Demand และ Supply มีผลต่อการกำหนดกลยุทธ์ในการสรรหาอย่างไร
สิ่งสำคัญของกระบวนการสรรหานอกจากจะต้องทราบข้อมูลช่องทางในการสรรหาคนเข้าสู่องค์กรแล้ว ยังต้องมีความรู้ ความสามารถ ในการหาข้อมูล Demand และ Supply ในแต่ละปีด้วยเช่นกัน โดยส่วนใหญ่นักบริหารงายบุคคล ไม่เคยที่จะหาข้อมูลก่อนว่า ในแต่ละปีจะมีจำนวนผู้สมัครมากน้อยเพียงใด และ ในมหาวิทยาลัยได้ผลิตบัณฑิตออกมารับใช้สังคมในแต่ละปี มีจำนวนเท่าไร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ เป็นสิ่งจำเป็นที่บริษัทควรจะต้องทราบในเบื้องต้น เสียก่อน เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์ในการสรรหาของแต่ละปีนั่นเอง
ผู้เขียนจึงขออธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมของคำว่า Demand และ Supply ในความหมายของ การสรรหาพนักงาน เพื่อจะได้เกิดความเข้าใจมากขึ้น
Demand หมายถึง ความต้องการอัตรากำลังคนของในแต่ละองค์กรในแต่ละปี ว่ามีจำนวนเท่าไร ข้อมูลส่วนนี้ส่วนใหญ่จะมีอยู่ที่สำนักงานจัดหางานของแต่ละจังหวัดนั่นเอง
Supply หมายถึง อัตรากำลังของแตะละปีที่ มหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยได้ผลิตแรงงานออกมาสู่ภาคธุรกิจ ซึ่งข้อมูลส่วนนี้ จะต้องรวบรวมจากมหาวิทยาลัยในแต่ละแห่งว่าในปีดังกล่าว มีการผลิตบัณฑิตออกมาจำนวนเท่าใด
ก่อนที่จะมีการสรรหาพนักงานในแต่ละองค์กร นักบริหารบุคคลได้มีข้อมูล ทั้งสองส่วนนี้ก่อน ก็จะสามารถวางแผนกลยุทธ์ในการรับคนเข้าสู่องค์กรได้เป็นอย่างดี สมมุติว่า ในปีนี้ มีจำนวน Demand มากกว่า Supply ก็แสดงว่า จำนวนความต้องการอัตรากำลังคน นั้นมีมากกว่าอัตราการผลิตของมหาวิทยาลัยที่ผลิตบัฒฑิตออกมาสู่ภาคธุรกิจหรือบริการ ฉะนั้นทุกภาคส่วนจึงต้องหาคนเข้ามาสู่องค์กร ให้ได้ โดยจะมีวิธีการสรรหา ด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อที่จะดึงดูดคนเข้ามาร่วมงานให้ได้มากที่สุด ซึ่งเป็นที่มาของแต่ละองค์กรที่จะต้องมีวิธีการวางแผนกลยุทธ์ในการรับพนักงาน ด้วยการใช้อัตราค่าจ้างและสวัสดิการมาเป็นเครื่องมือในกาต่อรองลูกจ้าง ให้เข้ามาปฏิบัติงานภายในองค์กร แต่อย่างไรก็ตาม การใช้อัตราค่าจ้างและสวัสดิการให้มากขึ้น ก็ไม่ได้ไปตอบโจทย์ของผู้สมัครอย่างแท้จริง กระบวนการดังกล่าวยังต้องมีเทคนิคต่างๆ เข้ามาเป็นเครื่องมือในการดึงดูดพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นการอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน เช่น การมาปฏิบัติงานไม่เต็มเวลา ไมต้องบันทึกเวลาการปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานที่บ้าน เป็นต้น
ในกรณีที่ Supply มีมากกว่า Demand ก็แสดงว่า จำนวนนักศึกษาที่จบออกมาสู่ภาคธุรกิจและบริการ มีเป็นจำนวนมากกว่าตำแหน่งงานที่จะต้องรับ ก็ทำให้บริษัทต่างๆ ไม่จำเป็นที่จะต้องวางแผนกลยุทธ์ ในการสรรหาคนมาก ไม่ต้องลงทุนด้านค่าจ้างและสวัสดิการ เพราะว่าผู้สมัครมีให้เลือกมากมาย แย่งกันเข้าทำงาน อัตราการตกงานมีเป็นจำนวนมาก ก็จะทำให้เป็นผลดีต้องบริษัทและองค์กรที่ มีโอกาสได้เลือกผู้สมัครที่มีเป็นจำนวนมาก
จากที่ได้ยกตัวอย่าง ของคำว่า Demand และ Supply จะมีผลต่อการกำหนดกลยุทธ์ในการสรรหาของแต่ละองค์กร ซึ่งข้อมูลที่ควรจะต้องหาเพิ่มเติม เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นข้อมูลที่เป็นของจริง ก็จะทำมั่นใจได้ว่า การวางแผนกลยุทธ์ขององค์กร ได้ถูกกต้องตรงประเด็น ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายบริษัทเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะนำมาถึงการได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจ