พอตั้งคำถามในลักษณะนี้แล้ว บางท่านอาจจะคิดถึงระบบต่างๆที่จะต้องนำมาปรับใช้ในองค์กรมากมาย หรือคิดถึงว่าต้องเป็นบริษัทใหญ่ๆเท่านั้นที่เขาทำกัน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เรื่องยากสำหรับองค์กรเล็กๆ และไม่จำเป็นที่ต้องเป็นบริษัทใหญ่ๆที่ได้มาตรฐานเท่านั้นที่จะต้องค้นพบคนเก่งได้ องค์ กรเล็กๆ มีพนักงานในองค์กรไม่ถึง 100 คนก็สามารถค้นพบคนเก่งในองค์กรได้เช่นกัน จึงได้มีคำกล่าวที่ว่า ถ้าองค์กรยังไม่มีระบบการดูแลคนและลงโทษคนที่ไม่ดี ให้ผู้บริหารรักษาคนที่ดีเอาไว้ก่อน แต่ก็จะมีคำถามต่อไปอีกว่า จะมีวิธีการดูแลคนดีอย่างไรในเบื้องต้น คนดีมีลักษณะอย่างไร ซึ่งผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างคำจัดกัดความ คนดี ของ ท่าน พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ได้พูดถึงคนดีไว้ 10 ประการ

คนดี (The Noble)

1.ต้องเป็นคนมีน้ำใจ

2.ใฝ่หาความรู้

3.มีความวิริยะอุตสาหะ

4.มีความเป็นธรรม

5.เห็นแก่ส่วนรวม

6.รู้หน้าที่ในงาน ในครอบครัว

7.มีทัศนคติที่ดี

8.มีวินัย

9.มีเหตุผล

10.รักษาชื่อเสียงทั้งของตัวเองและของบริษัท (Upholding own and company’s image)

โดยคณะกรรมการพัฒนาศักยภาพพนักงาน จะเป็นผู้พิจารณาคุณสมบัติของพนักงาน ซึ่งโดยทั่วไปจะกำหนดอายุการทำงานของพนักงานอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป จะถูกเสนอเข้ามาเป็นพนักงานที่มีศักยภาพสูง สาเหตุที่ต้องมีอายุงานอย่างน้อย 3 ปี ก็เพราะว่าในช่วงเริ่มต้นพนักงานทำงานมาทำงานใหม่ๆ ยังไม่สามารถบอกได้ว่า พนักงานจะเป็นคนดีที่แท้จริง ต้องมีการเก็บข้อมูลการประเมินผลงานย้อนหลังประกอบการพิจารณา เพื่อให้เกิดความมั่นใจ ได้ว่าพนักงานมีการปฏิบัติงานดี มีความอย่างสม่ำเสมอ ตามหัวข้อด้านล่าง

1. Personal Characteristics

การยึดมั่นในอุดมการณ์ของบริษัท
การประกอบธุรกิจอย่างมีจริยธรรม
การประพฤติปฏิบัติอย่างสุจริตและมีคุณธรรม
2. Leadership Characteristics

ความเป็นผู้นำและการสร้างทีมงาน
ความมีวิสัยทัศน์และกลยุทธ์เชิงธุรกิจ
ความสามารถที่จะทำงานในสภาวะกดดัน
ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
3. Managerial Characteristics

ความสามารถในการใช้ดุลยพินิจและการตัดสินใจ
ความสามารถเชิงวิเคราะห์และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่
ความรอบรู้และจิตสำนึกด้านการตลาด
ความมุ่งมั่นสู่ประสิทธิภาพและผลสำเร็จ

จะเห็นได้ว่าในหัวข้อแรกของการเมิน ด้าน Personal Characteristics หัวข้อย่อยเรื่องการประพฤติปฏิบัติอย่างสุจริตและมีคุณธรรม จะนำเรื่องหัวข้อของคนดี 10 ประการมาเป็นตัวประเมินผลด้วย ถ้าไม่ผ่านในหัวข้อแรกนี้ พนักงานดังกล่าวจะไม่มีสิทธิประเมินในหัวข้อถัดไปอีกได้เลย การประเมินทั้งสามหัวข้อจะเป็นการประเมินศักยภาพที่เข้มข้น โดยเริ่มตั้งแต่หัวข้อแรก ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่นำเสนอคือ ฝ่ายทรัพยกรบุคคลกับผู้จัดการสายงานที่รับผิดชอบ จะมีผู้พิจารณากลั่นกรองพนักงานดังกล่าวว่าผู้ที่ได้ผ่านการคัดเลือกว่ามีใครบ้างหลังจากนั้น จะนำรายชื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคุณสมบัติในหัวข้อที่ 2 Leadership Characteristics โดยคณะกรรมการพัฒนาศักยภาพที่ถูกแต่งตั้งขึ้นโดย กรรมการผู้จัดการบริษัท เป็นผู้พิจารณา ถ้าพนักงานที่ผ่านการพิจารณาในกรรมการชุดนี้แล้วจะใส่อักษรย่อว่า A ซึ่งย่อมาจาก ACCEPTABILITY ผ่านการยอมรับจากหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะมีการประสานงาน การสร้างความสัมพันธ์ และการทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งหัวข้อนี้จะเน้นเรื่องของการ เก่งคน ถ้าจะมีการปรับระดับพนักงานขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นจะต้อง ผ่านการประเมินในหัวข้อที่ 3 คือ Managerial Characteristics ซึ่งในหัวข้อนี้จะมุ่งเน้นไปที่ การบริหารจัดการให้งานประสบความสำเร็จ การ เก่งงาน มีความมุ่งมั่นให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย สามารถควบคุมการจัดระบบงาน การมองการณ์ไกล และการสร้างงานใหม่ เมื่อผ่านการประเมินจากคณะกรรมการแล้วให้ใส่อักษรย่อว่า C ซึ่งย่อมาจาก CAPABILITY

จากกระบวนการทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นเป็น วิธีการหรือแนวปฏิบัติ ที่สามารถทำได้อย่างไม่ยากเย็นนัก โดยเฉพาะบริษัทเล็ก ๆ ที่เป็น SME ก็สามารถพัฒนารูปแบบในลักษณะนี้ โดยพิจารณาในกลุ่มเล็กๆ จะมีความชัดเจนและง่ายต่อการพิจารณากว่าบริษัทใหญ่ๆ ที่มีพนักงานเข้าเกณฑ์ปีละมากๆ ก็จะทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้ กล่าวโดยสรุปพนักงานที่ผ่านการประเมินจากคณะกรรมการ จะประกอบไปด้วย C , A ,CA องค์กรจะพิจารณาพนักงานที่ได้รับการประเมินศักยภาพ CA ก่อน ซึ่งจะถูก Promote ขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น สำหรับพนักงานที่ถูกประเมินเป็น C และ A ก็จะต้องพัฒนาศักยภาพขึ้นให้ได้เป็น CA จึงจะได้พิจารณาเลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้นต่อไป

ดร. กฤติน กุลเพ็ง

“ประสบการณ์ 25 ปี ทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์และพัฒนาองค์กร เชี่ยวชาญเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่บริหารวัฒนธรรมองค์กร และ การ Implement Competency Model ให้กับองค์กรภาครัฐและเอกชน ประสบการณ์ในการทำงานในเครือซิเมนต์ไทยมา 15 ปี เป็นอาจารย์พิเศษ สอนด้าน Human Resource Management มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน”