จากบทความก่อนหน้านี้ ได้กล่าวถึง กิจกรรมการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ โดยการนำแผนกลยุทธ์ขององค์การไปวางกลยทุธ์ของงานทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องจัดดทำเป็นแผนงาน ( Action plan) ซึ่งในฉบับนี้จะลงรายละเอียดของแผนงานแต่ละแผนกของงานทรัพยากรมนุษย์ พร้อมยกตัวอย่างมาเป็นที่เข้าใจให้มากขึ้น การเขียนแผนและโครงการจากกลยุทธ์หลักที่ได้กำหนดไว้ทั้ง 3 ข้อ ผู้เขียนขอยกตัวอย่างในหัวข้อแรก คือ การพัฒนาทักษะ ความสามารถของพนักงาน เพื่อให้องค์การประสบความสำเร็จตามาตรฐานที่ได้ตั้งไว้ โดยดำเนินการกระจายให้กับ แผนก HRD เป็นผู้ดำเนินการจัดทำ
ผู้เขียนจะขอเน้นการนำ Competency มาใช้กับ กระบวนการสรรหาและคัดเลือกพนักงานเข้าสู่องค์การเป็นประเด็นได้ดังนี้ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสมัยใหม่ต้องไม่ยึดติดกับรูปแบบเดิมอีกต่อไป ต้องคิดเสมอว่าจะคิดหารูปแบบการบริหารที่สอดคล้องกับสังคมยุคใหม่ที่เปลี่ยน แปลงไปอย่างรวดเร็ว วีธีการหนึ่งที่องค์การสมัยใหม่ได้เตรียมวางแผนการบริหารการจัดการสรรหา คัดเลือกคนที่สอดคล้องและเหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์การ โดยเริ่มกระบวนการตั้งแต่การสรรหาและคัดเลือกคนเข้าวสู่องค์การ โดยอาศัย competency มาเป็นเครื่องมือหนึ่งในการรับคนเข้าสู่องค์การ ซึ่งบางบริษัทได้เริ่มวางแผนรับคนตั้งแต่อยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย มีโอกาสได้สิทธิ์ในการคัดเลือกพนักงานก่อนองค์การอื่น หรือที่เรียกว่า การคัดเลือกพนักงานที่เป็นดาวเด่นที่ยังไม่จบจากมาหาวิทยาลัย (young Talent) ดำเนินการ
คนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่ง องค์การทุกภาคส่วนพยายามที่หันมาใส่ใจ เรื่อง คนกันมากขึ้น ยิ่งในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย ย่อมมีผลกระทบต่อการดำรงชีพของพนักงาน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ องค์การเองคงจะไม่มุ่งเน้นที่คุณภาพของผลิตภัณฑ์ขององค์การอย่างเดียวควรจะให้มาใส่ใจเรื่องคุณภาพชีวิตของพนักงานควบคู่ไปด้วย เพราะสภาพเศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้ มีส่วนกระทบต่อการดำเนินชีวิตของพนักงานอย่างแน่นอน องค์การจะมีส่วนช่วยผลักดันให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานอย่างไร ซึ่งผู้เขียนจะพยายามหาข้อมูลปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต และพยายามศึกษาหาวิธีการ เพื่อที่จะมาปรับปรุงการทำงาน ให้ประสบความสำเร็จไปพร้อมกันด้วย ถ้าเรามามองกันในด้านคุณภาพชีวิตในการดำเนินชีวิต จะประกอบไปด้วย ปัจจัยสี่ ความมั่นคง ความปลอดภัย
