ทุกองค์การให้ความสำคัญของการได้มาและรักษาพนักงานดาวเด่น(Talent) ไว้ในองค์การ ถ้าไปถามว่าปีนี้หรือปีหน้าสิ่งที่องค์การต้องการอยากทำมากที่สุดในอันดับต้นคืออะไร ส่วนใหญ่องค์การมักจะตอบได้เลยว่าเป็นเรื่องของการจัดการพนักงานดาวเด่น ไม่ว่าจะเป็นการรับคนการจัดโครงการต่างๆ เพื่อที่จะรักษาคนดีคนเก่งขององค์การเอาไว้ ผู้บริหารเริ่มยอมสละเวลาและมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น ในแต่ละองค์การสัดส่วนพนักงานดาวเด่นที่มีความรู้ความสามารถ ย่อมน้อยกว่าคนไม่เก่ง และแน่นอนครับพนักงานที่มีความรู้ ความสามารถ จะเป็นกลไกสำคัญ หรือเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้องค์การขับเคลื่อนไปอย่างรวดเร็วขึ้น หลายองค์การเฟ้นหาคนที่มีความรู้ ความสามารถ จากทั้งภายในและภายนอก ซึ่งการเฟ้นหาจากภายนอกแต่ละองค์การมีวิธีที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งที่ควรจะพิจารณาด้วยว่า พนักงานที่เป็นดาวเด่นจากองค์การอื่น ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเก่งที่อีกองค์การหนึ่งเสมอไป
บางครั้งผู้บริหารมีความตั้งใจมุ่งงานเพียงอย่างเดียวเพื่อที่จะให้งานประสบความสำเร็จ ลืมนึกไปว่าลูกน้องที่ทำงานอยู่ ไม่มีใจในงานที่นายสั่งให้ทำแล้ว งานที่ทำอยู่นั้นก็ไม่ประสบความสำเร็จอยู่ดี ฉะนั้นหัวหน้างานและผู้บริหารจึงควรจะมีวิธีการสังเกต ลูกน้องของตนเองว่า พฤติกรรมอย่างไรบ้างที่พนักงานท่านนั้นไม่มีใจให้กับองค์การแล้ว จากประสบการณ์ของผู้เขียน ที่เคยสัมผัสกับพนักงานมาที่มีพฤติกรรมดังกล่าว จึงอยากจะขอแชร์ประสบการณ์ จากที่ผู้เขียน เคยปฏิบัติงานในโรงงานแห่งหนึ่ง ในเขตจังหวัดสระบุรี โดยงานที่รับผิดชอบ คือ งานด้านแรงงานสัมพันธ์และฝึกอบรม ซึ่งงานด้านนี้ส่วนใหญ่ก็จะมีพนักงานที่ไปร่วมงานฝึกอบรมจะเข้ามาหารือบ่อยๆ ถึงเรื่องปัญหาในงานในแผนก และวิธีการทำงาน เวลาส่วนใหญ่ที่พนักงานเข้ามาหารือมักจะเป็นในช่วงเย็นหลังจากได้มีการสังสรรค์กับในหมู่เพื่อน
ในยุคปัจจุบัน การสรรหาและคัดเลือก เป็นปัญหาสำหรับทุกองค์กร แหล่งการสรรหาที่จะสามารถมาตอบสนองให้กับบริษัทได้ ก็ค่อนข้างหายาก กระบวนการสัมภาษณ์และคัดเลือกคนเข้าสู่องค์กร ขาดประสิทธิภาพ เพราะจะคัดเลือกคนที่ไม่ทักษะและ ความรู้ เข้ามาภายในองค์กร ปัญหาที่พบอยู่เป็นประจำก็คือ หัวหน้าและผู้จัดการไม่มีทักษะในการสัมภาษณ์คน ส่วนใหญ่มักจะเลือกคนที่เหมือนกับตัวเอง แทนที่จะเลือกคนที่แตกต่าง เพื่อมาเสริมในสิ่งที่แผนก/หน่วยงานยังขาดความรู้และทักษะอยู่ นั่นคือสิ่งที่มักเกิดขึ้นกับหน่วยงาน ที่ผู้เขียนเคยพบเห็นอยู่เป็นประจำ สำหรับองค์กรที่ มีบริษัท Sub-contract
