Job Description การจัดทำแบบกำหนดหน้าที่งานบนพื้นฐาน Competency อธิบายวิธีเขียนแบบสมบูรณ์ ราคา 170 บาท โปรโมชั่นพิเศษ ลดเหลือ 110 บาท (เฉพาะสั่งออนไลน์) ฟรีค่าจัดส่งแบบลงทะเบียน การจัดทำแบบกำหนดหน้าที่งานในปัจจุบัน ต้องมีการปรับปรุงพัฒนาแบบฟอร์มการเขียนให้สอดคล้องกับเครื่องมือที่นำมาใช้ของแต่ละองค์การ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการนำไปใช้งาน เกิดความสะดวก ตรวจสอบง่าย
ในวงการ HR ถ้าเรามามองรอบๆตัวเราจะเห็นว่ามีคนเก่ง (Highly Intelligence) เป็นจำนวนมาก ในสังคมครอบครัวหรือที่ทำงาน บางครั้งเราเองก็คงแอบคิดหรือคิดดังๆ อยู่เหมือนกันว่าเราก็เป็นคนเก่งคนหนึ่ง หากเราพิจารณาให้ลึกลงไปอีก เราก็จะพบว่าคนเก่งๆ ของเราบางท่านก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จในหน้าที่การทำงาน รวมไปถึงความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในองค์การ ในวงการ HR ถ้าเรามามองรอบๆตัวเราจะเห็นว่ามีคนเก่ง (Highly Intelligence) เป็นจำนวนมาก ในสังคมครอบครัวหรือที่ทำงาน
ผู้เขียนจะขอเน้นการนำ Competency มาใช้กับ กระบวนการสรรหาและคัดเลือกพนักงานเข้าสู่องค์การเป็นประเด็นได้ดังนี้ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสมัยใหม่ต้องไม่ยึดติดกับรูปแบบเดิมอีกต่อไป ต้องคิดเสมอว่าจะคิดหารูปแบบการบริหารที่สอดคล้องกับสังคมยุคใหม่ที่เปลี่ยน แปลงไปอย่างรวดเร็ว วีธีการหนึ่งที่องค์การสมัยใหม่ได้เตรียมวางแผนการบริหารการจัดการสรรหา คัดเลือกคนที่สอดคล้องและเหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์การ โดยเริ่มกระบวนการตั้งแต่การสรรหาและคัดเลือกคนเข้าวสู่องค์การ โดยอาศัย competency มาเป็นเครื่องมือหนึ่งในการรับคนเข้าสู่องค์การ ซึ่งบางบริษัทได้เริ่มวางแผนรับคนตั้งแต่อยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย มีโอกาสได้สิทธิ์ในการคัดเลือกพนักงานก่อนองค์การอื่น หรือที่เรียกว่า การคัดเลือกพนักงานที่เป็นดาวเด่นที่ยังไม่จบจากมาหาวิทยาลัย (young Talent) ดำเนินการ
จากบทความ 2 ฉบับที่แล้วได้กล่าวถึง competency มาใช้ในกระบวนการทรัพยากรมนุษย์ในภาพรวมและผู้เขียนได้เขียนในบทความถัดมาโดยเน้นไปที่ กระบวนการสรรหาและคัดเลือกพนักงานเข้าสู่องค์การ ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านมองเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ก่อนที่จะเข้าประเด็นการนำเครื่องมือ Competency มาใช้ในการพัฒนาพนักงานนั้น ขอเกริ่นนำระบบงานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นที่เข้าใจพอสังเขปก่อนดีกว่าครับ จากแผนภูมิภาพด้านบนที่ผู้อ่านได้เห็นนั้น เป็นระบบงานของ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะแบ่งออกเป็นงานๆ โดยเริ่มตั้งแต่ การสรรหาคัดเลือก การบรรจุแต่งตั้ง การฝึกอบรมพัฒนา การวางแผนอาชีพ การบริหารผลตอบแทน
