สิ่งที่ทุกบริษัทได้มีเสียงบ่นมาจากลูกน้อง  ผู้บริหารระดับสูง ที่มีหัวหน้างานของบริษัท  ประเมินผลงานออกมาแล้ว  เข้าข้างลูกน้องตนเอง  โดยไม่คำนึงถึงพนักงานในสังกัดอื่นๆ ที่จะเกิดปัญหาตามมาหรือไม่  ต้องยอมรับว่าบริษัท ที่กำลังเจริญเติบโตขึ้นมา  และยังไม่มีระบบประเมินผลที่มีความชัดเจน  หัวหน้าก็จะต่างคน ต่างประเมินลูกน้องของตนเอง  เพราะว่าสุดท้าย ผลการประเมินต้องนำมาใช้  ในการขึ้นค่าจ้างและจ่ายโบนัสประจำปี  เมื่อเป็นลักษณะนี้  หัวหน้าก็พยายามที่จะประเมินผลลูกน้องของตนเอง  ให้ได้มากไว้ก่อน  ถ้าประเมินผลให้ลูกน้องไม่ดีเมื่อไร  ลูกน้องนำผลงานไปเปรียบเทียบกับ  สายงานอื่น  แล้วได้ขึ้นเงินเดือนน้อยกว่า  เมื่อนั้น หัวหน้าจะไม่ได้รับความร่วมมือจากลูกน้องอีกเลย  จะสั่งอะไรออกไปเกี่ยวกับการทำงาน  มักจะไม่ได้รับความร่วมมือจากลูกน้อง  จึงทำให้หัวหน้าเกิดความลำบากใจในการประเมินผลการปฏิบัติงาน   บางองค์กรประเมินลูกน้องในแผนกได้เกรด  A หมดทุกคน  เพราะว่ากลัวลูกน้องจะมีปัญหา  ในการทำงาน เมื่อเป็นลักษณะนี้ ปัญหาจะมาตกอยู่ที่ผู้บริหารขององค์กร ว่าจะแก้ไขอย่างไรดี  กับพนักงานที่ถูกประเมินผลงานออกมา  จะแก้เกรดให้ใหม่ก็เกิดปัญหา  เพราะว่าผู้บริหารไม่ทราบเลยว่า  พนักงานที่ถูกประเมินมานั้นมีผลการปฏิบัติงานกันเป็นอย่างไรบ้าง

ผู้เขียนได้รับฟังจากผู้บริหารองค์กรที่ประสบปัญหาเช่นนี้  มาเล่าให้ฟังว่า  ปัญหาลักษณะนี้จะหาทางแก้ไขอย่างไรดี  เพื่อไม่ให้หัวหน้าประเมินผลการปฏิบัติงานของลูกน้อง  โดยที่ไม่มีทิศทางในลักษณะเช่นนี้  ผู้เขียนก็ได้พยายามเล่าถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับองค์กรอื่นๆ ให้ฟังว่า  วิธีการแก้ไขที่ใช้กันในเบื้องต้นนั้นมีอะไรบ้าง

