริษัทกำหนดไว้ โดยไม่สนใจว่าพนักงานจะสะดวกในวันดังกล่าวหรือไม่ และก็ไม่ใส่ใจเลยว่า ผลการตรวจสุขภาพพนักงานจะออกมาเป็นอย่างไร ก็ตาม และยิ่งไปกว่านั้น สิ่งที่พนักงานภายในองค์กรได้มองเชิงลึกเข้าไปอีกคือ พนักงานที่เข้ามาตรวจสุขภาพ จะมีพนักงานบางคนที่ไม่ใส่ใจในการมาตรวจสุขภาพของบริษัทที่ได้จัดไว้ให้ ซึ่งบริษัทก็ไม่ได้มีมาตรการอะไรที่เป็น กฎเกณฑ์บังคับให้พนักงานดังกล่าว ให้มีการมาตรวจตามประกาศของบริษัทที่ได้จัดไว้ให้ จึงทำให้พนักงานมองว่า บริษัทเพียงได้แต่จัดให้มีการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายแรงงานเท่านั้น บริษัทไม่ได้ใส่ใจเรื่อง สุขภาพพนักงานอย่างแท้จริง
ผู้บริหารองค์กรยุคใหม่ ควรจะเริ่มมีความใส่ใจถึงเรื่องนี้ เพราะว่าแนวโน้มของพนักงานที่เป็นคนรุ่นใหม่ เริ่มมีความใส่ใจถึงเรื่อง สุขภาพของตัวเองมากขึ้น ยิ่งบริษัทใดก็ตามที่มีความมุ่งมั่น และมีมาตรการในการตรวจสอบเพื่อที่จะให้พนักงาน ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีทุกคน โดยเปิดกว้างให้ได้รับการตรวจสุขภาพอย่างแท้จริง เช่น บริษัทมีนโยบายให้พนักงานได้รับการตรวจสุขภาพพนักงานเป็นประจำทุกเดือน เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับพนักงาน บางบริษัทอำนวยความสะดวกให้พนักงานมารับการตรวจสุขภาพในเดือนที่พนักงานเกิด หรือมีการแบ่งออกเป็นไตรมาส ในหนึ่งปีจะมีหน่วยทางการแพทย์จะเข้ามารับการตรวจสุขภาพที่บริษัทจำนวน 4 ครั้ง โดยมีการประกาศให้พนักงานทราบล่วงหน้า เพื่อที่จะให้พนักงานได้มีการวางแผนตัวเองล่วงหน้า ในการทำตัวให้ว่าง ในการรับการตรวจสุขภาพพนักงานประจำปี
บริษัทยังมีมาตรการต่อไปอีกว่า ถ้าพนักงานท่านใดที่ไม่เข้ารับการตรวจสุขภาพที่บริษัทได้จัดไว้ให้ พนักงานจะต้องนำผลการตรวจสุขภาพที่พนักงานต้องไปเข้ารับการตรวจต่อ สถานพยาบาลที่เป็นของรัฐหรือเอกชน ซึ่งพนักงานจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด วิธีนี้ก็จะเป็นการทำให้พนักงานภายในองค์กรมองบริษัทในทางที่เป็นบวกมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าพนักงานส่วนหนึ่งประมาณ 10 % ที่จะได้รับการลงโทษจากบริษัทที่จะต้องออกค่าใช้เองก็ตาม
อย่างไรก็ตาม ถ้าบริษัทได้มีมาตรการต่อไปจากนี้อีก โดยการนำข้อมูลผลสรุปการตรวจสุขภาพมาดำเนินการต่ออีก เช่น การนำมาทำกิจกรรมในการออกกำลังกายให้กับพนักงาน สำหรับพนักงานที่มีผลการตรวจว่า มีไขมันในเส้นเลือดค่อนข้างสูง ซึ่งจะเป็นการต่อยอด ของการดูแลพนักงานภายในองค์กรอีกด้วย
จะเห็นได้ว่า ผลการตรวจออกมาแล้ว บริษัทได้ดำเนินการนำมาทำกิจกรรมแอโรบิค สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มี ผลการตรวจออกมาไม่ดี ก็จะยิ่งทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกว่า บริษัทมีความตั้งใจ มีเป้าหมายที่แท้จริงสำหรับพนักงาน ที่จะดูแลสุขภาพของพนักงานอย่างถูกวิธี และไม่ได้ทำเพื่อแต่จะให้เป็นไปตามกฎหมายเท่านั้น ผลการตรวจสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ บริษัทจะต้องนำมาพิจารณาหาทางแก้ปัญหาในเชิงป้องกัน ให้กับพนักงานอย่างถูกวิธี เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อพนักงานโดยรวม