ในยุคปัจจุบัน ความต้องการแรงงานที่เป็นชาวต่างประเทศ ย่อมเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะว่าแรงงานไทยไม่ค่อนสนใจอาชีพหรือตำแหน่งงานที่มีมูลค่าทางสังคมต่ำ เช่น เด็กเสริฟ พนักงานต้อนรับลูกค้า และพนักงานทั่วไป ในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งอาจจะเป็นค่านิยมของเด็กไทยสมัยใหม่ที่ เริ่มมาใส่ใจด้านการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เมื่อจบระดับมัธยมปลาย ก็กู้เงินเพื่อทำการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท หลังจากจบการศึกษาก็ไม่อยากเป็นลูกจ้างใคร จดทะเบียนประกอบกิจการเป็นธุรกิจของตัวเอง จนทำให้แรงงานระดับล่างเริ่มขาดแคลน หรือพอมีบ้างในบางจังหวัดแต่ก็เลือกงานที่จะทำ มีการหมุนเวียนเปลี่ยนงานบ่อยครั้ง จนนายจ้าง ต้องเปลี่ยนใจหันมาจ้างงานแรงงานที่เป็นชาวต่างประเทศ เช่น พม่า ลาว เขมร และเวียดนาม มากขึ้น ฉะนั้นกระบวนการ ขั้นตอนของการที่จะมาเป็นพนักงานในบริษัทได้นั้น นักบริหารงานบุคคลหรือเจ้าของบริษัทต้องมีความเข้าใจ ในบทบาทและข้อกฎหมายของการรับแรงงานที่เป็นชาวต่างชาติ เข้ามาทำงานในองค์กร ต้องเตรียมการและมีความรู้อย่างไรบ้าง ผู้เขียนจึงขอเพิ่มเติมรายละเอียดของการรับแรงงานต่างชาติดังต่อไปนี้
การขอวีซ่า
คนต่างด้าวเมื่อจะเข้ามาปฏิบัติงานในประเทศไทย จะต้องถือวีซ่า(NON-B ) เข้ามา แต่ถ้าเป็นวีซ่าประเภทอื่น จะต้องทำการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา ซึ่งจะต้องมีอายุวีซ่าไม่น้อยกว่า 21 วัน
คนต่างด้าวก่อนจะเดินทางเข้ามาประเทศไทยต้องติดต่อสถานทูตไทยในประเทศที่ตนเองอาศัยอยู่ และทางบริษัทจะต้องจัดเตรียมจดหมายเพื่อขอให้สถานทูต ตรวจลงตราวีซ่า (NON-B ) ให้กับพนักงานต่างด้าว พร้อมหนังสือรับรองบริษัทที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องจากกรรมการบริษัทฯ โดยจัดส่งจดหมายให้พนักงาน ทาง Fed- Ed เพื่อนำไปยื่นเป็นหลักฐานติดต่อกับสถานฑูต
เมื่อได้รับการอนุญาตและเดินทางเข้ามาถึงประเทศไทย ทางบริษัทจะดำเนินการจัดเตรียมเอกสารเพื่อขอใบอนุญาตทำงานให้กับพนักงานต่างด้าว โดยติดต่อกระทรวงแรงงาน
การขออนุญาตทำงานครั้งแรก หรือเมื่อใบอนุญาตเดิมขาดต่ออายุ
คุณสมบัติของคนต่างด้าวที่จะขอใบอนุญาตทำงาน
- คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (NON-IMMIGRANT) โดยมิใช่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางผ่าน(TOURIST/TRANSIT) ซึ่งจะขออนุญาตทำงานครั้งแรก หรือเมื่อใบอนุญาตเดิมขาดต่ออายุจึงต้องขอใหม่
- มีความรู้ความสามารถในการทำงานตามที่ขออนุญาต
- ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฏอาการอันเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง โรคพิษสุราเรื้อรัง และโรคซิฟิลิสในระยะที่ 3
- ไม่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวภายระยะเวลา 1 ปี ก่อนวันขอรับใบอนุญาต
หมายเหตุ
บริษัทต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาทต่อคนต่างชาติหนึ่งคน ถ้ายื่น One Stop Service ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท และต้องเป็นตำแหน่ง ผู้จัดการ ผู้อำนวยการ หรือที่ปรึกษา ขึ้นไป
