ในฉบับที่แล้วผู้เขียนได้อธิบายถึง การบริหารคนให้มีความสอดคล้องกับยุคเศรษฐกิจในสภาวะปัจจุบัน ซึ่งองค์การบางแห่งได้ผ่านยุคต่างๆ มาโดยเริ่มตั้งแต่ ยุคเกษตรกรรม  ยุคอุตสาหกรรม  ยุคสารสนเทศ และยุคการจัดการความรู้  จนกระทั่งมาในขณะนี้เราก้าวเข้าสู่ยุคหลังการจัดการความรู้   ในฐานะผู้บริหารระดับสูงควรจะมีบทบาทในการบริหารองค์การให้มีความสอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เมื่อเราเข้าสู่ยุคหลังการจัดการความรู้ นั้นเราเตรียมพร้อมเข้าสู่ สังคมการดูแล เอาใจใส่ การมีส่วนร่วมช่วยเหลือ และช่วยคิดช่วยทำ ซึ่งกันและกัน เพื่อนำพาสังคมไปสู่การพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม  ผู้เขียนจะขออธิบายการวางกลยุทธ์ขององค์การให้มีความสอดคล้องกับสังคมยุคหลังการจัดการความรู้ โดยก่อนวางแผนกลยุทธ์องค์การต้องคำนึงถึงปัจจัยทั้ง 4 ด้านหลักดังต่อไปนี้

อ่านต่อ ...

จากบทความก่อนหน้านี้ ได้กล่าวถึง กิจกรรมการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ โดยการนำแผนกลยุทธ์ขององค์การไปวางกลยทุธ์ของงานทรัพยากรมนุษย์  ซึ่งจะต้องจัดดทำเป็นแผนงาน ( Action plan)   ซึ่งในฉบับนี้จะลงรายละเอียดของแผนงานแต่ละแผนกของงานทรัพยากรมนุษย์  พร้อมยกตัวอย่างมาเป็นที่เข้าใจให้มากขึ้น   การเขียนแผนและโครงการจากกลยุทธ์หลักที่ได้กำหนดไว้ทั้ง 3 ข้อ ผู้เขียนขอยกตัวอย่างในหัวข้อแรก คือ  การพัฒนาทักษะ ความสามารถของพนักงาน เพื่อให้องค์การประสบความสำเร็จตามาตรฐานที่ได้ตั้งไว้ โดยดำเนินการกระจายให้กับ แผนก HRD เป็นผู้ดำเนินการจัดทำ

อ่านต่อ ...

ผู้เขียนจะขอเน้นการนำ Competency มาใช้กับ กระบวนการสรรหาและคัดเลือกพนักงานเข้าสู่องค์การเป็นประเด็นได้ดังนี้ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสมัยใหม่ต้องไม่ยึดติดกับรูปแบบเดิมอีกต่อไป ต้องคิดเสมอว่าจะคิดหารูปแบบการบริหารที่สอดคล้องกับสังคมยุคใหม่ที่เปลี่ยน แปลงไปอย่างรวดเร็ว วีธีการหนึ่งที่องค์การสมัยใหม่ได้เตรียมวางแผนการบริหารการจัดการสรรหา คัดเลือกคนที่สอดคล้องและเหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์การ โดยเริ่มกระบวนการตั้งแต่การสรรหาและคัดเลือกคนเข้าวสู่องค์การ โดยอาศัย competency มาเป็นเครื่องมือหนึ่งในการรับคนเข้าสู่องค์การ ซึ่งบางบริษัทได้เริ่มวางแผนรับคนตั้งแต่อยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย มีโอกาสได้สิทธิ์ในการคัดเลือกพนักงานก่อนองค์การอื่น หรือที่เรียกว่า การคัดเลือกพนักงานที่เป็นดาวเด่นที่ยังไม่จบจากมาหาวิทยาลัย (young Talent)  ดำเนินการ

อ่านต่อ ...

