ด้วยความเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาอยู่ตลอดเวลา  ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ  สังคม การเมือง และเทคโนโลยี  จึงทำให้ต้องการบุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญหลายๆด้าน  เข้ามาร่วมงานกับองค์กร  โดยภาพรวม กลางๆ ที่ผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างมาเป็นข้อสรุป เพราะว่า สไตล์ในการทำงานของผู้บริหารองค์กรแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน  บางคนชอบลูกน้องที่เข้าใจ และรู้สไตล์การทำงานของตนเอง  จึงจะเห็นหลายๆ บริษัท  พอมีการแต่งตั้งโยกย้าย ตำแหน่งกันแต่ละครั้ง  มักจะมีการเปลี่ยนผู้บริหารที่เป็น  ผู้บริหารของทาง HR  ไปด้วย   เพราะว่าจะได้ทำงานแบบรู้ใจกัน    แต่ในทางปฏิบัติตามมาตรฐานสากล มักจะไม่ค่อยได้ทำกัน  เพราะจะถือเป็นการเล่นพรรค  เล่นพวก  ซึ่งจะทำให้พนักงานภายในองค์กร มองภาพไม่ดีนั่นเอง

จากที่ผู้เขียนได้อยู่กับองค์กรมาหลายหลายบริษัท  และได้พบกับผู้บริหารระดับสูงขององค์กร  และพอจะสรุปรวบรวมข้อมูลมาเป็นภาพรวมของผู้บริหาร  โดยส่วนใหญ่  ที่มีความต้องการ HR  ในลักษณะใด เป็นพิเศษ  ซึ่งอย่างน้อย จะทำให้งานด้าน การบริหารบุคคลกร  ไม่มีปัญหา  เกิดการประท้วง นัดหยุดงาน  เป็นสิ่งที่จะทำให้ภาพลักษณ์ขององค์กรไม่ดี  ส่งผลต่อกระบวนการผลิต  การส่งมอบสินค้า  และความน่าเชื่อถือ ขององค์กร  ในฐานะ CEO  จึงอยากเห็นผู้บริหารทางด้าน HR  เป็นลักษณะใดดังต่อไปนี้

hr-%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b9%84%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88-ceo-%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b9%87%e0%b8%99-png

 

  1. ผู้ที่มี ความรู้ ทักษะ และความสามารถทางด้าน HR จากประสบการณ์ของผู้เขียน มักจะเห็นผู้บริหารองค์กรรุ่นใหม่ มีการแต่งตั้ง ผู้ที่มีประสบการณ์ ด้านการผลิต  มาดำรงตำแหน่ง ทางด้าน HR  เพราะ ผู้บริหารมองว่า มีความเข้าใจในงานด้าน กระบวนการผลิตของบริษัท  จะสามารถมองปัญหาด้านคน ด้านเชิงลึกกว่า ผู้ที่จบมาสายวิชาชีพ HR  ซึ่งนั่นหมายถึง  ผู้บริหารองค์กร  กำลังมองไปถึงปัญหากระบวนการผลิต การบริหารอัตรากำลัง  ความเข้าใจเรื่อง เครื่องจักร และเทคโนโลยีสมัยใหม่ของภายในโรงงาน   แต่ลืมไปว่า การบริหารบุคลากรสมัยใหม่  ที่อยู่กรอบวงด้านใน ที่ผู้บริหารทางด้าน HR  สะสมความเชี่ยวชาญมาหลายสิบปี  เพื่อเพาะบ่ม ความรู้ และประสบการณ์ ในการบริหารคน  โดยเริ่มตั้งแต่ การบริหารอัตรากำลัง  การสรรหาและคัดเลือก  การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร  การบริหารผลตอบแทน  การบริหารแรงงานสัมพันธ์  การประเมินผลงาน     จากหัวข้อที่ได้กล่าวมาข้างต้น  เชื่อได้ว่า ผู้ที่ไม่ได้จบทางด้าน HR  มา  จะยังไม่เข้าใจถึงข้อมูลที่แท้จริงของหัวข้อที่กล่าวมา  จึงอาจจะต้องใช้เวลา  ในระยะสั้นๆ  ก็จะสามารถแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่ง  แต่ในระยะยาว อาจจะเกิดปัญหาทางด้านความรู้ในส่วนนี้ได้

