เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า แนวโน้มของการทำงานของในภาครัฐและภาคเอกชนของทุกหน่วยงานย่อมเกิดภาวะที่เจอกับมรสุมที่เป็นปัจจัยภายนอกมากระทบ เช่น การประสบปัญหาภาวะน้ำมันแพง ปัญหาของภัยธรรมชาติ และปัจจัยทางด้านการเมืองที่ผลกระทบต่อประชาชนคนไทย ซึ่งส่งผลให้มากระทบถึง การเมืองภายในบริษัทด้วยเช่นกัน ผลกระทบดังกล่าวย่อมส่งผลให้ เกิดความเครียดในการทำงานได้เช่นกัน ปัจจัยที่พุ่งเป้ามาที่ผู้บริหารเป็นอันดับแรกว่าจะนำพาองค์การให้มีความอยู่รอดอย่างไร จากปัญหาสภาวะน้ำมันแพง คำตอบคงไม่พ้น 2 วิธี คือ การเพิ่มยอดขายให้มากขึ้น กับการลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆลง เพื่อให้องค์การมีความอยู่รอดได้
ในฉบับที่แล้วผู้เขียนได้อธิบายถึง การบริหารคนให้มีความสอดคล้องกับยุคเศรษฐกิจในสภาวะปัจจุบัน ซึ่งองค์การบางแห่งได้ผ่านยุคต่างๆ มาโดยเริ่มตั้งแต่ ยุคเกษตรกรรม ยุคอุตสาหกรรม ยุคสารสนเทศ และยุคการจัดการความรู้ จนกระทั่งมาในขณะนี้เราก้าวเข้าสู่ยุคหลังการจัดการความรู้ ในฐานะผู้บริหารระดับสูงควรจะมีบทบาทในการบริหารองค์การให้มีความสอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เมื่อเราเข้าสู่ยุคหลังการจัดการความรู้ นั้นเราเตรียมพร้อมเข้าสู่ สังคมการดูแล เอาใจใส่ การมีส่วนร่วมช่วยเหลือ และช่วยคิดช่วยทำ ซึ่งกันและกัน เพื่อนำพาสังคมไปสู่การพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม ผู้เขียนจะขออธิบายการวางกลยุทธ์ขององค์การให้มีความสอดคล้องกับสังคมยุคหลังการจัดการความรู้ โดยก่อนวางแผนกลยุทธ์องค์การต้องคำนึงถึงปัจจัยทั้ง 4 ด้านหลักดังต่อไปนี้