  1. การประเมินผลการปฏิบัติงาน  ไม่ว่าจะเป็นองค์กรใดก็ตาม ย่อมไม่เอกสารใดที่จะประเมินผลคนได้  100 %  ขึ้นอยู่กับผู้ประเมินแต่ละคนว่า มีความเข้าใจในหัวข้อที่จะประเมินพนักงานอย่างท่องแท้หรือไม่   ซึ่งอันดับแรก  ผู้เขียนมองว่า  การที่จะทำให้ผลการประเมินออกมาในเป้าหมายเดียวกัน  ต้องมีการชี้แจงหัวข้อที่จะประเมินผลการปฏิบัติงานของลูกน้องเป็นประจำทุกปี  ว่าในแต่ละหัวข้อมีรายละเอียดปลีกย่อยอะไรบ้าง  พฤติกรรมพนักงานแบบใด  ที่สมควรจะได้รับเกรด A หรือ B   สรุปง่ายๆก็คือ ต้องสื่อสารกับหัวหน้างานให้บ่อยขึ้น  ถึงการประเมินผลงาน  เพราะว่าหัวหน้างานมีการปรับเปลี่ยนเป็นประจำทุกปี  ย่อมมีความเข้าใจที่แตกต่างกัน  ต้องหมั่นสื่อสารภายในองค์กรมากขึ้น  เพื่อจะได้เป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ถูกต้อง  ลูกน้องก็จะเข้าใจว่าหัวหน้าก็ต้องประเมินตามผลงาน ตามเกณฑ์ที่เป็นจริง
  2. วิธีการแก้ปัญหาในหัวข้อแรก ที่เน้นถึงการสื่อสารกับหัวหน้าที่ทำการประเมินผลงาน ให้เกิดความชัดเจน  ก็อาจจะมีหัวหน้าบางส่วนที่ยังมีความคิดที่เข้าข้างลูกน้องอยู่  สิ่งที่ต้องเสริมความรู้ให้กับหัวหน้า  ก็คือ ให้มีการประเมินศักยภาพ  ควบคู่กันไปด้วย  ไม่ใช่แต่ให้มีการประเมินผลงานเพียงอย่างเดียว

jpg

จะเห็นว่าการประเมินแบ่งออกเป็น 2  ส่วน  คือ  ผลการปฏิบัติงาน  และ ศักยภาพ  ถ้าองค์กรมีแนวทางให้หัวหน้า  มีการประเมินศักยภาพให้กับลูกน้อง  ซึ่งส่วนใหญ่  จะใช้เครื่องมือ competency มาเป็นหัวข้อในการประเมินศักยภาพ และการประเมินในส่วนนี้  ประเมินเพื่อการพัฒนา  ไม่ควรนำไปมีส่วนในการขึ้นค่าจ้างและจ่ายโบนัส  เพราะจะทำให้ผลการประเมินออกมาไม่ตรงกับความเป็นจริง   จากที่ผู้เขียนนำเสนอเรื่องนี้ให้ผู้บริหารองค์กรได้ใช้ การประเมินศักยภาพ ของพนักงานมาเป็นส่วนหนึ่งในการตรวจสอบ  การประเมินของหัวหน้า  ว่ามีความขัดแย้งกันหรือไม่  ยกตัวอย่างเช่น   ผลการประเมินศักยภาพออกมาแล้วได้อยู่ที่  85 %  ย่อมส่งผลให้พนักงานคนนี้ ทำงานได้บรรลุเป้าหมาย คือ ผลงานน่าจะออกมาไม่ต่ำกว่า  A  หรือ B   แต่ถ้าผลการประเมินศักยภาพออกมาอยู่ที่   51 %  น่าจะส่งผลการปฏิบัติงานอยู่ที่  C  ซึ่งที่ผู้เขียนกล่าวมาเป็นการพูดในเชิงทฤษฎี  ในความเป็นจริงจะมีหัวหน้างานที่ประเมินลูกน้องอออกมาแตกต่างจากตัวอย่างที่ได้กล่าวมา คือ  หัวหน้าประเมินศักยภาพของลูกน้องออกมาอยู่ที่   52 %  แต่ผลการประเมินผลการปฏิบัติงานของลูกน้องออกมาที่เกรด A   ผู้อ่านลองคิดดูว่า  พนักงานที่มีความรู้  ความสามารถและทักษะ ในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับ ครึ่งๆ  แต่ผลการปฏิบัติงานออกมาเต็ม  แสดงว่าเกิดอะไรขึ้นกับกระบวนการประเมินผล  แสดงว่าผลงานที่ออกมา  เป็นโชคชะตาของพนักงานที่ผลงานได้ตามเป้าหมาย  หรือไม่เช่นนั้นก็มีตัวช่วยให้งานสำเร็จ  เป้าหมายที่ตั้งไว้ค่อนข้างต่ำ  พนักงานจึงสามารถทำได้ตามเป้าหมาย  เป็นต้น

