บางครั้งหัวหน้างานต้องมีความรอบรู้เรื่องการบริหารคนไว้บ้าง เพื่อจะได้เป็นข้อมูลในการพิจารณาพฤติกรรมของพนักงานภายในหน่วยงานของตัวเองว่า  มีแนวความคิดต่อองค์กรอย่างไรบ้าง    ซึ่งบ้างครั้งพนักงานพูดเรื่องการลาออกบ่อยๆ แต่ไม่ยอมเขียนสักที  นี่ก็เป็นการส่งสัญญาณอะไร  ให้หัวหน้าทราบ เพื่อให้หัวหน้าได้รับทราบข้อมูลและเข้าไปจัดการปัญหาภายในองค์กรให้

สำหรับผู้เขียนก็อยากยกตัวอย่างให้เห็นมีเป็นแนวทางไว้ว่า  พนักงานที่เขียนใบลาออกมักมีเหตุผลอะไรบ้าง  ในการตัดสินใจลาออกจากองค์กรไป

  1. เบื่อหัวหน้างาน โดยส่วนใหญ่เหตุผลที่เป็นประเด็นแรกๆ เลยคือ  ลูกน้องทนพฤติกรรมของหัวหน้าไม่ได้ที่ไม่มีความยุติธรรม  ไม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกน้อง เอาแต่พวกพ้องตัวเอง ลูกน้องคนที่คอยจ้องจับผิดคนอื่นแล้วส่งข้อมูลให้กับหัวหน้า มักจะได้ดี เมื่อช่วงประเมินปลายปี  ทั้งๆที่ผลการปฏิบัติงานเมื่อเทียบกับพนักงานคนอื่นๆ แล้วยังห่างชั้นกันมาก แต่ได้คะแนนช่วยจากหัวหน้าที่คอยส่งข้อมูลให้แต่ละวัน  ส่วนใหญ่พนักงานจะติดสินใจลากออกจากองค์กร  เมื่อมีการพิจารณาการขึ้นเงินเดือนและจ่ายโบนัสประจำปีเรียบร้อยแล้ว   ซึ่งจะสังเกตง่ายๆ  ถ้าองค์กรรวบรวมสถิติการลาออกของพนักงาน  จะมีสถิติเพิ่มสูงขึ้น เมื่อมีการพิจารณาทั้งสองเหตุผล ที่กล่าวมาแล้วนั้น
  2. เบื่อลักษณะงานที่จำเจ โดยเฉพาะพนักงานที่เพิ่งจบจากรั้วมหาวิทยาลัยออกมา ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่  ลักษณะงานที่มีการปฏิบัติงานอยู่เป็นประจำ  โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงระบบงานหรือปรับกระบวนการเลย  ถึงแม้ว่าเวลาจะผ่านไปหลายปีแล้ว  การปฏิบัติงานก็ยังทำอยู่เหมือนเดิม  พนักงานที่เข้ามาใหม่มีการเสนอให้มีการปรับปรุงกระบวนการทำงานใหม่  ก็ถูกต่อว่าจากหัวหน้างานที่เป็นผู้กำหนดระบบงานดังกล่าวอยู่  ถ้าหัวหน้างานกลับมาพิจารณาเหตุผลและข้อมูลที่ลูกน้องนำเสนอเสียใหม่  ก็จะทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกที่ดีในการปฏิบัติงาน  และยังทำให้พนักงานมีกำลังใจในการปฏิบัติงานให้เกิดความสำเร็จได้  เพราะว่าสิ่งที่เขาได้มีแนวคิดและนำเสนอหัวหน้า  ถูกยอมรับและตัวเขาเองเป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติงานส่วนนี้ด้วย  ซึ่งโดยส่วนใหญ่หัวหน้างานมักจะมองว่า  สิ่งที่พนักงานใหม่นำเสนอมานั้น  เป็นสิ่งไร้เหตุผล เพราะตัวลูกน้องยังไม่มีประสบการณ์ในการทำงานเลย  จะมารู้ดีกว่าตัวเขาได้อย่างไร จึงทำให้เกิดปัญหาว่า   ถ้าเป็นเช่นนั้น  หัวหน้าก็สั่งมาก็แล้วกันครับ  เมื่อเริ่มปฏิบัติงาน ลูกน้องก็จะไม่ยอมลงมือปฏิบัติงานก่อนแต่อย่างไร  รอรับคำสั่งจากหัวหน้าก่อน  เพราะกลัวถูกต่อว่าจากหัวหน้า  ถ้าองค์กรใดเป็นเช่นนี้  ก็จะทำให้งานทุกอย่างมากองไว้ที่หัวหน้าคนเดียว  พองานมีปัญหาก็จะโทรหาหัวหน้า เพื่อให้ตัดสินใจ  ถ้าลักษณะงานเป็นแบบนี้  เชื่อได้ว่า  พนักงานที่เป็นคนเก่ง  ก็จะไม่อยากอยู่กับองค์กรที่เป็นลักษณะนี้
  3. อยากได้เงินเดือนและสวัสดิการเพิ่ม เมื่อพนักงานปฏิบัติงานไปสักระยะหนึ่ง เริ่มมองเห็นลู่ทาง  ซึ่งอาจจะเกิดจากเพื่อนๆ  ที่ปฏิบัติงานอยู่กับบริษัทข้างเคียง  ที่เล่าให้ฟังว่า  บริษัทของเขามีการพิจารณาขึ้นเงินเดือนและมีการปรับสวัสดิการเพิ่ม  ก็เลยทำให้อยากจะเปลี่ยนงาน  ซึ่งโดยส่วนใหญ่แนวคิดลักษณะนี้  มักจะเกิดขึ้นแทบทุกองค์กร  เพราะพนักงานคิดแบบช่องทางเดียวคือ รายได้เพิ่ม  แต่เมื่อเข้าไปปฏิบัติงานแล้วนั้น  จะต้องไปพบเจอ เรื่อง ระบบงาน  เพื่อนร่วมงาน  หัวหน้างาน และสวัสดิการบางอย่างอาจจะไม่ดีเท่าเก่าบริษัทเดิมก็ได้  ซึ่งประเด็นการลาออกเพราะสาเหตุนี้  หัวหน้างาน  จะต้องมีข้อมูลบริษัทข้างเคียงเอาไว้  เพื่อเป็นข้อมูลคุยกับพนักงาน เมื่อพนักงานมายื่นใบลาออก  จะได้เป็นข้อมูลให้เขาตัดสินใจ

