จากที่ผู้เขียนได้ไปเป็นวิทยากรสอนหลักสูตร การวางแผนสืบทอดตำแหน่ง ในแต่ละบริษัท ซึ่งมีบางบริษัทที่ได้มีคำถามกับทางวิทยากรมาโดยตลอดคือ พนักงานที่เป็น Talent ขององค์กร กับพนักงานที่เป็น ผู้สืบทอดตำแหน่ง นั้น เป็นบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ มีความแตกต่างกันอย่างไร ผู้เขียนมองว่าเป็นคำถามที่ดีมาก เพราะว่าหลายๆ คนคงเข้าใจว่า พนักงานที่จะถูกคัดเลือกเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งนั้น ต้องเป็นพนักงานที่เป็นกลุ่มมาจาก Talent เท่านั้น
ถ้าเราศึกษาและพิจารณากันให้ดี จะเห็นได้ว่าการ Identify พนักงานที่เป็น Talent และ Successors จะมาจากคุณสมบัติที่มีข้อมูลบางส่วนที่คล้ายคลึงกัน แต่ พนักงานที่เป็น successors จะมีหลักเกณฑ์และรายละเอียดที่ต้องพิจารณามากกว่า ซึ่งจะขอกล่าวถึงในข้อมูลที่บริษัทส่วนใหญ่ที่นิยมใช้ข้อมูลมาเป็นหลักเกณฑ์การพิจารณาทั้งสองประเภทให้เข้าใจดังต่อไปนี้
กรณีที่เป็นพนักงาน Talent บริษัทส่วนใหญ่ ใช้เกณฑ์พิจารณาอยู่หลักๆ คือ เน้นการพิจารณาบุคลากรที่มีผลการปฏิบัติงานสูง(High Performance) และศักยภาพในการปฏิบัติงานสูง (High Potential) อย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอนที่ต่อเนื่อง โดยผลการปฏิบัติงานอาจจะต้องพิจารณาย้อนหลังไปประมาณ 3 ปีเฉลี่ยแล้วต้องอยู่ในเกณฑ์ ดี – ดีมาก ซึ่งสามารถอธิบายได้ตามภาพด้านล่าง
บริษัทจะพิจารณาการ Identify พนักงานที่เป็น Talent โดยใช้หลักเกณฑ์ การประเมินผลการปฏิบัติงาน กับ การประเมินศักยภาพ ซึ่งการประเมินศักยภาพ องค์กรบางแห่งใช้ เครื่องมือ competency มาเป็นตัวชี้วัดศักยภาพพนักงาน ตามภาพพนักงานที่เป็น Talent จะมีผลการประเมินการปฏิบัติงานอยู่ในเกณฑ์ดีมาก และระดับศักยภาพของพนักงานอยู่ใน ระดับ Level 4-5
พนักงานที่เป็นกลุ่ม Talent ควรจะทำการวิเคราะห์พนักงานที่อยู่ในระดับเดียวกัน เพื่อจะได้เห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า กลุ่มพนักงานในระดับหัวหน้ามี กลุ่มพนักงานที่เป็น Talent อยู่กี่คน
เมื่อได้ภาพรวมของ Talent ในแต่ละระดับแล้ว ก็จะนำมาพิจารณาการพัฒนาและการฝึกอบรมให้กับพนักงาน นั่นคือในภาพของการวิเคราะห์พนักงานที่เป็น Talent ขององค์กร
สำหรับการวางแผนสืบทอดตำแหน่งขององค์กร ที่บริษัทจะต้องทำการค้นหา Successors นั้น สิ่งที่ต้องทำเพิ่มเติมจาก กรณีค้นหาพนักงาน Talent คือ การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานตามตำแหน่งงาน ที่ผู้บริหารควรจะมีการประชุมหารือกันเสียก่อน
จากตารางข้อมูล การจัดทำเกณฑ์มาตรฐานตามตำแหน่งงาน จะเห็นได้ว่า นอกจากจะพิจารณาเรื่อง การประเมินผลการปฏิบัติงานและการประเมินศักยภาพ ของพนักงานแล้ว ผู้ที่เป็นหัวหน้าหน่วยงานแต่ละหน่วยงาน ต้องพิจารณาประเด็น อายุตัว อายุงาน วุฒิการศึกษาที่จบมา ความพร้อมของพนักงานที่จะขึ้นมาเป็นsuccessors ซึ่งจะเห็นได้ว่า ถ้าผู้บริหารองค์กรจะเลือกพนักงานที่จะขึ้นมาเป็น ผู้สืบทอดตำแหน่งของหน่วยงาน จะต้องพิจารณาคุณสมบัติที่ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานของแต่ละตำแหน่งงานนั้นๆ แสดงว่าพนักงานที่จะมาเป็น ผู้สืบทอดตำแหน่งได้ ต้องมีคุณสมบัติและรายละเอียดมากกว่า พนักงานที่เข้าข่ายพนักงาน Talent อาจจะเป็นภาษาทางคณิตศาสตร์ได้ว่า พนักงานที่เป็น Talent เป็นสับเซ็ทของ พนักงานที่เป็น successors
ผู้เขียนจึงพยายามตอบคำถามผู้เข้าสัมมนาที่ได้ซักถามประเด็นคำถามดังกล่าวข้างต้น และให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านที่ยังไม่เข้าใจลึกซึ้งในเรื่อง การวางแผนสืบทอดตำแหน่ง และพนักงานที่เป็น Talent บางองค์กรมองว่า ถ้าเป็นลักษณะนี้ก็ใช้ข้อมูลที่เป็นพนักงาน Talent มาเป็นพนักงาน successors เลยได้หรือไม่ คำตอบก็คือ ได้ ถ้ากรณีพนักงานที่เป็น Talent ได้เข้าหลักเกณฑ์ ตามมาตรฐานตำแหน่งงานที่ได้กำหนดไว้ อยากให้ผู้อ่านลองไปทำความเข้าเข้าเรื่อง การ Identify ของพนักงานที่เป็น Talent และ successors ให้ดีเสียก่อน ก็จะเกิดความเข้าใจในกระบวนการทำงานและที่มามากขึ้น