การบริหารอัตรากำลังสำหรับองค์กร นับว่าเป็นด่านแรกที่ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญ เพราะว่าเป็นต้นทุนที่บอกได้ว่าบริษัทจะเป็นหนึ่งเหนือคู่แข่งขันได้หรือไม่ การบริหารอัตรากำลังแต่ละองค์กร จึงเป็นส่วนสำคัญที่ผู้บริหารมุ่งเน้นการพัฒนาความรู้ ความสามารถ ให้กับทีมงานที่เป็นระดับหัวหน้างาน/ผู้จัดการ ที่รับผิดชอบงานต่างๆ ภายในบริษัท รวมกระทั่งฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่จะต้องเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการคำนวณอัตรากำลังในแต่ละงานภายในองค์กร ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่หัวหน้างานที่รับผิดชอบเท่านั้น หน่วยงาน HR จะต้องมีความเข้าใจกระบวนการทำงานขององค์กรทั้งหมดด้วย เพื่อที่จะได้ทราบถึงปริมาณงานหรือภาระงานของหน่วยงานอย่างแท้จริง ซึ่งจะมีส่วนช่วยตรวจสอบ ดูแลด้านอัตรากำลังของแต่ละหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นนั่นเอง ผู้เขียนได้มีตัวอย่าง การวิเคราะห์อัตรากำลังพนักงานขององค์กรแห่งหนึ่งมาเป็นตัวอย่าง เพื่อที่จะเป็นการเรียนรู้ในการบริหารอัตรากำลังได้แม่นยำขึ้น
สิ่งที่ได้รับจากการโยกย้ายพนักงาน นอกจากจะเป็นการช่วยส่งเสริมให้พนักงานได้รับความรู้ และทักษะที่เพิ่มขึ้นแล้ว สิ่งที่ได้ตามมา ที่ได้กับพนักงานก็คือ ความแปลกใหม่ในการทำงาน ไม่รู้สึกน่าเบื่อกับการทำงานที่จำเจประจำมานาน บริษัทใหญ่ๆ ที่ประสบความสำเร็จ จะกำหนดนโยบายขององค์กรเลยว่า พนักงานจะต้องทำงานในตำแหน่งหน้าที่เดิมไม่เกิน 4 ปี จะต้องมีการโยกย้ายไปหน่วยงานใหม่ หรือบริษัทใหม่ที่อยู่ในเครือ เพื่อเป็นการสับเปลี่ยนหมุนเวียนหน้าที่งานให้เกิดความเหมาะสม การกำหนดเป็นนโยบายอย่างชัดเจน ซึ่งจะเป็นผลดีต่อบริษัทและพนักงานที่จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของบริษัท โดยไม่เกิดความรู้สึกว่าบริษัทกลั่นแกล้งพนักงาน โยกย้ายพนักงานไปดำรงตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม
สำหรับบริษัทที่กำลังจะพิจารณาถึงเรื่อง การสร้างแรงจูงใจสำหรับพนักงานใหม่ที่จะเข้ามาสู่องค์กร คงจะต้องใช้ประเด็นในเรื่องนี้เป็นอันดับแรกๆ เพราะว่าโดยส่วนใหญ่ บริษัทไม่ค่อยให้ความสำคัญในการพิจารณาให้พนักงานที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร แล้วจะต้องได้รับการพิจารณาการประเมินผลการปฏิบัติงานในช่วงทดลองงาน ซึ่งทางฝ่าย HR ก็จะทำตามระบบของข้อบังคับของบริษัทหรือแนวปฏิบัติของการผ่านทดลองงานของพนักงานใหม่ ที่ได้รับการบรรจุเข้ามาเป็นพนักงาน โดยไม่ได้คำนึงถึงความรู้ ความสามารถของพนักงานแต่อย่างใดเลย ถึงแม้ว่าพนักงานที่มีทักษะ ความรู้ ความสามารถที่มีประสบการณ์ในการทำงานมาแล้วก็ตาม ก็จะต้องดำเนินการทดลองงานเหมือนกันพนักงานทั่วไปเช่นกัน บริษัทที่ให้ความสำคัญในเรื่องคน ส่วนใหญ่จะพิจารณาในเรื่องนี้เป็นอันดับแรก เพราะว่าเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานที่ได้ตัดสินใจเข้ามาร่วมงานภายในองค์กร ได้เกิดความรู้สึกที่ดีว่าบริษัทได้ให้ความสำคัญ
การให้พนักงานสามารถเปลี่ยนวันหยุดได้ตามความเหมาะสม เมื่อพนักงานมีความจำเป็นที่กรณีวันหยุด แต่ไม่สามารถหยุดได้ เพราะอาจจะเกิดจากงานไม่เสร็จ หรือลูกค้ารายใหญ่เข้ามาเยี่ยมกิจการ เครื่องจักรเสียหายต้องทำการซ่อมแซมอย่างเร่งด่วน เป็นต้น การเปลี่ยนวันหยุดของพนักงานย่อมเกิดขึ้นได้ เพราะว่าเป็นวันหยุดของพนักงานแล้วพนักงานไม่ได้หยุด จึงขออนุมัติหัวหน้าเปลี่ยนวันหยุดไปเป็นวันอื่น ซึ่งถ้าเป็นกรณีลักษณะนี้ ก็จะสามารถเปลี่ยนวันหยุดได้ตามความเหมาะสม แต่ควรจะอยู่ภายในอาทิตย์เดียวกัน เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาผิดกฎหมายแรงงานได้ แต่อย่างไรก็ตามปัญหาที่พบ กรณีที่ผู้เขียนได้พบจากบางบริษัทที่มีข้อซักถามจากฝ่ายบุคคลว่า มีกรณีพนักงานเปลี่ยนวันหยุด โดยนำวันหยุดในอนาคตมาหยุดก่อนจะได้หรือไม่ ซึ่งจะมีพนักงานได้อ้างเหตุผลถึงความจำเป็นที่จะต้องนำมาหยุดก่อนหลากหลายเหตุผล ตามทัศนะของผู้เขียนไม่ค่อยเห็นด้วยที่จะให้นำวันหยุดในอนาคตของพนักงานมาใช้หยุดก่อน
จากที่ผู้เขียนเข้าไปเป็นที่ปรึกษาบริษัทหลายแห่ง สิ่งที่พบบ่อยๆ ในการจัดทำ Functional Competency ก็คือ 1.หน่วยงานมักจะเขียนหัวข้อ Functional Competency ให้มากไว้ก่อน เพื่อให้ดูว่าจำนวนภาระงานของตนเองมีมาก 2.เมื่อนำมาเขียน Competency Level ส่วนใหญ่มักจะเขียนอ่อนๆ ไว้ก่อน 3.นำหัวข้อที่ไม่เกี่ยวกับ Functional Competency มาเขียน
การตรวจสุขภาพประจำปีของบริษัท ถ้าเป็นองค์กรยุคใหม่ ก็จะใช้ผลของการตรวจสุขภาพพนักงานประจำปีของพนักงาน มาเป็นเครื่องมือหนึ่งในการปรับสวัสดิการ เพื่อเป็นประโยชน์ของพนักงานภายในองค์กรให้ได้มากที่สุด ซึ่งบางครั้งผู้บริหารองค์กรโดยส่วนใหญ่ จะไม่ค่อยให้ความสำคัญในการดูแลพนักงาน ให้ได้รับการตรวจสุขภาพพนักงานอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ทางการแพทย์ เพราะโดยปกติผู้บริหาร จะมีการประกาศของบริษัท ให้พนักงานมาเข้ารับการตรวจสุขภาพพนักงานประจำปี ในวันที่บริษัทกำหนดไว้ โดยไม่สนใจว่าพนักงานจะสะดวกในวันดังกล่าวหรือไม่ และก็ไม่ใส่ใจเลยว่า
