ในระดับผู้บริหาร ถ้าจะให้เลือกระหว่าง พนักงานเกิน และ พนักงานขาด  ผู้บริหารมองว่า การที่พนักงานขาด จะเป็นวิธีการที่ทำได้ง่ายกว่า  เพราะว่าจะไม่ส่งผลกระทบกับพนักงานที่อยู่ภายในองค์กรมากนัก  ถ้าเป็นกรณีที่พนักงานเกิน ในลักษณะค่อนข้างเข้าขั้นวิกฤติ  วิธีการที่จะต้องทำ  ก็ต้องใช้ยาชนิดรุนแรง  อาจจะต้องมีแผนการจัดการพนักงานที่ไม่ประสิทธิภาพออกจากองค์กร  ซึ่งผู้บริหารจะต้องมีหลักเกณฑ์ วิธีการที่พนักงานยอมรับ และไม่เกิดปัญหาต่อกระบวนการทำงาน

กรณีที่บริษัทมีพนักงานเกินกว่าภาระงาน  เราจะมีวิธีการดำเนินการอย่างไร เพื่อที่จะให้บริษัทดำเนินกิจการต่อไปได้

  1. การเพิ่มจำนวนงานให้มากขึ้น  วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้กันโดยทั่วไป  คือ ให้พนักงานที่ว่างงานอยู่มีความรับผิดชอบงานที่เพิ่มมากขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มงานในแนวกว้าง (Job Enlargement) และการเพิ่มงานในแนวดิ่ง (Job Enrichment)
  2. การลดวันทำงานลง เมื่อพนักงานเกิน งานที่ทำมีน้อย ก็แก้ปัญหาให้ทำงานน้อยวันลง ซึ่งจะทำให้พนักงานมีวันหยุดที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีบางบริษัทได้ตกลงกับพนักงานไว้ว่า ถ้ามีภาระงานที่เพิ่มมากขึ้นเมื่อไร  พนักงานจะมาทำใช้หนี้คืนให้กับบริษัท  กรณีลักษณะนี้  จะเกิดขึ้นกับบริษัทในปี  2554  ที่เกิดอุทกภัยใหญ่ทั่วประเทศ  ทุกบริษัทประสบปัญหาเหมือนกัน  พนักงานต้องหยุดงานไป  โดยนำวันหยุดในอนาคตมาใช้ก่อน  เมื่อถึงคราวบริษัทเปิดทำการหลังจากน้ำท่วม  พนักงานก็จะมาทำชดเชยให้กับบริษัท ตามที่ได้ตกลงกันไว้
  3. การฝึกอบรมพนักงาน บริษัทใหญ่ที่มีงบประมาณเพียงพอในการพัฒนาพนักงาน  จะดำเนินการพัฒนางานทุกระดับ  ในช่วงที่บริษัทมีภาระงานน้อย  ไม่มีการผลิต  เศรษฐกิจไม่ดี  บริษัทได้เริ่มมาใส่ใจหลังบ้านมากขึ้น  มาปรับปรุงระบบเอกสารในการทำงาน  เพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวกระโดดในช่วงที่เศรษฐกิจดี  ถือว่าเป็นการลงทุนในระยะยาวสำหรับพนักงาน
  4. โอนย้ายพนักงานไปอยู่ที่บริษัทในเครือ กรณีที่บริษัทมีภาระงานน้อย พนักงานเกินจำนวนงานอยู่  สิ่งที่ผู้บริหารระดับสูง  อาจจะต้องในภาพรวม  โดยการโยกย้ายพนักงานที่เกินอยู่แต่ละหน่วยงาน ให้มาทำงานที่บริษัทในเครือ  เพื่อแก้ปัญหากรณีคนเกินได้
  5. สมัครใจลาออกก่อนกำหนด เมื่อบริษัทมีปัญหาเรื่อง อัตรากำลังเกินมากๆ ประกอบกับมีปัญหาด้านสินค้าและบริการ เป็นจำนวนหลายๆ เดือน  สิ่งที่ตามมาก็คือ ภาระทางการเงินของบริษัท  ที่จะต้องจ่ายให้กับพนักงานต่อเดือน  เริ่มมีปัญหา วิธีที่หาทางออก  ก็คือ  การสมัครใจลาออกของพนักงานที่มีอายุงานใกล้เกษียณ  ก็ถือว่าเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของบริษัท  และให้บริษัทได้ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรใหม่
  6. การลดจำนวนคนลง วิธีนี้จะเป็นวิธีการสุดท้ายของกรณี พนักงานเกินกว่าภาระงาน ซึ่งวิธีการนี้  ส่วนใหญ่จะเป็นขั้นตอนสุดท้ายเช่นกัน  จะกระทำก็ต่อเมื่อ บริษัทหรือองค์กรไม่สามารถที่แบกรับภาระค่าใช้จ่ายอีกต่อไป  ต้องทำการ Layoff พนักงานออกบางส่วน หรือปิดกิจการ  ซึ่งการดำเนินการในลักษณะนี้  ผู้บริหารองค์กรจะมอบหมายให้หัวหน้าแต่ละสายงาน  เป็นผู้รับผิดชอบในการประเมินลูกน้องในสังกัด  เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัท  บางองค์กรกำหนดเกณฑ์กรณี การลดพนักงานลง  โดยการเลือกพนักงานที่
  • มีประสิทธิภาพการทำงานไม่ดี ไม่มีคุณภาพ
  • พนักงานที่ใกล้เกษียณอายุ
  • พนักงานที่ยังไม่ผ่านทดลองงาน
  • พนักงานที่มีอายุงานมาก
  • พนักงานที่มีอายุงานน้อย

กรณีที่พนักงานมีจำนวนเกินกว่าภาระงาน ดังกล่าวมาข้างต้น ผู้เขียนได้เขียนในส่วนที่ได้เคยมีประสบการณ์ตรง กรณีที่บริษัทประสบปัญหาในช่วงเกิดวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้ง  ในปี พ.ศ.2539-2540  เป็นกรณีตัวอย่างได้ดีที่สุด ที่ทุกบริษัทประสบปัญหาทางด้านการเงิน และทางด้านเศรษฐกิจ  จึงได้นำกรณีดังกล่าวมามีส่วนในการเขียนกรณีคนเกินกว่าภาระงานด้วยเช่นกัน


  บทความ     
  628 views     Comments