มีการพิจารณากันอย่างแพร่หลาย สำหรับเรื่อง การจัดเครื่องแบบพนักงาน บางกระแสมองว่า คนรุ่นใหม่ที่เป็น Gen Y ไม่ค่อยให้ความร่วมมือ ในการจัดเครื่องแบบพนักงาน ซึ่งมองว่าเป็นระเบียบ กฎเกณฑ์ ของบริษัทที่ค่อนข้างเยอะมากมาย และเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทที่เป็นตัวเงินสำหรับองค์กร จัดแล้วพนักงานไม่ชอบจะจัดไปทำไม นั่นคือกระแสของพนักงานที่เป็นคนรุ่นใหม่ สำหรับอีกแนวคิดหนึ่งก็คือ ในฐานะผู้บริหาร ที่เป็นนายทุน ที่จะต้องมองภาพองค์รวม ว่าถ้าบริษัทไม่จัดเครื่องแบบให้กับพนักงานแล้ว
การบริหารองค์กรที่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะองค์กรที่เกิดมานานๆ พนักงานย่อมมีอายุเพิ่มขึ้นไปตามบริษัท ไปด้วย ฉะนั้นการวางแผนสืบทอดตำแหน่งของพนักงานที่จะต้องเกษียณอายุงาน จึงมีความจำเป็น เพราะว่าองค์กรต้องมีพนักงานที่ปฏิบัติงานสืบทอดในตำแหน่งดังกล่าว ซึ่งบริษัทจึงได้มีการวางระบบการประเมินพนักงานที่จะมาเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งงาน ที่พนักงานจะมีการเกษียณอายุงาน โดยใช้แบบการประเมินผลการปฏิบัติงานและการประเมินศักยภาพ มาเป็นเครื่องมือในการวัดว่าพนักงานที่เข้าข่ายจะมาดำรงตำแหน่ง ว่าเป็นบุคคลใดบ้าง โดยจะมีการขึ้นบัญชีไว้ประมาณ 3 คน
ในอดีตที่ผ่านมาการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์มักจะขึ้นอยู่กับผู้บริหารระดับสูงสุด ขององค์กรเพียงผู้เดียวทั้งนี้เนื่องมาจากธุรกิจส่วนมากพัฒนามาจากธุรกิจแบบครอบครัว (Family Business) เจ้าของมักจะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์สูงในทุกๆด้านเพราะทำมากับมือเองทั้งหมดมีการถ่ายทอดทางศาสตร์และศิลป์ทางการบริหารสืบต่อกันมาเรื่อยๆในทุกรุ่นของตระกูลและสามารถบริหารเรื่องต่างๆโดยเฉพาะเรื่องคนได้โดยไม่ค่อยมีปัญหาเพราะสไตล์การบริหารจะถูกปรับเปลี่ยนมาเรื่อยๆจนเป็นสไตล์ที่เหมาะสมกับองค์กรนั้นๆไปแล้วหรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมองค์การ (Corporate Culture) ไปแล้วก็ว่าได้ ฝ่ายบุคคลเดิมที่เกิดขึ้นในองค์กรแบบไทยๆผสมจีนมักจะเกิดจากการสร้างตำแหน่งงาน เพื่อรองรับทายาทของเจ้าของเจ้าของอาจจะมีลูกหลายคนคนโตให้คุมด้านการขายคนรองให้ดูบัญชีคนที่สามให้ดูการผลิตส่วนคนที่สี่ไม่มีที่ลงก็เลยตั้งให้เป็นตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบริหารและดูแล งานบุคคลไปด้วยและคนที่ถูกแต่งตั้งให้ดูแลงานด้านการบริหารงานบุคคลมักจะไม่ค่อยมีความรู้ด้านวิชาชีพมากนัก เพียงแต่เป็นลูกหรือญาติกับเจ้าของเท่านั้นความรู้ที่ได้จากการถ่ายทอดของคนรุ่นก่อน ก็ได้มาเพียงบางส่วนเท่านั้น ในบางกรณีฝ่ายบุคคลเกิดขึ้นมาเพื่อแบ่งเบาภาระของเจ้าของที่ต้องการให้บุคคลภายนอกเข้ามาช่วยดูแล