นักบริหารงานบุคคลโดยส่วนใหญ่ ต้องยอมรับว่า ไม่ได้นำเรื่องนี้มาพิจารณาถึงความจำเป็นต่อบริษัทในอนาคตอย่างไร เพราะว่าสภาวะปัจจุบัน ต้องยอมรับว่า การขาดแคลนแรงงานที่ต้องมาเสริมทีมงานในระดับ แรงงาน ค่อนข้างหายาก และขาดแคลนเป็นอย่างมาก การสรรหาและคัดเลือก คนเข้าสู่องค์กรจึงเป็นวิถีทางที่ เจ้าหน้าที่สรรหาต้องดิ้นรน เพื่อที่จะให้ได้พนักงานเข้ามาทำงานให้ทันต่อความต้องการของบริษัท นอกจากเป็นความจำเป็นเร่งด่วนแล้ว ก็ต้องได้คนที่มี ความรู้ ความสามารถ มีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานในบริษัทอีกด้วย การที่ทุกบริษัท เกิดปัญหาคล้ายๆกันในลักษณะนี้
ความเป็นมืออาชีพ ของเจ้าหน้าที่สรรหา ในยุคปัจจุบัน การสรรหาและคัดเลือกพนักงานเข้าสู่องค์กร เป็นงานที่ท้าทายของฝ่าย HR เป็นอย่างมาก เพราะว่าแทบทุกบริษัทประสบปัญหาการรับพนักงานเข้ามาเติมเต็ม ในตำแหน่งงานที่ยังขาดอยู่ ซึ่งหามาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว ก็ยังไม่มีพนักงานที่สนใจและถูกใจที่จะมาสวมตำแหน่งที่บริษัทต้องการได้ ประกอบกับพนักงานในองค์กรเอง ก็ลาออกอยู่เรื่อยๆ จนกระทั่งเป็นการขาดพนักงานสะสมเป็นจำนวนมาก ผู้บริหารจึงพยายามแก้ปัญหาที่สามารถแก้ไขและปรับได้ง่ายก่อน โดยการปรับสวัสดิการ ค่าจ้างของบริษัท ให้สูงขึ้น เพื่อเป็นการดึงดูดพนักงานที่สนใจ
กรณีที่พนักงานได้มาสมัครงาน เพื่อที่จะมาเป็นพนักงานของบริษัท โดยส่วนใหญ่แทบทุกองค์กร จะให้พนักงานได้ไปทำการตรวจสุขภาพก่อนเข้าปฏิบัติงาน ตาม list ที่บริษัทได้กำหนดไว้ จากที่ผู้เขียนได้เข้าไปเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัท หลายๆ บริษัท มักจะมีประเด็นนี้ ขึ้นมาสอบถามบ่อยครั้งมาก ว่ากรณีที่พนักงานมาตรวจร่างกายที่บริษัทได้ ให้ไปตรวจก่อนเข้าปฏิบัติงาน ใครเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายกันแน่ ซึ่งฝ่ายลูกจ้างก็แน่นอนครับ ก็มองว่า ควรจะเป็นฝ่ายของบริษัทที่จะเป็นออกค่าใช้จ่าย เพราะเป็นผู้ได้รับประโยชน์ในการรับพนักงานเข้ามาปฏิบัติหน้าที่
การเปิดตัวโครงการพัฒนาสมรรถนะ (Competency Kick-off) เริ่มด้วยขั้นตอนการเปิดตัวโครงการพัฒนาสมรรถนะ ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญ มาก โดยองค์กรควรเชิญทีมงานที่ปรึกษาหรือวิทยากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับสมรรถนะ มาเป็นวิทยากรเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดของสมรรถนะและแผนการดำเนินงาน ของโครงการ แก่ผู้บริหารระดับต้น – สูง วัตถุประสงค์ของขั้นตอนนี้ก็เพื่อให้ผู้บริหารทุกระดับ ทุกคนมี ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสมรรถนะความสำคัญ และประโยชน์ รวมทั้งแผนการดำเนินงานของโครงการ และคาดหวังว่าผู้บริหารทุกท่านจะไปถ่ายทอดความรู้ต่อให้กับผู้ใต้บังคับบัญชารับทราบ สามารถตอบคำถามหรือข้อสงสัยในเบื้องต้นได้ รวมทั้งสามารถให้ความเห็น/ข้อเสนอแนะในการ