Job Description การจัดทำแบบกำหนดหน้าที่งานบนพื้นฐาน Competency อธิบายวิธีเขียนแบบสมบูรณ์ ราคา 170 บาท โปรโมชั่นพิเศษ ลดเหลือ 110 บาท (เฉพาะสั่งออนไลน์) ฟรีค่าจัดส่งแบบลงทะเบียน การจัดทำแบบกำหนดหน้าที่งานในปัจจุบัน ต้องมีการปรับปรุงพัฒนาแบบฟอร์มการเขียนให้สอดคล้องกับเครื่องมือที่นำมาใช้ของแต่ละองค์การ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการนำไปใช้งาน เกิดความสะดวก ตรวจสอบง่าย
คณเคยถูกคาดหวังให้ทำตัวหรือมีพฤติกรรมอย่างไรในองค์กรจากเจ้านาย หรือเพื่อนร่วมงานหรือไม่ ถามเช่นนี้ ก็เพราะว่าระยะสองสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ ผมได้มีโอกาสเข้าไปร่วมทำงานและแลกเปลี่ยนความรู้กับ 3 องค์กร ในฐานะที่ปรึกษาและวิทยากรหัวข้อ ค่านิยมร่วมและการสร้างวัฒนธรรมองค์กร ก่อนอื่นผมอยากจะทำความเข้าใจ ตามภาพต้นไม้ข้างต้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจ เรื่องวัฒนธรรมองค์กรได้มากยิ่งขึ้น ก่อนว่า ในองค์กรหนึ่งนั้น การที่จะให้พนักงานมีความรู้สึกร่วมหรือค่านิยมร่วม องค์กรต้องสร้างความเชื่อมั่น(Beliefs)ก่อน ซึ่งเปรียบเสมือนส่วนรากของต้นไม้ เมื่อพนักงาน เกิดความเชื่อถือ
ทุกองค์การให้ความสำคัญของการได้มาและรักษาพนักงานดาวเด่น(Talent) ไว้ในองค์การ ถ้าไปถามว่าปีนี้หรือปีหน้าสิ่งที่องค์การต้องการอยากทำมากที่สุดในอันดับต้นคืออะไร ส่วนใหญ่องค์การมักจะตอบได้เลยว่าเป็นเรื่องของการจัดการพนักงานดาวเด่น ไม่ว่าจะเป็นการรับคนการจัดโครงการต่างๆ เพื่อที่จะรักษาคนดีคนเก่งขององค์การเอาไว้ ผู้บริหารเริ่มยอมสละเวลาและมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น ในแต่ละองค์การสัดส่วนพนักงานดาวเด่นที่มีความรู้ความสามารถ ย่อมน้อยกว่าคนไม่เก่ง และแน่นอนครับพนักงานที่มีความรู้ ความสามารถ จะเป็นกลไกสำคัญ หรือเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้องค์การขับเคลื่อนไปอย่างรวดเร็วขึ้น หลายองค์การเฟ้นหาคนที่มีความรู้ ความสามารถ จากทั้งภายในและภายนอก ซึ่งการเฟ้นหาจากภายนอกแต่ละองค์การมีวิธีที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งที่ควรจะพิจารณาด้วยว่า พนักงานที่เป็นดาวเด่นจากองค์การอื่น ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเก่งที่อีกองค์การหนึ่งเสมอไป
บางครั้งผู้บริหารมีความตั้งใจมุ่งงานเพียงอย่างเดียวเพื่อที่จะให้งานประสบความสำเร็จ ลืมนึกไปว่าลูกน้องที่ทำงานอยู่ ไม่มีใจในงานที่นายสั่งให้ทำแล้ว งานที่ทำอยู่นั้นก็ไม่ประสบความสำเร็จอยู่ดี ฉะนั้นหัวหน้างานและผู้บริหารจึงควรจะมีวิธีการสังเกต ลูกน้องของตนเองว่า พฤติกรรมอย่างไรบ้างที่พนักงานท่านนั้นไม่มีใจให้กับองค์การแล้ว จากประสบการณ์ของผู้เขียน ที่เคยสัมผัสกับพนักงานมาที่มีพฤติกรรมดังกล่าว จึงอยากจะขอแชร์ประสบการณ์ จากที่ผู้เขียน เคยปฏิบัติงานในโรงงานแห่งหนึ่ง ในเขตจังหวัดสระบุรี โดยงานที่รับผิดชอบ คือ งานด้านแรงงานสัมพันธ์และฝึกอบรม ซึ่งงานด้านนี้ส่วนใหญ่ก็จะมีพนักงานที่ไปร่วมงานฝึกอบรมจะเข้ามาหารือบ่อยๆ ถึงเรื่องปัญหาในงานในแผนก และวิธีการทำงาน เวลาส่วนใหญ่ที่พนักงานเข้ามาหารือมักจะเป็นในช่วงเย็นหลังจากได้มีการสังสรรค์กับในหมู่เพื่อน
