สำหรับองค์กรใหญ่ๆ นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นขององค์กร ที่จะต้องมีหน่วยงานที่รับผิดชอบ ด้านการบริหารแรงงานสัมพันธ์ของบริษัท เพื่อที่จะได้เข้าถึงพนักงานทุกระดับ และทุกหน่วยงาน บางองค์กรมองว่า บทบาทเรื่องแรงงานสัมพันธ์เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น ซึ่งอาจจะมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะว่า ถ้าปัญหาด้านแรงงานเกิดขึ้น มีการประท้วง นัดหยุดงานขึ้นมา ผลที่องค์กรได้รับก็คือ ความเสียหายต่อลูกค้า ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ เกิดข้อร้องเรียน ผู้เขียนจะช่วยเสริมความเข้าใจ เรื่องการบริหารแรงงานสัมพันธ์ในองค์กร เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารยุคใหม่
จากที่ผู้เขียนได้กล่าวมาตั้งแต่การดูแลพนักงานในช่วงเริ่มแรก การที่พนักงานได้ตัดสินใจมาเริ่มงานอยู่กับองค์กรเรา แสดงว่าความรู้สึกที่มีให้กับองค์กรย่อมมีอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าองค์กรได้ให้สิ่งที่ดีแก่เขากลับไปอย่างไร โดยเริ่มตั้งแต่ยังเป็นผู้สมัครงาน และก้าวมาเป็นพนักงานของบริษัท สิ่งที่พนักงานได้รับย่อมเกิดสัมพันธภาพที่ดี เกิดการรักองค์กร เพราะว่าได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร เมื่อถึงเวลาการประเมินผลทดลองงาน หัวหน้า/ผู้จัดการ ต้องดำรงซึ่งความยุติธรรม ในการประเมินผลกับลูกน้องในสายงาน ว่ามีส่วนดี ส่วนเสียอย่างไร มีตัวชี้วัดอย่างชัดเจนของแต่ละคน โดยให้โอกาสให้พนักงานได้ชี้แจงเหตุผล ในการประเมินผลด้วย เพื่อรับฟังข้อมูล
เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว Internet การสื่อสารไร้สายได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงโลก ย่อโลกให้เล็กลง ทุกอย่างเปลี่ยนไปหมด การทำธุรกิจ การบริหารงานองค์กรทุกอย่างจึงจะต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากระแสโลกด้วยเช่นกัน ทุกอย่างต้องรวดเร็วมากขึ้น ต้องแม่นยำมากขึ้น เพียงแค่เสี้ยวนาทีทุกอย่างอาจเปลียนแปลงจนไม่เหลือเค้าโครงเดิมก็ได้ นี่คือสภาพของการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน องค์ธุรกิจจึงต้องหาวิธี ที่จะช่วงชิงโอกาส ที่มีเวลาอันน้อยนิดเหล่านี้ หากองค์กรใด ยังใช้วิธีการเดิม ๆ ในการทำงาน ความสามารถทางการแข่งขันก็จะด้อยลงทันที และแน่นอนงานบริหารทรัพยากรบุคคลหรือ
ด้วยความเจริญทางด้านเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างรวดเร็วมาก การดำเนินการอะไรที่ให้กับพนักงาน ย่อมต้องให้ทันเหตุการณ์ เพราะหากปล่อยไว้ โดยไม่ได้แจ้งข่าวสารให้กับพนักงานได้รับทราบข้อมูล อาจจะส่งผลให้พนักงานได้ลาออกไปอยู่องค์กรอื่นได้ ในฐานะที่เป็นหัวหน้างาน/ผู้จัดการที่กำกับดูแลในสายงาน จำเป็นจะต้องมีการประชุมหารือ กับพนักงานในสังกัดอยู่เป็นประจำ ต้องมีข้อมูลของพนักงานในสังกัดว่า มีแนวคิดและมีแนวโน้มของพนักงาน ที่จะลาออกไปอยู่ที่บริษัทอื่น หรืออาจจะมีการซื้อตัวกันเกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้หน่วยงานด้าน Line จะทราบข้อมูลก่อน จะได้มีมาตรการหาแนวทางแก้ไขได้ทันเหตุการณ์ การสื่อสารให้กับพนักงาน ได้ทราบถึงโครงการต่างๆ ขององค์กร
จากที่ได้ทราบถึงบทบาท HR ต่อองค์กรหรือผู้บริหาร บทบาท HR ต่อ หัวหน้า/ผู้จัดการ และบทบาท HR ที่ต้องมีต่อพนักงาน ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ขององค์กร บทบาท HR ในส่วนนี้จึงเป็นหัวใจสำคัญ ในการลงถึงภาคปฏิบัติที่จะต้องเข้าไปลงมือทำเอง โดยรับนโยบายจากผู้บริหารสูงสุดของทางด้าน HR แล้วไปดำเนินการ ซึ่งถ้ามองแล้วบทบาทที่ได้ดำเนินการไปนั้น จะเป็นไปตามตำแหน่งของพนักงาน
การนำระบบงานพี่เลี้ยงเข้ามาใช้ มีความมุ่งมั่นที่จะให้การดูแลที่ดี และเพิ่มคุณค่าในตัวพนักงานให้มากขึ้นอยู่เสมอ ระบบพี่เลี้ยงจะเป็นตัวเสริมสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับองค์กรได้มากที่สุด โดยหลักการ ระบบงานพี่เลี้ยง จะมีทางด้านหน่วยงาน HR เป็นแม่งานในการจัดทำ ซึ่งทุกหน่วยงานจะต้องให้ความร่วมมือ ในการที่จะต้องส่งพนักงานที่มีคุณสมบัติครบตามที่องค์กรกำหนดไว้ ขึ้นมาเป็นพี่เลี้ยงของหน่วยงาน ซึ่งการกำหนดคุณสมบัติของพี่เลี้ยงไว้คร่าวๆ คือ ควรมีอายุงานกับองค์กรอย่างน้อย 3
เมื่อพนักงานปฏิบัติงานภายในองค์กร สิ่งที่ต้องได้รับเมื่อยามเจ็บป่วย ไข้ บางบริษัทได้จัดสวัสดิการ การรักษาพยาบาลเอาไว้ โดยอยู่ในรูปของงบประมาณของบริษัทแต่ละปี หรืออาจจะเป็นลักษณะในรูปแบบประกัน ชีวิต/ประกันอุบัติเหตุ ซึ่งการจัดสวัสดิการจะมีหลากหลายรูปแบบ เช่น สวัสดิการเงินกู้ สวัสดิการหอพัก สวัสดิการเงินช่วยเหลือค่าทำศพ เป็นต้น สิ่งที่ผู้เขียนจะขอยกเป็นตัวอย่างในภาพรวม ของรูปแบบการจัดสวัสดิการพนักงาน โดยฐานะที่เป็นหัวหน้า/ผู้จัดการ ต้องเอาใจใส่ลูกน้องที่อยู่ในสังกัดของตนเอง เพื่อที่จะได้รับสวัสดิการที่รวดเร็วและพนักงานได้รับความช่วยเหลือได้ทันท่วงที ยกตัวอย่าง
การพัฒนาภายในองค์กร บทบาทสำคัญของหน่วยงาน HR ที่จะต้องมีส่วนช่วยในการฝึกอบรมพนักงานตั้งแต่เริ่มต้น ก่อนเข้าปฏิบัติงาน หน่วยงาน HR จะต้องมีส่วนช่วยให้หน่วยงานทางด้าน Line ฝึกอบรมให้ความรู้กับพนักงานใหม่ เช่น หัวข้อ ความปลอดภัยในการทำงาน ระเบียบข้อบังคับของบริษัท สวัสดิการ ระบบพื้นฐานของบริษัท 5ส. QCC KYT และข้อเสนอแนะ
การสรรหาคัดเลือกผู้สมัคร ซึ่งเป็นหน้าที่ของหน่วยงาน HR โดยตรง จะต้องสรรหาผู้สมัครที่จบการศึกษาในสาขาที่บริษัทต้องการจะรับ ซึ่งในเบื้องต้นมุ่งเป้าไปตรงประเด็นนี้ เพราะว่าโดยหลักการนักศึกษาที่เลือกเรียนสาขาใด ก็ต้องการที่จะต้องอยากปฏิบัติงานในสาขาที่เรียนมา ด้วยหลักเกณฑ์ลักษณะนี้ควรกำหนดไว้เป็นแนวปฏิบัติ ในการรับคนเข้าสู่องค์กร เพื่อป้องกันเด็กฝากจากหน่วยงานต่างๆ โดยกติกาที่เขียนเป็นแนวปฏิบัติไว้ทุกหน่วยงานควรจะต้องเคารพกติกาแนวปฏิบัติที่กำหนดไว้โดยผู้บริหารสูงสุด กรณีที่ไม่ได้กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร จากประสบการณ์ของผู้เขียน ก็จะมีเอกสารบันทึกแนบใบสมัครมา เรื่อง เหตุผลที่จะต้องรับพนักงานวุฒิและสาขาที่จบมาไม่ตรงกับลักษณะงาน โดยอ้างเหตุผลว่า พนักงานมีประสบการณ์ทางด้านนี้มาโดยตรง และเป็นความประสงค์ของหน่วยงานที่จะรับด้วย
การสัมภาษณ์งานที่ทุกองค์กรได้นำมาใช้ในการสัมภาษณ์คนเข้าสู่องค์กรนั้น ได้เริ่มมีความแพร่หลาย โดยใช้การสัมภาษณ์งานแบบ S T A R Technique เป็นที่น่าสังเกตว่า สูตรต่างๆ ที่หยิบยกมาแนะนำนั้น เป็นของต่างประเทศอาจเป็นเพราะว่า เขามีคนช่างคิด ช่างจัดการก็ได้ แต่สามารถ นำมาปรับใช้ กับการจ้างงาน ของเราได้ดีทีเดียว ผู้อ่านที่ติดตาม มาตลอด