และคิดว่าเป็นงานที่สำคัญน้อยกว่าด้านการขายบัญชีการเงินในช่วงแรกๆก็มักจะทำงานประจำเช่นการหาคนการจ่ายค่าแรงงานพนักงานการดูแลความสงบเรียบร้อยในบริษัทแต่อำนาจการตัดสินใจต่างๆยังอยู่ที่เจ้าของทั้งหมดซึ่งในยุคนั้นฝ่ายบุคคลจะทำงานแบบตั้งรับ (Reactive) หมายถึงจะดำเนินการใดๆก็ต่อเมื่อได้รับคำสั่งจากเจ้าของเท่านั้นจะไม่ดำเนินการใดๆนอกเหนือคำสั่งเป็นอันขาด ต่อมาธุรกิจแบบครอบครัวเริ่มเติบโตสมาชิกในครอบครัวมีไม่เพียงพอในการดูแลกิจการได้ทุกๆด้านรวมทั้งเริ่มมีการแข่งขันในระดับประเทศระดับภูมิภาคและระดับโลกมากยิ่งขึ้น ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์หรือฝ่ายบุคคลเริ่มมีบทบาทสำคัญในการมีส่วนร่วมในการกำหนดระเบียบข้อบังคับ การเสนอแนวทางการบริหารให้กับผู้บริหารระดับสูงมากขึ้นเพราะผู้บริหารบางส่วนเป็นมืออาชีพที่ถูกจ้างเข้ามา
กรณีที่องค์กรใหญ่ ๆ ได้เริ่มมีการตื่นตัว มากขึ้นสำหรับการรับพนักงานใหม่เข้ามา สู่องค์กร แต่พอถึงการประเมินผลการปฏิบัติงาน ว่ามีการผ่านทดลองงานหรือไม่ผ่านทดลองงาน จะใช้อะไรเป็นเกณฑ์มาตรฐานดีว่า จำนวนเท่าไรจึงจะเหมาะสม ในทางปฏิบัติ ถ้าเรามาพิจารณาให้เห็นถึงประเด็นข้อเท็จจริงว่า กรณีที่บริษัทพิจารณาประเมินผลการปฏิบัติงาน ของพนักงานที่อยู่ในช่วงทดลองงาน เช่น รับพนักงานใหม่มา 100 คน บริษัทมีการประเมินผลผ่านทดลองงานทั้งหมด 100 คน
องค์กรจำเป็นต้องเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ของระดับหัวหน้างาน เพื่อที่จะให้ระดับหัวหน้าไปสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นกับลูกน้องในสายบังคับบัญชาของตัวเอง ซึ่งในระดับหัวหน้าสิ่งที่ต้องพึงมีของการเป็นหัวหน้าเลยก็คือ หัวหน้าต้องอ่านคนออก หัวหน้าต้องบอกคนเป็น หัวหน้าต้องเห็นคนชัด หัวหน้าต้องอ่านคนออก หมายถึง บทบาทของหัวหน้างานสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกเลยก็คือ การสรรหาคัดเลือกคนเข้าสู่องค์กร ซึ่งจำเป็นจะต้องมีความเข้าใจทักษะในการสัมภาษณ์ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่องค์กรพึงประสงค์ ฉะนั้นหัวหน้า ควรจะต้องทำความเข้าใจ ในการสรรหาคัดเลือกคน ทักษะในการสัมภาษณ์พนักงาน เพื่อให้ได้คนเก่งและคนดีเข้ามาร่วมงานภายในองค์กร ถ้าเลือกคนผิดตั้งแต่เริ่มแรก ก็จะทำให้เกิดปัญหาระยะยาวของหน่วยงานได้ ทักษะอันดับแรกเลยก็คือ หัวหน้าจำเป็นจะต้องเข้าใจในงานการสรรหาคัดเลือกคนเข้ามาร่วมงานเสียก่อน
แบบกำหนดหน้าที่งาน (Job Description) ผู้เขียนควรมีความเข้าใจในความหมายของศัพท์อย่างท่องแท้เสียก่อนว่า แต่ละความหมายที่ได้เขียนลงไป หมายถึงอะไร ในบ้างครั้งการเขียนคำกริยายังบ่งบอกถึง ผู้ดำรงตำแหน่ง อีกด้วย ซึ่งได้มีการกล่าวไว้ในบทต้นๆ แล้ว เรื่อง การใช้คำกริยาให้เหมาะสมกับ ผู้ดำรงตำแหน่ง การเขียนแบบกำหนดหน้าที่งาน เมื่อได้กระทำอย่างเป็นระบบแล้ว จะทำให้ผู้อ่าน หรือผู้ที่มาตรวจทำการประเมินค่างาน สามารถบอกได้ว่า ผู้ปฏิบัติงานดำรงตำแหน่งอะไร