ในทางการบริหารสมัยใหม่  ได้มีแนวคิดการบริหารองค์กร ที่มีความชัดเจนขึ้น คือ  ผู้บริหารหน่วยงานผลิต  และหน่วยงานอื่น ภายในองค์กร  ให้มีโปรแกรมการเรียนรู้ เรื่อง การบริหารบุคคลากรในแต่ละหัวข้อ เพิ่มมากขึ้น  และผู้บริหารด้าน HR  ให้มีโปรแกรมการเรียนรู้ หน่วยงานต่างๆ ด้วยเช่นกัน  เพื่อไม่ให้เกิดการแบ่งแยกว่า ถ้าเป็น เรื่อง บุคลากร ต้องส่งไปให้ ฝ่าย HR  ดำเนินการ  ซึ่งจะทำให้ขาดการเรียนรู้  ด้านการบริหารบุคลากรไป  ส่วนผู้บริหาร HR  ต้องไปทำความเข้าใจด้าน เครื่องจักร  กระบวนการผลิต ในโรงงานเพิ่มมากขึ้น  เพื่อจะได้ทราบว่า การที่จะสรรหาและคัดเลือกบุคลากร จะได้ทราบว่า  ต้องเป็นมนุษย์พันธ์แบบใด จึงจะเหมาะกับ โรงงาน มาปฏิบัติงานได้จริง  ไม่ใช่อยู่แบบอาทิตย์เดียวแล้วลาออก  เมื่อมีกระบวนการเรียนรู้ของหน่วยงานมากขึ้นเช่นนี้  เรื่อง การลงโทษพนักงาน  ต้องเป็นหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน  ในการที่จะเรียกพนักงานในสังกัดของตนเอง  ขึ้นมาดำเนินการลงโทษ  ซึ่งในทางปฏิบัติก็ต้องหารือกับ HR  ด้วยจะได้ไม่มีการลงโทษ  ที่มีความหนัก เบาแตกต่างกัน ของแต่ละหน่วยงาน

สำหรับฝ่าย HR  ก็จะมีเวลาในการเดิน สำรวจใน Line การผลิต เพิ่มมากขึ้น  สิ่งที่ได้ตามมาจากที่  ผู้บริหารหน่วยงาน HR  ได้เข้าไปในโรงงาน  จะได้มองเห็นสภาพ ความเป็นอยู่ของพนักงานเพิ่มมกขึ้น  จะได้นำมาเป็นข้อมูล ในการปรับปรุงสวัสดิการให้กับพนักงาน  ไม่ว่าจะเป็น  ความร้อน  ตู้น้ำดื่ม   ห้องน้ำ  สภาพโรงงานที่ไม่มีความปลอดภัย  ซึ่งสมัยก่อน  ต้องรอให้หน่วยงานแจ้งมาทาง HR  เพื่อดำเนินการ  ตามที่หน่วยงานต้นสังกัด ร้องขอมา  ถ้าหน่วยงานใดที่มีความใส่ใจ  ก็จะมีอุปกรณ์ ให้กับพนักงานได้ใช้อย่างเพียงพอ  แต่ถ้าหน่วยงานใดที่ไม่มีเวลาดูแลพนักงานของตนเอง  ก็จะทิ้ง ลืมไป  เหมือนไม่ใช่อยู่โรงงานเดียวกัน  ก็จะทำให้เกิดปัญหาความเลื่อมล้ำ ของการจัดสวัดิการความเป็นอยู่ของพนักงานได้

กล่าวโดยสรุปในภาพรวมแล้ว   CEO  ก็ยังต้องการ ผู้บริหาร HR  ที่มีความรู้ ทักษะ ด้าน HR  มาอย่างดี  ต้องการผู้เชี่ยวชาญที่มองถึงงานบริหารบุคคลกรได้ ถูกต้อง แม่นยำ มากกว่า  และส่วนที่จะต้องเติมเต็มในหัวข้ออื่น  จะขอกล่าวในหัวข้อถัดไป