ในสภาวะปัจจุบัน การดูแลพนักงานใหม่ ก็จะเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้พนักงานใหม่ที่เดินเข้ามาสู่องค์กร ได้ตัดสินใจอยู่ในบริษัทต่อไปหรือไม่ การใช้มาตรการอื่นที่เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวพนักงาน เช่น การให้ค่าจ้างที่มีอัตราสูง ๆ ก็ใช่ว่าจะทำให้ พนักงานได้ตัดสินใจอยู่ในองค์กร หรือการให้สวัสดิการก็ไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้พนักงานอยู่องค์กรได้นาน จากการสอบถามพนักงานใหม่โดยทั่วไป สิ่งที่เขาได้ตัดสินใจอยู่ในองค์กรที่เขาทำงานอยู่นั้นก็เพราะ ความรู้สึกที่ดี ที่มีเพื่อนๆร่วมงานคอยช่วยเหลือให้กำลังใจ เมื่อยามเจ็บป่วย มีผู้บังคับบัญชาคอยให้ความช่วยเหลือเอาใจใส่ ในกรณีพนักงานได้รับความเดือดร้อน แต่การที่จะให้หัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชามาคอยช่วยเหลือและรับรู้ทุกเรื่อง
ยุคนี้อาจจะพูดได้ว่าเป็นยุคทอง ของงานสรรหาพนักงาน จากที่ผู้เขียนเป็นที่ปรึกษาหลายองค์กร มักจะบ่นเรื่อง การหาคนให้ฟังว่า หาพนักงานที่ทำงานใน โรงงานยากมาก พอหาได้มาก็มาทำงานได้ไม่ทน ไม่ค่อยสู้งาน ไม่อดทน เกี่ยงงาน เลือกที่จะทำงานไม่หนัก ไม่ทำงานล่วงเวลาถึงเวลาเลิกงานกลับบ้านตรงเวลา ไม่สนใจงานจะเสร็จหรือไม่เสร็จ ปล่อยให้หัวหน้าแก้ปัญหาเอาเอง นั่นคือพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ ที่นักบริหารงานบุคคล ประสบอยู่ในขณะนี้ บางองค์กรหาคนที่จะมาสมัครงานในบริษัทยังไม่ได้เลย คงไม่ต้องพูดถึงเรื่อง
บางครั้งคณะกรรมการสัมภาษณ์จะมุ่งเน้นที่จะสัมภาษณ์ผู้สมัครอย่างเดียวคงไม่ทันกาล เพราะว่าในโลกปัจจุบันขณะนี้ผู้สมัครก็มีทักษะ ความรู้ ความสามารถเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับการแสดงออกของผู้สมัครในยุค Gen Y ก็มีความเข้มข้น มีความกล้าแสดงออก มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงมาก จนกระทั่งผู้ที่เป็นคณะกรรมการสัมภาษณ์ที่มีประสบการณ์น้อย ไม่สามารถทราบได้เลย ผู้สมัครมีความสามารถ และทักษะสูง ตามคำกล่าวอ้างหรือไม่ หรือในบางแง่มุมหนึ่งของชีวิต ผู้สมัครเอง อาจจะไม่ได้ระวังตัวเอง เมื่อยังไม่ถึงเวลาเข้าเวทีการสัมภาษณ์งานจริง ซึ่งองค์กรต้องหาวีธีการที่จะสังเกตพฤติกรรมผู้สมัครให้ได้อย่างแยบยล
เมื่อได้ยินคำนี้ เหมือนกับเคยได้ยินคุ้นๆ กับคำสุภาษิตสมัยโบราณ ผู้เขียน ขออธิบายความคำว่า “ตกเขียว” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้ความหมายว่าหมายถึงวิธีการที่นายทุนให้เงินแก่ชาวนาหรือชาวไร่กู้เมื่อข้าวในนาลัดใบหรือลำไยมีลูกขนาดหัวแมลงวันแล้ว โดยตกลงกันว่าชาวนาชาวไร่จะให้ข้าวเปลือกหรือลำไยแก่นายทุนแทนเงินหลังจากนวดข้าวแล้วหรือหลังจากเก็บลำไยได้แล้ว หรือเปรียบโดยปริยายหมายถึงการที่พ่อแม่รับเงินจากนายทุนซึ่งจ่ายให้เป็นค่าตัวเด็กผู้หญิงซึ่งยังเรียนหนังสือไม่จบไว้ล่วงหน้า เมื่อเรียนจบแล้วนายทุนจะมารับตัวเด็กไปเพื่อค้าประเวณีเป็นการใช้หนี้คืนให้แก่นายทุน. เบื้องต้นจะพูดถึงคำว่า “ตกเขียว” ในความหมายแรกก่อน ซึ่งแถบภาคเหนือของเรานิยมทำกันมาก แต่ในปัจจุบันมักจะอยู่ในรูปของการซื้อขายแบบ “ ตกเขียว “ การทำสัญญาซื้อขายกันในลักษณะนี้ ถือเป็นการทำสัญญาซื้อขายแบบเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งการชำระหนี้นั้น ได้โอนไปเป็นของผู้ซื้อแล้วขณะที่ทำสัญญากัน ฉะนั้นหากเกิดภัยพิบัติหรือเหตุสุดวิสัยใดๆ อันมิใช่ความผิดของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด อันจะทำให้การชำระหนี้ของผู้ขายตกเป็นพ้นวิสัยแล้ว ย่อมตกเป็นพับแก่ผู้ซื้อ โดยที่ผู้ซื้อยังคงมีหน้าที่จะต้องรับผิดชำระราคาให้กับผู้ขายอยู่ สำหรับผู้เขียนขอนำเรื่องนี้ มาใช้ในการรับคนเข้าสู่องค์กร ในยุคปัจจุบันนี้ การสรรหาและคัดเลือก มีการแข่งขันค่อนข้างรุนแรงมาก เพราะว่าแต่ละองค์กรต้องการหาคนที่เข้ามาทำงาน แต่ต้องประสบปัญหากับการขาดแคลน ทางด้านแรงงานที่เป็นระดับ worker ทุกบริษัทเข้าไปรับสมัครพนักงาน ตามรั้วมหาวิทยาลัยทุกแห่ง พยายามที่ นำของชำร่วยของบริษัท ไปเป็นสิ่งจูงใจ
การคัดเลือก บุคลากร เข้ามาทำงานในองค์กรนับได้ว่าเป็นภารกิจที่ยากที่สุด ของผู้บริหารและฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งตรงกับคำพูดของ นายแอนดรูว์ โกรฟ ประธานกรรมการ บริษัท อินเทรน จำกัด ยักษ์ใหญ่แห่งซิลิกอน แวลลี่ย์ เป็นบริษัทที่ติดอันดับหนึ่ง ในนิตยสารฟอร์จูน 500 เขียนไว้ในหนังสือชื่อ “การบริหารเพื่อผลงาน” (High Output
ส่วนใหญ่นักบริหารงานบุคคล ดำเนินการสรรหาและคัดเลือกผ่านกระบวนการสัมภาษณ์ ทดสอบ ว่าจ้าง รับเข้ามาเป็นพนักงาน ใบสมัครของผู้ถูกสัมภาษณ์ที่คัดเลือก เพื่อนำมาเป็นเปรียบเทียบกัน ก็ถูกนำไปเก็บไว้ โดยที่ไม่ได้ใส่ใจประวัติดังกล่าวอีกเลย ซึ่งในยุคที่แรงงานค่อนข้างหายากเช่นนี้ นักบริหารงานบุคคล ควรเริ่มใส่ใจประวัติดังกล่าวนี้ใหม่ เหมือนกับวัตถุดิบ ในยุคแรกๆ ที่บริษัทนำวัตถุดิบไปผลิตสินค้าแล้ว เกิดความเสียหาย สินค้าถูกเคลมกลับคืนมายังบริษัท สินค้าดังกล่าวก็ไม่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ แต่พอมายุคปัจจุบันเทคโนโลยีเจริญขึ้น ก็ได้คิดค้นวิธีที่จะนำสินค้าที่ชำรุดเสียหาย
จากที่หลายๆองค์กร มักประสบปัญหากับการรับพนักงานใหม่เข้ามาสู่องค์กร สิ่งที่บริษัทต้องเผชิญกับการหาพนักงานเข้ามาร่วมงานยากแล้ว ยังต้องพบปัญหาคนรุ่นใหม่ไม่มีความอดทน ไม่ค่อยสู้งาน เลือกทำงานที่ตนเองชอบเป็นกรณีพิเศษ เมื่อเข้ามาปฏิบัติงานแล้ว ถ้ากระบวนการทำงานไม่เอื้ออำนวยหรือระบบการทำงานไม่ดี ก็ออกไปจากองค์กร โดยไม่มีการบอกกล่าวแต่อย่างใด สิ่งที่ผู้เขียนได้รับคำบ่นจากหน่วยงาน HR อยู่เป็นประจำ ว่าจะทำอย่างไรดีกับคนรุ่นใหม่ ที่มีพฤติกรรมลักษณะนี้ ต้องบอกเลยว่ายากมาก กับการที่เราจะไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนกลุ่มนี้ ยกเว้นว่าเราจะปรับองค์กรของเราอย่างไร ที่จะดึงดูดคนกลุ่มนี้ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรของเรา จากที่ผู้เขียนได้เคยร่วมสัมภาษณ์