จากสภาพแวดล้อมขององค์กรและพฤติกรรมของผู้สมัครที่เปลี่ยนแปลงไป  การปรับเปลี่ยนระบบงานภายในองค์กร  ก็ต้องถึงว่าที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้ทันสมัย  ต่อผู้สมัครที่กำลังจะเข้ามาสู่องค์กร  โดยเฉพาะกระบวนการดึงดูดตั้งแต่เริ่มแรกจะดลใจคนรุ่นใหม่อย่างไร และต้องศึกษาพฤติกรรมข้อมูลผู้สมัครที่เป็นคนรุ่นใหม่ เป็นกรณีพิเศษอีกด้วย  จากข้อมูลอ้างถึงบทที่ผ่านมาที่ได้อ้างถึงพฤติกรรมของคน Generation ME ที่มีบุคคลิกภาพที่หลงตัวเองด้วยแล้ว  จำเป็นต้องสร้างสิ่งที่เป็นที่ชื่นชอบของคนกลุ่มนี้

  1. เน้นแพคเกจ ค่าจ้างและสวัสดิการให้จูงใจ โดยเฉพาะผู้สมัครกลุ่มนี้ต้องการความสำเร็จเร็ว เมื่อเปรียบเทียบค่าจ้างและงานที่เขาต้องทำแล้ว  สามารถเป็นที่ยอมรับในสากลทั่วไป ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ  ฉะนั้นแพคเกจค่าจ้าง  นายจ้างจะออกแบบให้มีอัตราค่าจ้างที่สูงกว่ามาตรฐานโดยทั่วไป แต่สวัสดิการชนิดอื่นให้น้อยลง  เพราะว่าผู้สมัครกลุ่มนี้ มองถึงตัวรายได้มากกว่าสวัสดิการที่เขาได้รับ
  2. การออกแคมเปญสรรหา มุ่งเน้นการทำศัยกรรมสำหรับคุนรุ่นใหม่ โดยมีสโลแกนที่ว่า ทำบุญได้ชาติหน้า แต่ทำหน้าได้ชาตินี้ บางองค์กรประกาศให้ผู้สมัครได้รับทราบข้อมูลอย่างเปิดเผย  เพื่อเป็นการการันตีว่า  ถ้าผู้สมัครกลุ่มนี้มาร่วมงาน ถ้าผ่านทดลองงานแล้ว  สามารถใช้สิทธิสวัสดิการของพนักงานได้อยู่ในงบประมาณค่าใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลจำนวน 20000 บาท/ปี  จากที่มีองค์กรได้ออกแคมเปญลักษณะนี้ออกไป ปรากฎว่ามีเสียงตอบรับจากผู้สมัครที่เป็นคนรุ่นใหม่เป็นอย่างมาก  เพราะว่าจากการสำรวจพฤติกรรมของคนกลุ่มนี้แล้ว  มักจะรักสวยรักงาม อยากให้ตัวเองเด่นกว่าคนอื่น การลงทุนในส่วนนี้สามารถทุ่มได้เสมอ  ถ้ามีองค์กรใดที่เข้าใจในส่วนนี้  ก็สามารถที่จะสร้างความประทับใจให้ผู้สมัครกลุ่มนี้ได้ไม่น้อยเลยทีเดียว  ก็จะเป็นแคมเปญจุดหนึ่งที่สามารถสร้างแรงดึงดูดให้ผู้สมัครได้รู้จักองค์กรและอยากร่วมงานด้วย   ซึ่งในช่วงแรกผู้สมัครอยากเข้ามาร่วมงานในช่วงแรก เพราะอยากได้สิ่งที่เขาต้องการ  แต่เมื่อผู้สมัครเข้าร่วมงานภายในองค์กรแล้ว สิ่งที่องค์กรต้องดำเนินการต่อไปจากนี้  คือจะทำอย่างไรให้เขาอยากร่วมงานต่อไปกับองค์กร
  3. การจัดกิจกรรม outing ให้แมทกับคุนรุ่นใหม่   สำหรับกิจกรรมที่ผู้บริหารองค์กร  ต้องทำความเข้าใจกับพฤติกรรมคนรุ่นใหม่   ที่อาจจะไม่เหมือนคนรุ่นเก่าๆ  เช่นการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง  หน่วยงาน HR ต้องมีการทำการบ้านเพิ่มเติม ขึ้นอีกหน่อย โดยการออกแบบสอบถามไปยังพนักงานแต่ละกลุ่มงาน  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริงของพนักงาน ว่าแต่ละกลุ่มอยากให้องค์กรไปจัดกิจกรรมแบบใด ลักษณะใด  แล้วค่อยมาสรุปข้อมูลการออกไปทำกิจกรรมเพื่อที่จะได้แมทกับคนรุ่นใหม่  จากข้อมูลที่บางองค์กรได้เคยสอบถามภายในองค์กรแล้ว  สิ่งที่คนรุ่นใหม่อยากให้ทำกิจกรรมก็คือ  การออกไปทำกิจกรรมช่วยเหลือโรงเรียนที่อยู่ในแหล่งห่างไกลชุมชน  การช่วยเหลือผู้ด้วยโอกาส/การช่วยเหลือสัตว์ เช่นกิจกรรมการปลูกป่า   การอนุรักษ์เต่า  เป็นต้น