จากบทความ 2 ฉบับที่แล้วได้กล่าวถึง competency มาใช้ในกระบวนการทรัพยากรมนุษย์ในภาพรวมและผู้เขียนได้เขียนในบทความถัดมาโดยเน้นไปที่ กระบวนการสรรหาและคัดเลือกพนักงานเข้าสู่องค์การ ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านมองเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ก่อนที่จะเข้าประเด็นการนำเครื่องมือ Competency มาใช้ในการพัฒนาพนักงานนั้น ขอเกริ่นนำระบบงานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นที่เข้าใจพอสังเขปก่อนดีกว่าครับ จากแผนภูมิภาพด้านบนที่ผู้อ่านได้เห็นนั้น  เป็นระบบงานของ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะแบ่งออกเป็นงานๆ โดยเริ่มตั้งแต่ การสรรหาคัดเลือก   การบรรจุแต่งตั้ง  การฝึกอบรมพัฒนา การวางแผนอาชีพ การบริหารผลตอบแทน

อ่านต่อ ...

พอตั้งคำถามในลักษณะนี้แล้ว บางท่านอาจจะคิดถึงระบบต่างๆที่จะต้องนำมาปรับใช้ในองค์กรมากมาย หรือคิดถึงว่าต้องเป็นบริษัทใหญ่ๆเท่านั้นที่เขาทำกัน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เรื่องยากสำหรับองค์กรเล็กๆ และไม่จำเป็นที่ต้องเป็นบริษัทใหญ่ๆที่ได้มาตรฐานเท่านั้นที่จะต้องค้นพบคนเก่งได้ องค์ กรเล็กๆ มีพนักงานในองค์กรไม่ถึง 100 คนก็สามารถค้นพบคนเก่งในองค์กรได้เช่นกัน จึงได้มีคำกล่าวที่ว่า ถ้าองค์กรยังไม่มีระบบการดูแลคนและลงโทษคนที่ไม่ดี ให้ผู้บริหารรักษาคนที่ดีเอาไว้ก่อน แต่ก็จะมีคำถามต่อไปอีกว่า จะมีวิธีการดูแลคนดีอย่างไรในเบื้องต้น คนดีมีลักษณะอย่างไร ซึ่งผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างคำจัดกัดความ คนดี ของ ท่าน

อ่านต่อ ...

ความเข้าใจระหว่างลูกจ้างและนายจ้างยังมีความเข้าใจสับสนกันอยู่ว่า ในกรณีที่พนักงานเจ็บป่วยในงานไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น ทางกองทุนเงินทดแทนจะมีการจ่ายเงินเมื่อพนักงานได้หยุดงานเกิน  3  วัน ตามใบรับรองของแพทย์  ทางฝ่ายนายจ้างเองในบางองค์การก็อาจจะมีความเข้าใจสับสนอีกเช่นกัน ว่าในส่วนนี้ต้องเป็นของบริษัท เพราะว่าบริษัทได้จ่ายให้กับพนักงานไว้ทั้งหมดแล้ว  ในส่วนของพนักงานก็อาจจะมีความรู้สึกที่ไม่ดีอีกเช่นกันที่ตัวเองต้องไปรับเงินและต้องนำมาคืนให้กับบริษัท   ซึ่งผู้เขียนจะขอยกกรณีศึกษา สิ่งที่เกิดจริงในโรงงานแห่งหนึ่ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น ดังต่อไปนี้ พนักงานบริษัทแห่งหนึ่งได้เกิดอุบัติเหตุในงาน โดยมีรายละเอียดของการเกิดดังนี้ พนักงานช่างซ่อมบำรุงได้ไปทำการซ่อมเครื่องจักรเครื่องหนึ่งในบริเวณโรงงาน ดำเนินการซ่อมเสร็จสิ้นแล้ว อยู่ในช่วงทดสอบเครื่อง ขณะดังกล่าวสายพานเครื่องจักรได้หลุดออกมา

อ่านต่อ ...

คนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่ง องค์การทุกภาคส่วนพยายามที่หันมาใส่ใจ เรื่อง คนกันมากขึ้น ยิ่งในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย ย่อมมีผลกระทบต่อการดำรงชีพของพนักงาน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ องค์การเองคงจะไม่มุ่งเน้นที่คุณภาพของผลิตภัณฑ์ขององค์การอย่างเดียวควรจะให้มาใส่ใจเรื่องคุณภาพชีวิตของพนักงานควบคู่ไปด้วย เพราะสภาพเศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้ มีส่วนกระทบต่อการดำเนินชีวิตของพนักงานอย่างแน่นอน องค์การจะมีส่วนช่วยผลักดันให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานอย่างไร  ซึ่งผู้เขียนจะพยายามหาข้อมูลปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต และพยายามศึกษาหาวิธีการ เพื่อที่จะมาปรับปรุงการทำงาน ให้ประสบความสำเร็จไปพร้อมกันด้วย  ถ้าเรามามองกันในด้านคุณภาพชีวิตในการดำเนินชีวิต จะประกอบไปด้วย ปัจจัยสี่ ความมั่นคง ความปลอดภัย

อ่านต่อ ...