  1. ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ เชิงธุรกิจ ผู้บริหารทางด้าน HR  ที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิชาชีพบุคคล  ต้องมีความเข้าใจ ในกระบวนการเชิงธุรกิจ  เช่น  คู่แข่งขัน   ลูกค้าของบริษัท  และผลิตภัณฑ์ของบริษัท       การมีความรอบรู้ด้านธุรกิจ ต้องสามารถทราบได้ว่า วัตถุดิบของบริษัทมาจากแหล่งใด  คู่แข่งของบริษัทมีกี่ราย และตัวบริษัทอยู่ในอันดับที่เท่าไรของธุรกิจ  ลูกค้าของบริษัท เป็นกลุ่มใด  การวิเคราะห์เชิงธุรกิจได้  ก็จะสามารถตอบโจทย์ขององค์กรในเชิงลึกได้  เช่น  เมื่อเราทราบว่าบริษัทของเราอยู่ในอันดับที่ 3  ของธุรกิจนี้  การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ ในด้านการบริหารบุคลากร ด้าน จุดแข็ง  จุดอ่อน โอกาส  และอุปสรรค  ว่าสิ่งที่เราขาดอยู่ คือ ด้านใด จะต้องพัฒนาจุดใดก่อน   ถ้าเราทราบข้อมูลของคู่แข่งขันด้วย  ก็จะนำมาเป็นข้อมูลเปรียบเทียบ ด้วยว่า สิ่งที่เรายังไปไม่ถึงคือ ด้านใด จะต้องเตรียมงบประมาณด้าน การพัฒนาเรื่องนี้ไว้ประมาณเท่าไร ใช้เวลาสักกี่ปี  เป็นต้น
  2. ผู้ที่มีทักษะ และมีความรู้ ทักษะด้านเทคโนโลยี องค์กรสมัยใหม่ สิ่งที่ต้องพัฒนา และมีทักษะ คือ  ภาษา  เทคโนโลยี  เพราะว่าการสื่อสารข้อมูล นอกจากใช้ภาษากลางแล้ว  ยังต้องรู้ช่องทางในการสื่อสารด้วยว่า  จะต้องสื่อสารทางใดจึงจะง่ายและสะดวก มีค่าใช้จ่ายน้อยลง  เช่น  การสรรหาและคัดเลือกสมัยใหม่  เมื่อสมัยก่อน  เราใช้จดหมายส่งไปยังผู้สมัครงาน  เพื่อติดตามตัวเข้ามาทำการสัมภาษณ์งาน  แต่พอมายุคปัจจุบัน  ระบบการติดต่อสื่อสารมีหลายช่องทางให้เลือกใช้  ไม่ว่าจะเป็นทาง อินเตอร์เนท   Line  Facebook  ก็สามารถติดต่อผู้สมัครได้  ซึ่งทำให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน   ซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับบริษัทอีกด้วย  ยกตัวอย่าง  ถ้าผู้ที่ปฏิบัติงานด้าน HR  ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่เลย  กรณีที่จะประกาศรับสมัคร ก็จะใช้ สื่อทางหนังสือพิมพ์ เพื่อประกาศรับสมัคร ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง ราคาเกือบแสนบาท  หาผู้สมัครได้ไม่กี่ราย  ก็หมดอายุในการประกาศแล้ว

นอกจากความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน ในการติดต่อกลุ่มลูกค้าของหน่วยงานแล้ว  ยังมีการติดต่อประสานงานกับเจ้านาย  ซึ่งต้องมีการติดต่ออยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเวลาหลังเลิกงานก็ตาม  มีตัวอย่างของบางองค์กร  ที่เจ้านายมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี  จะทดสอบลูกน้องแต่ละคนว่า  ลูกน้องคนใดที่ มีการตอบสนองกลับได้กี่คน  โดยการส่งข้อมูลมาทาง mail  ช่วงหลังเลิกงาน ในช่วงเช้าของวันรุ่งขึ้น  ของการประชุม เจ้านายจะบอกว่า เมื่อคืนผมส่งข้อมูลให้พวกคุณ  ไม่ทราบว่า ใครได้ข้อมูลของผมบ้าง  ซึ่งปรากฏว่า  เกือบครึ่งของผู้บริหารที่ไม่ได้รับ mail  เพราะว่า mail ที่เจ้านายส่งมาให้ เด้งกลับหมด  เพราะข้อมูล ใน Inbox เต็มก่อนหน้านี้แล้ว

ผู้บริหารด้าน HR  นอกจากจะมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารประสานงาน  และอีกสิ่งหนึ่ง คือ ใช้ในการประชุมแต่งตั้ง/โยกย้าย  พนักงาน  ถ้ามีการนำข้อมูลที่ได้จากการประชุม ไปให้ลูกน้องหรือเลขานุการ  เป็นผู้พิมพ์หนังสือ หรือเข้ามาจดบันทึกในการประชุม ก็จะทำให้ ความลับที่เกิดจากการประชุมรั่วไหล  ออกไปได้

  1. ผู้มีความรอบรู้ ทางด้านเศรษฐกิจในปัจจุบัน ผู้บริหารด้าน HR  นอกจากทราบทั้งสามข้อข้างต้นแล้ว  สิ่งสำคัญที่ไม่แพ้กันเลยก็คือ ความเข้าใจของสภาพเศรษฐกิจ  จะต้องเป็นผู้ที่วิเคราะห์ เชิงเศรษฐกิจได้ ว่าในอนาคต ควรจะต้องเริ่มเรื่องใดก่อน และปัจจุบันจะเตรียมประเด็นเรื่องใด เป็นเรื่องเร่งด่วน   เช่น วิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านมา ไม่ว่าจะ เป็นต้มยำกุ้ง  แฮมเบอร์เกอร์  ผู้บริหาร HR  ไม่มีการติดตามข้อมูล  ไปทวนกระแสโลก  เน้นนโยบาย การเพิ่มคน  โดยการรับคนให้กับทุกหน่วยงานที่ยังขาดอยู่  ให้เต็มทุกหน่วยงาน เพื่อให้ได้ตาม Model  ที่หน่วยงานขออนุมัติไว้ ตั้งแต่ต้นปี  ถ้าเป็นลักษณะนี้   ก็จะทำให้เกิดปัญหา ด้านต้นทุนที่เกิดขึ้น  ทั้งๆ ที่บริษัทไม่มียอดขาย กำลังซื้อไม่มี  สิ่งที่ตามมาก็คือ  บริษัทประสบภาวะขาดทุน     ฉะนั้นผู้บริหาร HR จะต้องสามารถวิเคราะห์ในเชิง

เศรษฐกิจของโลก  และนำข้อมูลไปหารือกับผู้บริหารองค์กร  เพื่อกำหนดแนวทางแก้ปัญหาเรื่อง การบริหารบุคคลกรในอนาคตได้

  1. ผู้ที่มีความรอบรู้ ด้านกฎหมายแรงงาน กฏหมายอาญา กฏหมายแพ่ง และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ หัวข้อนี้  ถือเป็นจุดแข็ง  ของผู้บริหาร HR  ที่จะต้องมีความรอบรู้ และนำไปเป็นข้อมูลในการดำเนินธุรกิจได้  ซึ่งในส่วนนี้   การรอบรู้ไม่จำเป็นต้องรู้ เหมือนนักกฎหมายหรือทนาย  เพียงแต่ต้องมีความเข้าใจ  ว่าในส่วนไหนของการดำเนินธุรกิจ ต้องมีการส่งสัญญาณให้เจ้านายได้รับทราบก่อนว่า  ประเด็นนี้อาจจะต้องขอศึกษาข้อมูล เพิ่มเติมในรายละเอียด  เพื่อนำมาหารืออีกครั้งก็ได้
  2. ผู้ที่มี ความรู้เรื่อง อัตรากำลังแรงงาน ในปัจจุบันการดำเนินธุรกิจ ต้องอาศัย แรงงานส่วนหนึ่ง เข้ามาเป็นอัตรากำลังในโรงงาน  แต่ปัจจุบันมักประสบปัญหาอัตรากำลังที่ขาดแคลน  ฉะนั้น ความรอบรู้เรื่องนี้  นอกจากทราบจากการวิเคราะห์ อัตรากำลังแรงงานของแต่ละจังหวัดแล้ว  ยังต้องอาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัวของผู้บริหาร HR  ที่จะต้องเข้าไปในชุมชน  เพื่อให้ได้มาซึ่งแรงงานที่ว่างจริงๆ ในชุมชนดังกล่าว
  3. ผู้ที่มี ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กร องค์กรสมัยใหม่ ได้วิเคราะห์ในเรื่องนี้ เป็นอันดับแรก  และเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรต้องมีความเข้าใจเสียก่อนว่า ถ้าเป็นองค์กรที่เกิดขึ้นมานานๆ  วัฒนธรรมองค์กรที่เป็นจุดแข็ง และไปสนับสนุน วิสัยทัศน์  พันธกิจ  ขององค์กรให้ประสบความสำเร็จ นั้นมี อะไรบ้าง  เมื่อวิเคราะห์ได้สิ่งที่เป็นวัฒนธรรมองค์กรแล้ว  ผู้บริหาร HR  จะได้นำมากำหนดเป็น DNA ของบริษัท เพื่อจะได้สรรหาและคัดเลือกคนตาม DNA  ที่กำหนดไว้  สำหรับพนักงานเก่าที่  ยังมี gap ยังทำไม่ได้ตามที่ DNA  กำหนดก็ต้องเข้าสู่โปรแกรม  การพัฒนา ขององค์กรต่อไป
  4. เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน มีการแข่งขันสูง จึงจำเป็นต้องมี ผู้นำในการบริหารคน  ที่พร้อมยอมรับในการเปลี่ยนแปลงได้  สร้างสรรค์สิ่งใหม่  เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินการได้อย่างมีระบบ และแข่งขันกับเวทีระดับโลกได้  สิ่งที่ ผู้บริหารสูงสุด  อยากเห็นผู้บริหารทางด้าน HR  เป็นผู้นำทีม ในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ   ในการปฏิบัติงาน พร้อมยอมรับในการเปลี่ยนแปลง  ที่เป็นแนวคิดและเครื่องมือใหม่ๆ  ในการบริหารองค์กร  นอกจากเปลี่ยนแปลงตัวเองแล้ว ยังต้องนำทีมงาน  พนักงานทั้งองค์กร เข้าสู่การเปลี่ยนแปลง  เพื่อความสำเร็จ ความท้าทาย  ในสิ่งใหม่  ด้วยเครื่องมือแบบใหม่  วิธีการทำงานใหม่ และพฤติกรรมพนักงานที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นจุดศูนย์กลาง