สังคมยุคใหม่ที่ผู้บริหารต้องเข้าใจและรับรู้ เพื่อต้อนรับแนวคิดของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการก้าวกระโดดเข้าสู่วงการในโลกสังคมการทำงาน เมื่อสมัยก่อนยุคแรกๆ มีการปลอมแปลงวุฒิการศึกษา เพื่อที่จะเข้ามาทำงานให้ได้ในบริษัทที่เขาใฝ่ฝัน แต่นายจ้างก็รู้ทันเกมส์ ลูกจ้าง ก่อนที่จะรับเข้าทำงาน ก่อนที่จะมีการประเมินผ่านการทดลองงานในบริษัท จะมีการตรวจสอบวุฒิการศึกษา จากสถาบันการศึกษาแต่ละแห่งก่อน ซึ่งเป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งของงานสรรหาว่าจ้าง จะต้องทำการตรวจสอบให้เสร็จก่อนที่จะมีการบรรจุ เข้าเป็นพนักงาน ในบริษัท เมื่อสมัยก่อนไม่ค่อยมีการตรวจสอบกัน แต่พอมายุคปัจจุบันเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกองค์กร จะต้องสร้างระบบการตรวจสอบให้รวดเร็วทันกาล เพื่อไม่ให้เกิดการรับคนที่ไม่ถูกต้อง ไม่ตรงความต้องการขององค์กร
บริษัทโดยส่วนใหญ่ คิดว่าเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ไม่สำคัญ ถ้าไม่มีมาตรการอะไรมารองรับ การสรรหาคัดเลือกพนักงานเข้าสู่องค์กร ซึ่งการรับพนักงาน บางบริษัทก็จะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดเป็นผู้รับผิดชอบ มีอำนาจในการตัดสินใจเลือกพนักงานเข้ามาร่วมงาน
องค์กรสมัยใหม่มีการตื่นตัวมากขึ้น ที่จะมุ่งเน้นให้พนักงานมีความรู้และทักษะความสามารถในงาน โดยการวางระบบประเมินศักยภาพของพนักงานภายในองค์กรว่า พนักงานคนใดที่มีความรู้ความสามารถในการทำงาน มากน้อยเพียงใด…
การจัดทำ Functional competency ของแต่ละองค์กร ซึ่งบางครั้งต้องยอมรับว่า เป็นเรื่องที่ผู้บริหารองค์กรต้องทำความเข้าใจ ให้ถูกต้องตั้งแต่เริ่มแรก เพราะว่าหลายๆ บริษัท ที่เคยประสบปัญหาคือ ลงมือทำโดยไม่มีประสบการณ์ ในการทำเรื่องนี้เลย พอจัดทำหลายๆ หน่วยงาน ก็เริ่มมีปัญหาตามมาอีกมากมาย….
บริษัทที่ได้ทำการประเมิน competency ของพนักงานทั้งองค์กร ซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่ ทำให้เรามองเห็นศักยภาพของพนักงานแต่ละคน เพื่อที่จะได้ทราบว่า บริษัทควรจะพัฒนาองค์กรไปในทิศทางใด ฝ่าย HR จะนำข้อมูลผลการประเมิน competencyมาเป็นส่วนหนึ่งในการหาความต้องการในการฝึกอบรม เพื่อจัดทำแผนฝึกอบรมในแต่ละปี แต่เมื่อผู้บริหารองค์กรได้นำเครื่องมือcompetency มาใช้ในการขึ้นค่าจ้างของพนักงาน ผลปรากฏว่า ผลการประเมินศักยภาพของพนักงาน เริ่มมีทิศทางที่ มีgapติดลบน้อยลง จากการที่ผู้เขียนได้เข้าไปที่ปรึกษา ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและเอกชน
บริษัทที่ได้ทำการประเมิน competency ของพนักงานทั้งองค์กร เพื่อมาดำเนินการจัดทำ แผนฝึกอบรมประจำปี โดยนำ competency gap มาเป็นข้อมูลในการออกแบบหลักสูตรในการฝึกอบรมประจำปี …