พฤติกรรมมนุษย์ ก็เกิดจากการที่คนทำอะไรอยู่กับสิ่งนั้นเป็นเวลานาน จนกระทั่งรู้สึกว่า การกระทำนั้น ไม่รู้สึกขัดหรือเกิดความขัดแย้ง ถ้าองค์กรจะจัดสิ่งใดให้กับพนักงานเพื่อ ที่จะให้พนักงานภายในองค์กร เกิดความรู้สึกที่ดี หรือมีสภาพจิตใจที่อ่อนโยน เป็นมิตรกับเพื่อนร่วมงาน การที่จะปลูกฝังสิ่งเหล่านี้ ก็มีหลายองค์กรที่พยายามที่จะจัดสถานที่ของบริษัท ให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับพนักงาน เพื่อที่จะให้การจัดสถานที่ดังกล่าว เป็นหนี้บุญคุณ ที่พนักงานจะต้องตอบแทนบริษัท ที่ได้ดำเนินการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกให้   แต่พนักงานคิดไปในทางตรงกันข้ามกับบริษัท ซึ่งพนักงานคิดว่าสิ่งที่องค์กรได้ทำหรือปฏิบัติอยู่นั้น เป็นหน้าที่ขององค์กร

อ่านต่อ ...

หัวข้อนี้เริ่มมีความสำคัญในการบริหารคนยุคใหม่มากขึ้น เพราะคนยุคใหม่ที่เป็นคน Gen Y ย่อมมองถึงเรื่อง ผลตอบแทนที่อยู่ในรูปตัวเงินมากกว่าสิ่งที่ไม่ใช่ตัวเงิน ฉะนั้นผู้บริหารองค์กรยุคใหม่ ย่อมต้องใส่ใจกับการบริหารคนที่มีความแตกต่างกันภายในองค์กร จะไปมองเฉพาะคนที่เป็นรุ่นเก่า Gen B ซึ่งเป็นยุครุ่นเดียวกันกับผู้บริหารก็ไม่ได้ เพราะคนรุ่นนี้ถูกสอนและฝังใจมาตั้งแต่เด็กว่า ต้องตอบแทนบุญคุณต่อผู้มีพระคุณ ถ้าองค์กรใดดูแลเขาด้วยดีเสมอมา พนักงานเหล่านี้จะไม่เคยคิดที่จะลาออกไปอยู่ที่อื่น จะเป็นผู้ที่พิทักษ์องค์กรของเขาที่ให้การดูแลเอาใจใส่ ฉะนั้นพนักงานที่เป็นแกนหลักขององค์กร ส่วนใหญ่จะเป็น Gen

อ่านต่อ ...

การตรวจร่างกายพนักงานที่บริษัท จะต้องรับเข้ามาทำงาน ซึ่งบางองค์กรได้ระบุเอาไว้ ก่อนที่จะเข้าปฏิบัติงาน จะต้องตรวจเลือดเพื่อดูผล HIV ขั้นตอนการตรวจในฐานะ HR จะต้องทราบและมีความเข้าใจในกระบวนการของกฎหมาย ที่มีความคุ้มครองผู้ถูกตรวจ ในกรณีดังกล่าว ถ้าฝ่าย HR ไม่เข้าใจในเรื่องนี้ อาจะถูกกล่าวหาหรือถูกฟ้องร้องจาก ผู้ถูกตรวจได้ จากตัวอย่างที่ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์ ในการตรวจผู้สมัครที่ได้รับการตรวจร่างกาย ก่อนเข้าปฏิบัติงาน ซึ่งในการตรวจร่างกายก่อนเข้าทำงาน

อ่านต่อ ...