เอกสารประกอบการยื่นคำขอ
- แบบฟอร์ม ตท. 1
- รูปถ่าย 3 x 4 เซนติเมตร จำนวน 3 รูป ( ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน ที่ไม่ใช่รูปจากคอมพิวเตอร์/โพลาลอยด์)
- หนังสือรับรองการจ้าง (ตามแบบที่กำหนด)
- หนังสือรับรองบริษัท มีอายุไม่เกิน 6 เดือน พร้อมลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัท
- หนังสือมอบอำนาจชุดของบริษัทพร้อมสำเนาบัตรประชาชน
- หนังสือมอบอำนาจจากพนักงานต่างด้าวให้เจ้าหน้าที่บริษัทเพื่อดำเนินการแทน
- แบบ ภพ. 01
- สำเนาแบบ ส.พ. 7 ใบอนุญาตบริษัท
- สำนาประกันสังคม เดือนล่าสุด
- หนังสือรับรองวุฒิการศึกษา หรือสำเนาหลักฐานการศึกษาและหลักฐานการผ่านงาน (กรณีที่ไม่สามารถนำมาแสดงได้ให้ใช้แบบฟอร์มตามที่กำหนดไว้)
- สำเนาหนังสือเดินทาง หรือสำเนาใบถิ่นที่อยู่และใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวพร้อมฉบับจริง
- ใบรับรองแพทย์ ซึ่งรับรองว่าผู้ขอไม่มีโรคต้องห้ามตามคุณสมบัติที่ข้อ 3 ในข้างต้น (ไม่เกิน 6 เดือน)
- บัญชีรายชื่อคนต่างด้าว
โชว์เอกสารให้เจ้าหน้าที่พิจารณา
· งบดุลฯ และกำไรขาดทุน
· รายชื่อผู้ถือหุ้น บอจ.6
· แบบนำส่งเงินสมทบประกันสังคม (แล้วแต่เงื่อนไขที่ระบุท้ายเล่มใบอนุญาต)
· ภพ. 30 เดือนล่าสุด
· ภงด. 50
· ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 100 บาท
· ค่าใบอนุญาตทำงาน 1 ปี 3,000 บาท
เมื่อยื่นเอกสารในการขออนุญาตแล้ว รอทางสำนักงานกระทรวงแรงงานพิจารณาคำขออนุญาตอย่างน้อย 7 วันทำการ เมื่อครบกำหนด ในวันนัดรับใบอนุญาตให้พาพนักงานต่างด้าวไปลงลายมือชื่อในใบอนุญาตต่อหน้าเจ้าหน้าที่
เมื่อทำงานครบ 1 ปี ตามกำหนดที่ระบุในใบอนุญาตจะต้องทำเรื่องขอต่อใบอนุญาตจัดเตรียมเอกสารดังนี้
- แบบฟอร์ม ตท. 5
- หนังสือรับรองการจ้าง (ตามแบบที่กำหนด)
- หนังสือรับรองบริษัท มีอายุไม่เกิน 6 เดือน พร้อมลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัท
- รายชื่อผู้ถือหุ้น บอจ.6
- หนังสือมอบอำนาจชุดของบริษัทพร้อมสำเนาบัตรประชาชน
- หนังสือมอบอำนาจจากพนักงานต่างด้าวให้เจ้าหน้าที่บริษัทเพื่อดำเนินการแทน
- สำเนา ภงด. 1 เดือนล่าสุด (แล้วแต่เงื่อนไขที่ระบุท้ายเล่มใบอนุญาต)
- สำเนา ภงด. 91 พร้อมใบเสร็จรับเงิน
- สำนาประกันสังคม เดือนล่าสุด (แล้วแต่เงื่อนไขที่ระบุท้ายเล่มใบอนุญาต)
- ภพ. 30 เดือนล่าสุด
- สำเนาหนังสือเดินทาง หรือสำเนาใบถิ่นที่อยู่และใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวพร้อมฉบับจริง
- สำเนาใบอนุญาตทำงาน
- ใบรับรองแพทย์ ซึ่งรับรองว่าผู้ขอไม่มีโรคต้องห้ามตามคุณสมบัติที่ข้อ 3 ในข้างต้น (ไม่เกิน 6 เดือน)
- บัญชีรายชื่อคนต่างด้าว
โชว์เอกสารให้เจ้าหน้าที่พิจารณา
· งบดุลฯ และกำไรขาดทุน
· ภงด. 50
· ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 100 บาท
· ค่าใบอนุญาตทำงาน 1 ปี 3,000 บาท
ครั้งแรกที่ได้รับการอนุญาตทาง ต.ม. จะอนุญาตให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้ประมาณ 90 วัน และก่อนวีซ่าหมดอายุภายใน 30 วัน ทางบริษัทต้องดำเนินการจัดเตรียมเอกสารเพื่อยื่นขอต่อวีซ่าให้กับพนักงานต่างด้าวดังนี้
- แบบคำขอ ตม.7 รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม จำนวน 1 รูป และค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
- สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
- หนังสือรับรองคนต่างด้าวเข้าทำงานตามแบบของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (แบบ สตม.1)
- (แบบ สตม.2)
- รายชื่อคนต่างด้าว
- สำเนาใบอนุญาตทำงาน
- สำเนาหลักฐานการจดทะเบียนขององค์กรนั้น เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรือการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ฉบับนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน
- สำเนาบัญชี รายชื่อผู้ถือหุ้นทั้งหมด ฉบับนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน
- แบบนำส่งงบการเงิน (สบช.3) (ปีล่าสุด) (ต้องผ่านการรับรองความถูกต้องจากกระทรวงพาณิชย์)
- สำเนางบดุล และงบกำไรขาดทุน ปีล่าสุด (ต้องผ่านการรับรองความถูกต้องจากสรรพากร หรือกระทรวงพาณิชย์ หรือจากผู้ตรวจสอบบัญชี หรือใช้เอกสารตัวจริงเท่านั้น)
- แบบรายการเสียเงินได้นิติบุคคล (ภงด. 50) (ปีล่าสุด) พร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงิน (ต้องผ่านการรับรองความถูกต้องจากสรรพากร )
- สำเนาแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่มีชื่อพนักงานไทยและชื่อคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอ เดือนล่าสุดพร้อมใบเสร็จรับเงิน (กรณีไม่มีชื่อของคนต่างด้าวให้ทำหนังสือชี้แจง) (ภงด.1) (3 เดือนย้อนหลัง)
- สำเนาแบบยื่นรายการภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาของคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอ ปีล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน (ภงด.91)
- สำเนาแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบตามที่ได้ยื่นไว้ต่อสำนักงานประกันสังคม ( สปส.1-10) เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน (3 เดือนย้อนหลัง)
- แบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 30) (3 เดือนย้อนหลัง) พร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงิน
- เอกสารหรือหลักฐานแสดงว่า ธุรกิจมีความจำเป็นจะต้องว่าจ้างคนต่างด้าวทำงาน เช่น ประกาศรับสมัครคนไทยเข้าทำงาน แล้วไม่มีผู้สมัคร เป็นต้น
- แผนผังโครงสร้างองค์กร
- แผนที่แสดงสถานที่ทำงานของผู้ยื่นคำขอ
- เอกสารหรือหลักฐานอื่น ตามที่คณะกรรมการติดตามการปฎิบัติราชการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของ สตม. กำหนด
- รูปถ่ายสถานประกอบการ
– ภายนอก ให้ปรากฏเลขที่ตั้งและป้ายชื่อสถานประกอบการ
– ภายใน ให้ปรากฏภาพพนักงานขณะปฏิบัติงานอยู่
เมื่อยื่นเอกสารแล้วเจ้าหน้าที่จะประทับตราอนุญาตเพื่อรอฟังผลการอนุญาตเป็นเวลา 30 วัน และเมื่อครบเวลานัด เจ้าหน้าที่จะอนุญาตให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลา 1 ปี
Re-entry
พนักงานต่างด้าวเมื่อได้รับวีซ่าแล้ว ถ้าต้องเดินทางออกนอกประเทศ จะต้องจัดทำ Re-entry เพื่อสงวนสิทธิ์วีซ่าตัวเดิม การขอ Re-entry ต้องชำระค่าธรรมเนียม 1,000 บาท สำหรับ 1 ครั้ง และชำระค่าธรรมเนียม 3,800 บาท สำหรับหลายครั้ง แต่พนักงานต่างด้าวจะต้องทำการขอด้วยตนเอง