       ระบบงานขององค์กร    พนักงานที่ออกจากองค์กร  อีกเหตุผลหนึ่งคือ  ระบบงานภายในองค์กรที่ยังมีความล้าหลัง  เช่น เครื่องมือในการปฏิบัติงานยังไม่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่  ทำให้เกิดความล่าช้าในการปฏิบัติงาน  ยกตัวอย่าง เครื่องคอมพิวเตอร์ยังเป็น  windows ‘me  windows ‘ xp   ก็จะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกถึงความล้าหลังขององค์กรได้   นอกจากนั้นแล้ว ยังมีเทคโนโลยีที่เป็นเครื่องจักรที่อยู่ในโรงงาน โดยเฉพาะเครื่องจักรเก่าๆ  ที่ยังต้องใช้จำนวนคนมากๆ  ในการควบคุมเครื่องจักร ที่กล่าวมาในส่วนของระบบงาน มักเกิดขึ้นจากเครื่องมือในการช่วยการปฏิบัติงานของพนักงานนั่นเอง

 

ดร.กฤติน   กุลเพ็ง   กรรมการผู้จัดการ  บริษัท ไอโอดีคอนเซาท์ติ้ง แอนด์เทรนนิ่ง จำกัด

วิทยากรและที่ปรึกษา ให้กับภาครัฐและภาคเอกชน     ID line:  krittin6


  บทความ     
  1591 views     Comments