  4. การปรับปรุงองค์กรมาใช้เทคโนโลยีด้าน IT ให้มากขึ้น จากการปรับเปลี่ยนผ่านมาแต่ละยุคสมัย  สิ่งที่คนรุ่นใหม่ชอบและขาดเสียไม่ได้คือ  wifi  ยิ่งองค์กรใดที่สนับสนุนให้มีการการใช้งานผ่านทางอินเตอร์เนท  ก็จะยิ่งทำให้ถูกใจกับบุคคลากรกลุ่มนี้ เป็นอย่างมาก  ถ้าองค์กรใดห้ามพนักงานเล่นมือถือในขณะปฏิบัติหน้าที่  ก็จะเป็นการสร้างความไม่พอใจให้กับบุคคลากรกลุ่มนี้  และจะส่งผลให้การเข้ามาร่วมงานของผู้สมัครที่เป็นคนรุ่นใหม่เริ่มมีอัตราที่น้อยลง
  5. การปรับเพิ่มวันหยุดให้มากขึ้น จากข้อมูลที่ได้รับจากผู้สมัคร  ที่เป็นคนรุ่นใหม่  ส่วนใหญ่อยากร่วมงานกับองค์กรที่มีวันหยุดมากๆ  เพื่อจะได้มีเวลาได้ไปทำงานอย่างอื่นเพิ่มเติมขึ้น เพราะพฤติกรรมของคนกลุ่มนี้  มักจะทำงานได้หลาย ๆอย่างในช่วงเวลาเดียวกัน  จึงเป็นที่มาของบางองค์กร  ออกแบบวันหยุดประจำสัปดาห์ให้มีจำนวนวันเพิ่มมากขึ้น ทำงานอาทิตย์ละ 3-4 วัน จำนวนค่าจ้างก็ลดไปตามสัดส่วน เมื่อองค์กรมีการปรับยืดหยุ่นให้ลักษณะเช่นนี้  ก็ถือว่าเป็นการ win-win ทั้งคู่  เพราะพนักงานรุ่นใหม่  ก็ไม่อยากปฏิบัติงานอะไรที่จำเจ ตลอดเวลา ในวันหยุดพนักงานสามารถไปรับงานอื่นที่ไม่ขัดต่อองค์กร  ที่ปฏิบัติงานอยู่  ก็ถือว่าพนักงานสามารถยอมรับได้
  6. การปรับปรุงระบบการจ้างงานแบบหลากหลาย สืบเนื่องมาจากการปรับเปลี่ยนเงื่อนไข ขององค์กร  หน่วยงาน HR ควรจะต้องศึกษาข้อมูลกระบวนการ  การจัดทำสัญญาจ้างงานให้เป็นไปตามข้อบังคับของบริษัท  โดยเปิดกว้างช่องทางการจ้างงานที่เพิ่มมากขึ้น  เช่น การจ้างงานแบบเป็นที่ปรึกษาหรือฟรีแลนซ์  การจ้างแบบชั่วคราว  เป็นต้น  โดยเน้นการปฏิบัติงานที่บ้าน  ไม่กำหนดวันเวลาปฏิบัติงาน แต่กำหนดความชัดเจนการส่งมอบงานทุกวัน เวลา ตามที่ได้ตกลงกันไว้ ตามสัญญา
  7. การปรับระบบการสัมภาษณ์ให้เน้นการแสดงออกของผู้สมัครมากขึ้น   จากการที่ผู้สมัครอยากแสดงออกทางความคิดมากขึ้น  ผู้บริหารองค์กร  อาจจะใช้สิ่งเหล่านี้ โดยการสร้างข้อมูลที่องค์กรอยากได้  ให้ผู้สมัครได้ดำเนินการนำเสนอในสิ่งที่องค์กรต้องการแทนการสัมภาษณ์แบบเดิม   ที่คณะกรรมสัมภาษณ์  ต้องมานั่งสัมภาษณ์เป็นรายคน โดยการซักถามคำถามและให้ผู้สมัครตอบตามสคริปที่เตรียมไว้    ก็จะทำให้ดูเหมือนถูกบังคับ  ไม่สามารถแสดงออกในส่วนที่ผู้สมัครมีความสามารถออกมาได้ทั้งหมด  ซึ่งทั้งนี้ผู้บริหารองค์กรต้องสร้างเครื่องมือกรอบแนวคิด วัตถุประสงค์ในสิ่งที่องค์กรต้องการให้ครบทุกหัวข้อเสียก่อน แล้วส่งให้ผู้สมัครได้ทำความเข้าใจ  เพื่อเตรียมพร้อมในการนำเสนอ แทนการสัมภาษณ์งานแบบเดิม

          ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นแนวทางการสรรหาคัดเลือก สำหรับคนรุ่นใหม่  เพื่อเตรียมความพร้อมองค์กรให้มีการปรับเปลี่ยนจากการปฏิบัติงานแบบเดิมๆ ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมกับคนรุ่นใหม่มากขึ้น  ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการสรรหาเชิงรุก ทำให้ได้ผู้สมัครมาร่วมงานกับองค์กรได้มากขึ้น  มีตัวเลือกเพิ่มขึ้น  ก็จะทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นไปด้วยนั่นเอง

 

ที่มาข้อมูล : ดร.กฤติน  กุลเพ็ง   การสรรหาและคัดเลือกพนักงานเข้าสู่องค์กร  2564


  บทความ     
  821 views     Comments