        จากที่ผู้เขียนได้สรุปข้อมูลไว้ว่า สิ่งที่ CEO อยากเห็น ผู้บริหารทางด้าน HR  จะต้องมีคุณลักษณะแบบใด  ซึ่งได้อธิบายมาเป็นข้อๆ  โดยพอสังเขป  ว่าสิ่งที่อยากได้นั้น จะมีส่วนไปเสริมให้องค์กรมีศักยภาพเพิ่มในส่วนใด  ซึ่งผู้เขียนได้ยกตัวอย่างมาเป็นข้อๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ  เมื่อผู้อ่านได้ศึกษาหัวข้อที่ได้สรุปขึ้นมา  จะได้เป็นแนวทางในการพัฒนาตัวเอง ให้ไปสู่จุดหมายได้เร็วขึ้น  แต่ในทางปฏิบัติจริงแล้ว  ผู้ที่ดำรงตำแหน่ง เป็นผู้บริหารด้าน HR  ก็คงไม่มีคุณสมบัติ พร้อมทุกหัวข้อที่ได้กล่าวมา  เพียงแต่จะต้องมีคุณสมบัติ ในส่วนที่เป็นหัวสำคัญในการปฏิบัติงาน  ในธุรกิจนั้นๆ และในหัวข้ออื่นๆ ควรจะต้องมีแนวทางในการศึกษา หาความรู้เพิ่มเติม ในแต่ละหัวข้อเพิ่มขึ้น  เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง  อย่างมีความพร้อมนั่นเอง

     

      จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ผู้บริหาร HR  จะต้องมีความเข้าใจในเนื้องานของตัวเองเสียก่อนว่า ในแต่ละส่วนงานนั้น มีวิธีปฏิบัติอย่างไร แก้ปัญหาอย่างไร คือ จะเป็นแผนภาพ ที่อยู่ในส่วนด้านใน  ถ้าในส่วนงานของตัวเอง  มีความเชี่ยวชาญดีแล้ว  สิ่งที่ต้องเรียนรู้ ควบคู่ไปด้วย คือ วงรอบนอกคือ เรื่อง ของสภาพเศรษฐกิจ  ธุรกิจ  สังคม  การแข่งขัน  ซึ่งในฐานะ HR จะต้องทำความเข้าใจ  ประกอบไปด้วย  เพราะในโลกของการแข่งขัน  ผู้บริหารจำเป็น  ที่จะต้องทราบข้อมูล  ไว้วางแผนเชิงกลยุทธ์  ในอนาคต   การบริหารคนจะใช้เวลาเพียงแค่ 1-2 ปี  ไม่ได้  จึงต้องใช้เวลา  ในการเรียนรู้ เสริมสร้างทักษะ  ฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ  จะทำให้เกิด การเติบโต  ที่มั่นคงถาวรได้

          สำหรับบทบาทของ HR ที่จะต้องทำงานร่วมกับ CEO ซึ่ง  เป็นผู้บริหารองค์กรสูงสุดสิ่งที่เป็นหน้าที่ขององค์กรนั้น   ก็ย่อมไม่พ้นที่จะต้องมีข้อมูลของ ทางด้าน HR เข้ามามีส่วนร่วม ในการเสนอแนวคิด และหลักเกณฑ์  ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้กับผู้บริหาร  โดยบทบาทของ HR จำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลในส่วนอื่นๆ  เช่น ข้อมูลคู่แข่งในธุรกิจเดียวกัน ที่จะต้องนำมาเป็นข้อมูล เพื่อที่จะให้ผู้บริหารองค์กรได้พิจารณาตัดสินใจ เลือกแนวทางที่ถูกต้องด้วยเช่นกัน