คำถามในลักษณะนี้มีอยู่ในองค์การทั่วไป แต่ถ้าเป็นองค์การที่ไม่มีกฎเกณฑ์อะไร ก็จะรับกลับเข้ามาทำงานใหม่ โดยไม่ต้องผ่านการอนุมัติจากผู้บริหารแต่อย่างใด สำหรับบริษัทเล็กๆ มีพนักงานไม่มาก หรือเป็นบริษัทที่เพิ่งเติบโตจากธุรกิจในครอบครัว ก็จะยังไม่มีผลต่อคนหมู่มากเท่าใดนัก แต่สิ่งที่ผู้เขียนอยากจะขอยกตัวอย่างเป็นกรณีศึกษา สำหรับองค์การที่มีพนักงานอยู่ในบริษัทมากๆ หรือมีบริษัทในเครืออีกหลายแห่ง จะมีผลกระทบตามมาค่อนข้างมาก กล่าวคือ สมมุติว่าถ้าเกิดกรณีพนักงาน 1 คนลาออกจากองค์การไป ไม่ว่าจะออกด้วย การเขียนใบลาออกอย่างถูกต้อง หรือ การขาดงาน
ผู้บริหารองค์กรและนักบริหารงานบุคคลต้องเตรียมเก็บข้อมูลของพนักงานในแต่ละเดือนของทุกๆ ปี ไว้ด้วยว่าพนักงานในองค์กรมีความเคลื่อนไหวในแต่ละเดือนอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นประโยชน์ในการสรรหาและคัดเลือกคนเข้าสู่องค์กรด้วยเช่นกัน ถ้าหน่วยงานบริหารงานบุคคลไม่ได้เก็บข้อมูลเอาไว้ ก็จะไม่ทราบเลยว่าบริษัทหรือองค์กรมีพนักงานเคลื่อนไหวในแต่ละเดือน และนำข้อมูลดังกล่าวไปวางแผนในการรับคนมาทดแทนได้ถูกต้องอีกด้วย จากที่ผู้เขียนมีประสบการณ์ในการทำงาน ทั้งในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม และธุรกิจโรงพยาบาล ผู้เขียนมักจะเก็บข้อมูลพนักงานที่ลาออกในอัตราที่สูงที่สุดของแต่ในเดือน ซึ่งในช่วงเดือนดังกล่าวจะต้องเตรียมแผนในการับคนมาทดแทนได้ทันความต้องการขององค์กรได้ ซึ่งการเก็บข้อมูลของหน่วยงานที่รับผิดชอบในการลาออกของพนักงานต้องนำมาเปรียบเทียบกันในแต่ละปีด้วย เพื่อจะได้ดูแนวโน้มของพนักงานที่ลาออกมากที่สุดในช่วงเดือนใด ซึ่งการลาออกของพนักงานดังกล่าว จะต้องมีเหตุผลที่สามารถอธิบายได้ด้วยหลักการและข้อมูลข้อเท็จจริง โดยผู้เขียนขอนำเสนอข้อมูลที่เป็นขององค์กรแห่งหนึ่งที่ผู้เขียนเคยเก็บข้อมูลไว้ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงและนำมาวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรได้ แต่อย่างไรก็ตามนักบริหารงานบุคคลจะต้องมีข้อมูลเชิงลึกของพนักงานที่ลาออกจากองค์กรด้วยเช่นกัน เพราะว่าเหตุผลของพนักงานที่เขียนในแต่ละคนมีความหลากหลาย