จากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา เป็นสิ่งหนึ่งที่ตัวผมเองได้ประสบปัญหากับตนเองและได้ใช้เทคนิคนี้ให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงาน ซึ่งชีวิตการทำงานของพนักงานที่อยู่ในโรงงานที่ประจำอยู่ต่างจังหวัด ห่างไกลจากตัวเมืองพอสมควร การเจ็บไข้ได้ป่วย ย่อมเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ มักจะเกิดขึ้นได้ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2533 ตัวผมเองได้รับการสัมภาษณ์งานและบรรจุแต่งตั้งไปดำรงตำแหน่ง เป็น เจ้าหน้าที่บุคคล ประจำอยู่ โรงงานผลิตกระเบื้องปูพื้นและบุผนังแห่งหนึ่ง ในเขตจังหวัด สระบุรี ขณะที่ไปทำงานใหม่ๆ บรรยากาศการทำงานเป็น สังคมพื้นบ้าน
ในฉบับที่แล้วผู้เขียนได้อธิบายถึง การบริหารคนให้มีความสอดคล้องกับยุคเศรษฐกิจในสภาวะปัจจุบัน ซึ่งองค์การบางแห่งได้ผ่านยุคต่างๆ มาโดยเริ่มตั้งแต่ ยุคเกษตรกรรม ยุคอุตสาหกรรม ยุคสารสนเทศ และยุคการจัดการความรู้ จนกระทั่งมาในขณะนี้เราก้าวเข้าสู่ยุคหลังการจัดการความรู้ ในฐานะผู้บริหารระดับสูงควรจะมีบทบาทในการบริหารองค์การให้มีความสอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เมื่อเราเข้าสู่ยุคหลังการจัดการความรู้ นั้นเราเตรียมพร้อมเข้าสู่ สังคมการดูแล เอาใจใส่ การมีส่วนร่วมช่วยเหลือ และช่วยคิดช่วยทำ ซึ่งกันและกัน เพื่อนำพาสังคมไปสู่การพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม ผู้เขียนจะขออธิบายการวางกลยุทธ์ขององค์การให้มีความสอดคล้องกับสังคมยุคหลังการจัดการความรู้ โดยก่อนวางแผนกลยุทธ์องค์การต้องคำนึงถึงปัจจัยทั้ง 4 ด้านหลักดังต่อไปนี้
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่แต่ละองค์กร ได้จัดตั้งขึ้น เพื่ออำนวยประโยชน์ให้กับพนักงาน แต่พนักงานมองไม่เห็นประโยชน์ ซึ่งผู้เขียนอยากจะขอทำความเข้าใจ เกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้เกิดความเข้าใจ กล่าวคือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น เงินของกองทุนมาจากเงินที่ลูกจ้างจ่ายส่วนหนึ่งเรียกว่า “เงินสะสม” และนายจ้างจ่ายเงินเข้าอีกส่วนหนึ่งเรียกว่า “เงินสมทบ” นั่นคือ นอกจากลูกจ้างจะออมแล้ว นายจ้างยังช่วยลูกจ้างออมอีกแรงหนึ่งด้วย และนายจ้างจะจ่ายสมทบในจำนวนเท่ากันหรือมากกว่าที่ลูกจ้างจ่ายสะสมเสมอ จึงอาจกล่าวได้ว่าการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นรูปแบบหนึ่งของการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง จึงช่วยสร้างแรงจูงใจให้ลูกจ้างทำงานให้กับนายจ้างนานๆ
บริษัทที่จัดสวัสดิการให้กับพนักงาน ที่อาจจะครอบคลุมถึงครอบครัวพนักงาน ซึ่งบางครั้ง เมื่อหน่วยงาน HR นำไปปฏิบัติให้เกิดผลเลิศแล้ว อาจจะประสบปัญหาตามมาอีกมากมาย บางครั้ง ทำให้กระทบกระเทือนจิตใจพนักงานที่ทำงานภายในองค์กรก็มี จากที่ผู้เขียนมีประสบการณ์ที่สมัยตอนทำงานอยู่ โรงงานแห่งหนึ่ง มักจะพบว่า กรณีที่บริษัทให้สวัสดิการพนักงาน โดยคลอบคลุมถึงครอบครัวพนักงาน เช่น สามี ภรรยา บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเมื่อมีการเขียนไว้ในลักษณะนี้ ฝ่ายบุคคลจะต้องมีเอกสารกำกับทุกคนว่า
สวัสดิการพนักงาน ที่ทุกองค์กรนิยมที่จะจัดให้กับพนักงาน เพื่อให้พนักงานเกิดความรู้สึกที่ดี ต่อบริษัทว่ามีสวัสดิการที่ดีให้กับพนักงานเพิ่ม โดยมองว่าเป็นสิ่งที่ช่วยให้พนักงานได้ตัดสินใจอยู่กับองค์กรนานๆ นั่นคือแนวคิดสมัยดั้งเดิมสำหรับพนักงานที่เป็นรุ่น Gen B เมื่อเวลาเปลี่ยนไป การจัดสวัสดิการของบริษัท ฝ่าย HR จะต้องมีเข้าใจกับพฤติกรรมมนุษย์ ของพนักงานที่เป็นคนรุ่นใหม่ด้วยเช่นกัน ไม่เช่นนั้นจะเป็นการจัดสวัสดิการให้กับพนักงานที่เป็นการสูญเปล่า เพราะพนักงานไม่ค่อยให้ความสำคัญต่อสวัสดิการที่บริษัทได้จัดให้ ทั้งๆ ที่เมื่อสมัยก่อน ถือว่าเป็นสวัสดิการที่สร้างแรงจูงใจเป็นอย่างมาก สำหรับพนักงานที่เติบโตมากับองค์กร
องค์กรยุคใหม่ ที่ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถของพนักงาน ก็ต้องคิดหาวิธีการที่จะทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกที่ดีต่อองค์กร เมื่อพนักงานได้รับการบริการที่ดีจากองค์กร ก็จะมีความทุ่มเทให้บริษัท หลักการบริการองค์กรก็ต้องอาศัยผู้บริหารที่มี ทักษะ ความรู้ และมีจิตวิทยาการบริหารคน ควบคู่เข้ามาด้วย