การประเมินศักยภาพจึงเป็น อีกวิธีหนึ่งที่จะทำการตรวจสอบผลการประเมินของหัวหน้างาน  ว่ามีความลำเอียงเข้าข้างลูกน้องหรือไม่  และเป็นเหตุผลหนึ่งที่ระดับหัวหน้า ลูกน้องต้องเปิดใจยอมรับฟังถึงข้อเท็จจริงในส่วนนี้

  1. การใช้เกณฑ์กติกากำหนดเป็นโคต้าให้แต่ละหน่วยงานนำไปปฏิบัติ ให้อยู่ในกรอบของนโยบายของผู้บริหารของแต่ละปี    เพื่อที่จะผลการประเมินออกมาอยู่ในระดับผลงานที่ออกมาแล้วมีความยุติธรรมในแต่ละส่วนงาน

jpg

จากตารางข้อมูลที่ผู้เขียนนำเสนอเป็นตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า  ผลการประเมินผลงานจะต้องออกมาตามที่ผู้บริหารได้กำหนดกรอบนโยบายของการประเมินให้แต่ละหน่วยงานไว้  ตามจำนวนคนที่ได้รับการประเมินของแต่ละปี  ซึ่งวิธีนี้จะทำให้แต่ละหน่วยงาน  จะทำการประเมินลูกน้องของตนเอง  อยู่ในเกณฑ์ที่บริษัทกำหนดเท่านั้น แต่ผลดีอยู่ตรงที่ สามารถบริหารงบประมาณ การขึ้นค่าจ้างให้อยู่ในขอบข่ายที่กำหนดไว้  แต่สิ่งที่จะมีกระทบตามมาก็คือ  หน่วยงานใดก็ตามที่มีพนักงาน ทำงานได้เกินมาตรฐานตามที่บริษัทกำหนดไว้ ก็จะมีโคต้าให้จำกัด  ไม่สามารถมีมากได้กว่านี้  และบางหน่วยงานที่มีพนักงานในสังกัด  ที่ไม่น่าจะมีผลงานได้ถึงระดับ  A  แต่หน่วยงานมีโคต้าให้อยู่  จึงได้ผลงานไปตามเกณฑ์ที่บริษัทกำหนดไว้   จึงจะทำให้เกิดปัญหาได้อีกเช่นกัน   วิธีนี้ก็ใช้กันอย่างแพร่หลาย  สำหรับองค์กรที่มีหัวหน้าที่ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการประเมินผลการปฏิบัติงาน  แต่ผู้บริหารองค์กร ต้องมาตรวจสอบหน่วยงานที่มีพนักงานทำงานได้ตามเป้าหมาย และมีศักยภาพสูง  ก็มาพิจารณาตัดบางหน่วยงานที่มีพนักงานยังไม่มีผลงานได้ตามเป้าหมาย  เอาโคต้าของหน่วยงานมาใช้กับอีกหน่วยงานหนึ่ง  เพื่อแก้ปัญหาในส่วนนี้  น่าจะเป็นผลดีมากกว่า  เพราะผลสุดท้ายของการประเมินผลงาน  ผู้บริหารองค์กรต้องมาดูถึงงบประมาณของบริษัท  ว่าเหลืออีกประมาณเท่าไร  ส่วนที่เหลืออยู่  อาจจะมาเพิ่มเติมให้พนักงานที่มีศักยภาพ ทำงานได้ตามเป้าหมายของบริษัท  และเป็น Talent  ขององค์กร  ก็สามารถที่จะบริหารจัดการในส่วนนี้ได้  ถือเป็นอำนาจทางการบริหารอยู่แล้ว

การประเมินผลการปฏิบัติงาน ถือเป็นสิ่งสำคัญ  ถ้าผู้บริหารไม่มีวิธีการจัดการเชิงบริหาร ย่อมเกิดปัญหาในระยะยาวตามมาอีกมากมาย  เพราะว่า  ผลการประเมินที่ออกมาในแต่ละปีนั้น  บริษัทต้องนำมาเก็บไว้เป็นข้อมูลเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เช่น  การประเมินผลหาผู้สืบทอดตำแหน่ง  การแต่งตั้งโยกย้าย  การปรับเงินเป็นกรณีพิเศษ  เป็นต้น


  9675 views     Comments