บางครั้งคณะกรรมการสัมภาษณ์จะมุ่งเน้นที่จะสัมภาษณ์ผู้สมัครอย่างเดียวคงไม่ทันกาล เพราะว่าในโลกปัจจุบันขณะนี้ผู้สมัครก็มีทักษะ ความรู้ ความสามารถเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับการแสดงออกของผู้สมัครในยุค Gen Y ก็มีความเข้มข้น มีความกล้าแสดงออก มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงมาก จนกระทั่งผู้ที่เป็นคณะกรรมการสัมภาษณ์ที่มีประสบการณ์น้อย ไม่สามารถทราบได้เลย ผู้สมัครมีความสามารถ และทักษะสูง ตามคำกล่าวอ้างหรือไม่ หรือในบางแง่มุมหนึ่งของชีวิต ผู้สมัครเอง อาจจะไม่ได้ระวังตัวเอง เมื่อยังไม่ถึงเวลาเข้าเวทีการสัมภาษณ์งานจริง ซึ่งองค์กรต้องหาวีธีการที่จะสังเกตพฤติกรรมผู้สมัครให้ได้อย่างแยบยล
กระบวนการสรรหาบุคลากรในองค์กร เป็นกิจกรรมแรกที่ผู้สมัครต้องสัมผัสกับกิจกรรมนี้เป็นอันดับแรก ซึ่งผู้บริหารต้องพยายามสร้างสรรค์กิจกรรมให้เกิดขึ้นไปในทางที่ผู้สมัครเกิดความพึงพอใจ หรือเกิดความประทับใจ แค่สัมผัสครั้งแรก ก็เกิดความรู้สึกว่าอยากร่วมงานด้วย กระบวนการสรรหาบุคลากร จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายนักบริหารงานบุคคลเป็นอย่างยิ่ง ว่าในอนาคตจำเป็นจะต้องวางแผนงานและโครงการสรรหาบุคลากรให้มีคุณภาพอย่างไร ผู้เขียนขอยกตัวอย่างกระบวนการสรรหาบุคลากรที่ดำเนินการอย่างเป็นระบบจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการปฏิบัติดังต่อไปนี้ 1. กำหนดตำแหน่งที่ต้องการเปิดรับสมัคร โดยศึกษาข้อมูลจากแผนทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร ตามโครงสร้างขององค์กรและมีการยืนยันข้ออ้างจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเสนอเป็นภาพรวมว่า องค์กรต้องการบุคลากรใหม่เข้ามาปฏิบัติงานในตำแหน่งใดบ้าง ซึ่งจากกระบวนการนี้ บริษัทต้องทำการวางแผนกลยุทธ์ไว้แต่ละปีหรือวางแผนไว้ 5 ปี
ฝ่ายทรัพยากรบุคคล เป็นหน่วยงานที่จะต้องคัดเลือกคนเข้าทำงานในหน่วยงานต่างๆ แล้ว แต่สำหรับหน่วยงานที่อยู่ในสังกัดของตัวเอง ก็จะต้องพิถีพิถันเป็นอย่างมาก ในการสรรหาและคัดเลือกผู้ที่จะมาทำหน้าที่ในการทำค่าจ้างของพนักงานทั้งหมดขององค์กร ผู้อ่านเมื่อฟังแล้วอาจจะมีข้อสงสัย ว่าทำไมจึงต้องสรรหา คัดเลือกผู้ที่จะมาทำหน้าที่นี้ ก็ไม่เห็นจำเป็นเลย ใครมาทำหน้าที่ก็ได้ เพราะว่าก็น่าจะเหมือนกับหน่วยงานอื่นๆ โดยทั่วไป สิ่งที่เจ้าหน้าที่ผู้นี้รับรู้ คือ การขึ้นเงินเดือนของพนักงานทั้งหมด ขององค์กร และไม่ได้เห็นเฉพาะพนักงานระดับเดียวกันเท่านั้น เขาเห็นระดับตำแหน่งที่สูงกว่าเขาด้วย
การกระทำของพนักงานทั้งสองแบบถ้าผู้บริหารองค์กรไม่ให้ความใส่ใจแล้วจะส่งผลต่อพฤติกรรมพนักงานในอนาคตทันทีพฤติกรรมที่ผู้เขียน อาจจะยกมาเป็นประเด็นให้ผู้บริหารองค์กรได้เข้าใจ ถึงพฤติกรรมพนักงาน จากที่ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์ตรง
องค์กรยุคใหม่ ที่ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถของพนักงาน ก็ต้องคิดหาวิธีการที่จะทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกที่ดีต่อองค์กร เมื่อพนักงานได้รับการบริการที่ดีจากองค์กร ก็จะมีความทุ่มเทให้บริษัท หลักการบริการองค์กรก็ต้องอาศัยผู้บริหารที่มี ทักษะ ความรู้ และมีจิตวิทยาการบริหารคน ควบคู่เข้ามาด้วย
ผู้บริหารองค์กรมักจะเกิดปัญหาเรื่องนี้ กับหน่วยงานภายในองค์กรอยู่เป็นประจำ หัวหน้าหน่วยงาน บ่นเรื่อง อัตรากำลังไม่เพียงพอ ลูกค้าเข้ามารับบริการมากจนบริการไม่ทัน ลูกน้องลาหยุดงานบ่อย จนกระทบต่อการบริการของบริษัท ลูกน้องถูกยืมตัวไปช่วยงานที่หน่วยงานอื่น ลูกน้องบางคนไปเข้ารับการอบรมหลักสูตรภาคบังคับของบริษัท สิ่งที่ผู้เขียนได้ รับฟังมาจากหัวหน้าในสายงาน บ่นให้ฟังอยู่เป็นประจำ หรือเขียนเหตุผลของการขออัตรากำลังเพิ่ม เข้ามายังฝ่าย HR เพราะต้องการให้ผู้บริหารอนุมัติ อัตรากำลังเพิ่ม