Report 90 วัน
ตามระเบียบ ชาวต่างด้าวเมื่อเข้ามาพำนักอาศัยในประเทศไทย ทุก ๆ 90 วันจะต้องไปรายงานตัวที่ ตม. สามารถแจ้งได้ก่อนวันครบกำหนด 15 วัน หลังวันครบกำหนด 7 วัน ถ้าเลยกำหนดจะถูกปรับ 2,000 บาท แต่ถ้ามีการเดินทางออกนอกประเทศไทยแล้วกลับเข้ามาใหม่จะต้องเริ่มนับเองใหม่ตั้งแต่วันที่เดินทางกลับเข้ามา
รายได้ขั้นต่ำของคนต่างด้าว ที่ขออยู่ต่อเพื่อประกอบธุรกิจ |
|
สัญชาติ |
รายได้ขั้นต่ำ |
1. ญี่ปุ่น อเมริกัน, แคนาดา |
60,000 บาท/เดือน |
2. ทวีปยุโรป,ทวีปออสเตรเลีย |
50,000 บาท/เดือน |
3. เกาหลี, สิงคโปร์, ไต้หวัน, ฮ่องกง, มาเลเซีย |
45,000 บาท/เดือน |
4. อินเดีย, ตะวันออกกลาง, จีน, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ |
35,000 บาท/เดือน |
5. ประเทศในทวีปแอฟริกา, กัมพูชา,พม่า, ลาว, เวียตนาม |
25,000 บาท/ เดือน |
การยื่นคำขออนุญาตทำงาน
1. คนต่างด้าวที่ยังไม่ได้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร คนต่างด้าวที่ประสงค์จะทำงาน ให้ปฏิบัติดังนี้
1.1. ติดต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยประจำประเทศที่คนต่างด้าวอาศัยอยู่ เพื่อขอคำแนะนำและขออนุญาตเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ( NON-IMMIGRANT VISA)
1.2. ให้นายจ้างในราชอาณาจักรยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานแทน (แบบ ตท. 3) และเมื่อได้รับแจ้งการอนุญาตแล้ว คนต่างด้าวจึงเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อรับใบอนุญาตและทำงานได้
2. คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว คนต่างด้าวที่ประสงค์จะทำงาน ต้องปฏิบัติดังนี้
2.1. คนต่างด้าวที่จะขออนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือตามกฎหมายอื่น เช่น พระราชบัญญัตปิโตรเลียม พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรม ต้องยื่นขอรับใบอนุญาตทำงาน (แบบ ตท. 1)ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เข้ามาในราชอาณาจักรหรือ 30 วัน นับแต่วันที่ทราบการได้รับอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายนั้น ๆ โดยในระหว่างขอรับใบอนุญาตให้ผู้ยื่นคำขอทำงานไปพลางก่อนได้ ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000บาท (มาตรา 35)
2.2. คนต่างด้าวซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โดยมิใช่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยว หรือผู้เดินทางผ่าน และไม่เป็นบุคคลที่ขาดคุณสมบัติ หรือต้องห้ามตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด จะทำงานได้ต่อเมื่อได้รับ ใบอนุญาตทำงานแล้วเท่านั้น โดยยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานตามแบบ ตท. 2 ( มาตรา 7, 11) ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 3เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 34)
คุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้าม
กำหนดโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามและเงื่อนไข ของคนต่างด้าว ซึ่งจะขอรับใบอนุญาตทำงาน ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2522 มีดังนี้