ปัจจุบันกระทรวงมหาดไทยได้ออกบัตรประจำตัวประชาชนชนิดใหม่ที่เรียกกันว่า บัตรประชาชนอเนกประสงค์ หรือ บัตรสมาร์ทการ์ด ขึ้นมา ทำให้ประชาชนทั่วประเทศต่างทยอยไปทำบัตรใหม่กัน ซึ่งรุ่นใหม่หน้าบัตรจะมีรูปครุฑอยู่ด้านบนซ้าย ที่สามารถเก็บข้อมูล ได้มากขึ้นกว่าเดิมจาก 64 กิโลไบต์ เป็น 80 กิโลไบต์ โดยบัตรสมาร์ทการ์ดจะมีลักษณะแตกต่างจากบัตรทุกรุ่นที่ผ่านมา คือ ตัวบัตรทำด้วยพลาสติกชนิดพิเศษ มีความแข็งแรงทนทาน รายการในบัตรมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษกำกับในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ เพื่อให้ใช้งานได้อย่างสากล
ผู้บริหารองค์กรในยุคปัจจุบันต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ นาๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง กระบวนการผลิต ปัญหาสินค้าไม่ได้คุณภาพ ผลิตไม่ทันความต้องการของลูกค้า อาจจะเกิดจากหลายอย่าง เช่น การสื่อสารภายในองค์กรไม่ดี พนักงานไม่มีทักษะที่ดีพอ เทคโนโลยีไม่ได้มาสนับสนุนกระบวนการผลิตเท่าที่ควร ฝ่ายบัญชีและการเงิน เคร่งครัดเรื่องเอกสารมากเกินไป จนให้ทำงานไม่สะดวก ฝ่ายการตลาดขายแพ็คเกจสินค้าที่ขายแล้วไม่มีกำไร พนักงานทำงานหนักจนเกินไป ไม่มีเวลาพักผ่อน สิ่งที่เอ่ยมาทั้งหมดล้วนเป็นปัญหาขององค์กร ที่ต้องรอการแก้ไขทั้งสิ้น ที่ผู้เขียนพูดมา
จากประสบการณ์ของผู้เขียน ที่ทำงานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล มานาน สิ่งที่ได้รับการเรียนรู้จากมหาวิทยาลัยนั้น ไม่เพียงพอ ต้องอาศัยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในงานเฉพาะด้านเพิ่มขึ้น บวกกับการเรียนรู้เพิ่มเติมจากสถานที่ทำงานจริง เมื่อสมัยก่อนไม่มีบทเรียน และหนังสือจากรุ่นพี่ที่เขียนเอาไว้ เพื่อให้เป็นแนวทางในการทำงาน ต้องอาศัยลองผิด ลองถูก จนเกิดความเชี่ยวชาญขึ้นมา หรือแม้กระทั่งอาศัยเลียนแบบจากรุ่นพี่ๆ ที่ประสบความสำเร็จในการทำงาน การเรียนในมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะ วิชาการสรรหาและคัดเลือกคนเข้าสู่องค์กร ก็เป็นวิชาหนึ่งที่มีการเปิดการเรียน การสอนแทบทุกมหาวิทยาลัย
พอพูดถึงเรื่องนี้ บางคนมองว่าเป็นเรื่องไร้สาระ ไม่น่าจะหยิบยกมาเป็นประเด็น ในเรื่องของการบริหารคนเลยสักนิดเดียว พนักงานที่เป็นสามี ภรรยากัน ทำงานด้วยกัน ก็ดีอยู่แล้ว เป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์กับครอบครัว ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาทำงาน และมีส่วนให้เกิดความรู้สึกรักองค์กร สร้างความผูกพัน เพราะว่าบริษัทส่งเสริมให้ ครอบครัว ได้มีส่วนร่วมในองค์กร แต่พอมาพูดถึง หลักการบริหาร ลงในทางภาคปฏิบัติ องค์กรมักจะประสบปัญหา ด้านการบริหาร