1. มีความรู้และความสามารถในการทำงานตามที่ขอรับใบอนุญาต ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฏอาการอันเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง หรือโรคพิษสุราเรื้อรัง ไม่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว ภายในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต
2. คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองเพื่อทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วน มีระยะเวลาการทำงานไม่เกิน 15 วัน จะทำงานได้เมื่อได้มีหนังสือแจ้งให้อธิบดี หรือเจ้าพนักงานซึ่งอธิบดีมอบหมายทราบ (มาตรา 7) งานอันจำเป็นและเร่งด่วน ออกโดยระเบียบกรมการจัดหางานว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคำขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2537 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2537 จะอนุญาตให้ คนต่างด้าวทำงานในหมวดอาชีพต่าง ๆ แต่ไม่เกิน 15 วัน ดังนี้
งานบริหารงานและวิชาการ งานด้านเทคนิค งานจัดหางานต่างประเทศ งานเบ็ดเตล็ด งานที่อธิบดี หรือเจ้าพนักงานซึ่งอธิบดีมอบหมาย เห็นควรรับแจ้งเป็นกรณีพิเศษตามความจำเป็นในขณะนั้น
3. คนต่างด้าวตามมาตรา 12 ส่วนใหญ่เป็นการขออนุญาตตามมาตรา 12 (2) คือ คนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร โดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และอยู่ในระหว่างรอการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักร ต้องปฏิบัติดังนี้
3.1 กรณีประสงค์จะทำงานภายในเขตจังหวัด ให้ยื่นคำขอตามแบบ ตท. 8 พร้อมบัตรอนุญาตออกโดยกระทรวงมหาดไทย
3.2 กรณีขออนุญาตออกนอกพื้นที่ คนต่างด้าวต้องยื่นขออนุญาตต่อผู้ว่าราชการจังหวัดที่ตนอยู่ เพื่ออนุญาตออกนอกเขตจังหวัด และหากจะทำงานคนต่างด้าวจะต้องขอรับใบอนุญาตทำงาน (แบบ ตท. 8) จึงจะทำงานได้
ปัจจุบันรัฐมนตรีได้ออกประกาศกำหนดงานที่ให้คนต่างด้าวตามมาตรา 12 ทำงานได้รวม 27 อาชีพ และให้คนต่างด้าวสัญชาติ พม่า ลาว และกัมพูชา ที่เข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกันตัวจากพนักงาน เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2543 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2543 และอยู่ระหว่างรอการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักร จำนวน 106,684 คน
ทำงานได้เฉพาะงานกรรมกร ในพื้นที่ 37 จังหวัด 18 ประเภทกิจการ
ที่กล่าวมาทั้งหมด เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบกระบวนการขอวีซ่าและต่อใบอนุญาตคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย โดยเฉพาะนักบริหารงานบุคคลจำเป็นต้องทราบกระบวนการยื่นคำขอ ณ สถานที่ใดบ้าง และจะต้องทราบว่าต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง รายได้ขั้นต่ำของคนต่างด้าวแต่ละประเทศ ถูกกำหนดไว้ต่างกัน ซึ่งในปี 2558ประชาคมอาเซียน มีผลบังคับใช้ งานที่นักบริหารบุคคลจำเป็นต้องเรียนรู้เพิ่มเติมมากขึ้นกว่าเดิม และต้องอาศัย ความรู้ทักษะ ด้านภาษา และความสัมพันธ์ส่วนตัวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อให้ได้ใบวีซ่าและใบอนุญาตได้ทันตามกำหนดเวลา