พฤติกรรมมนุษย์ ก็เกิดจากการที่คนทำอะไรอยู่กับสิ่งนั้นเป็นเวลานาน จนกระทั่งรู้สึกว่า การกระทำนั้น ไม่รู้สึกขัดหรือเกิดความขัดแย้ง ถ้าองค์กรจะจัดสิ่งใดให้กับพนักงานเพื่อ ที่จะให้พนักงานภายในองค์กร เกิดความรู้สึกที่ดี หรือมีสภาพจิตใจที่อ่อนโยน เป็นมิตรกับเพื่อนร่วมงาน การที่จะปลูกฝังสิ่งเหล่านี้ ก็มีหลายองค์กรที่พยายามที่จะจัดสถานที่ของบริษัท ให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับพนักงาน เพื่อที่จะให้การจัดสถานที่ดังกล่าว เป็นหนี้บุญคุณ ที่พนักงานจะต้องตอบแทนบริษัท ที่ได้ดำเนินการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกให้ แต่พนักงานคิดไปในทางตรงกันข้ามกับบริษัท ซึ่งพนักงานคิดว่าสิ่งที่องค์กรได้ทำหรือปฏิบัติอยู่นั้น เป็นหน้าที่ขององค์กร
ชีวิตการทำงานเปรียบเสมือนกันดำรงอยู่ของชีวิตของคนเรานั่นเอง จะสังเกตเห็นโดยทั่วไปว่า คนที่มีความสุขไม่ใช่คนที่ร่ำรวย คนที่มีความสุขที่สุดในโลกไม่ใช่คนที่ประสบความสำเร็จ แต่คนที่มีความสุขที่สุด คือ คนที่มีความสบายใจเท่านั้นเอง การที่เราจะสบายใจได้นั้น เราต้องปฏิบัติตัวอย่างไร หรือวางตัวอย่างไรให้ผู้พบเห็น หรือเพื่อนที่ทำงานด้วยเกิดความรู้สึกที่ดี เรามาเริ่มความหมายของคำว่าสบายใจกันซิว่า มีส่วนประกอบอะไรบ้าง 1. เราต้องมีความเชื่อมั่นในตัวเอง ก่อนว่า เชื่อว่าเรามีดี น่าคบหาและ ตัวเราเอง สามารถทำได้ โดยที่ไม่ต้องไปพึ่งใคร
ในยุคปัจจุบัน การสรรหาและคัดเลือก เป็นปัญหาสำหรับทุกองค์กร แหล่งการสรรหาที่จะสามารถมาตอบสนองให้กับบริษัทได้ ก็ค่อนข้างหายาก กระบวนการสัมภาษณ์และคัดเลือกคนเข้าสู่องค์กร ขาดประสิทธิภาพ เพราะจะคัดเลือกคนที่ไม่ทักษะและ ความรู้ เข้ามาภายในองค์กร ปัญหาที่พบอยู่เป็นประจำก็คือ หัวหน้าและผู้จัดการไม่มีทักษะในการสัมภาษณ์คน ส่วนใหญ่มักจะเลือกคนที่เหมือนกับตัวเอง แทนที่จะเลือกคนที่แตกต่าง เพื่อมาเสริมในสิ่งที่แผนก/หน่วยงานยังขาดความรู้และทักษะอยู่ นั่นคือสิ่งที่มักเกิดขึ้นกับหน่วยงาน ที่ผู้เขียนเคยพบเห็นอยู่เป็นประจำ สำหรับองค์กรที่ มีบริษัท Sub-contract
จากสุภาษิตโบราณ ที่ได้กล่าวไว้ เพื่อเป็นการสอนคน ซึ่งเป็นทั้งผู้บริหารและพนักงาน เพื่อให้เกิดความตระหนักในการทำงาน บางครั้งก็จะเป็นหารเตือนสติ พนักงานที่เป็นพนักงานระดับบริหาร ไม่ให้หลงประเด็นไป โดยเฉพาะการสอนโดยใช้สุภาษิต จะทำให้เกิดความจำ และนำไปใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดผลทางในปฏิบัติได้ จากคำสุภาษิต อยู่สูงให้นอนคว่ำ นั้นแปลความหมายเป็นอย่างไร จากคำสุภาษิตได้เปรียบเปรยว่า ถ้าองค์กรใดที่มีพนักงานตำแหน่งหน้าที่การงานที่อยู่ในระดับสูง ถ้าอยู่ตำแหน่งสูงๆ แล้ว จะต้องให้ความสำคัญกับพนักงานในระดับที่ต่ำกว่า หรือผู้ที่เป็นลูกน้องนั่นเอง
ผู้บริหารองค์กรและนักบริหารงานบุคคลต้องเตรียมเก็บข้อมูลของพนักงานในแต่ละเดือนของทุกๆ ปี ไว้ด้วยว่าพนักงานในองค์กรมีความเคลื่อนไหวในแต่ละเดือนอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นประโยชน์ในการสรรหาและคัดเลือกคนเข้าสู่องค์กรด้วยเช่นกัน ถ้าหน่วยงานบริหารงานบุคคลไม่ได้เก็บข้อมูลเอาไว้ ก็จะไม่ทราบเลยว่าบริษัทหรือองค์กรมีพนักงานเคลื่อนไหวในแต่ละเดือน และนำข้อมูลดังกล่าวไปวางแผนในการรับคนมาทดแทนได้ถูกต้องอีกด้วย จากที่ผู้เขียนมีประสบการณ์ในการทำงาน ทั้งในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม และธุรกิจโรงพยาบาล ผู้เขียนมักจะเก็บข้อมูลพนักงานที่ลาออกในอัตราที่สูงที่สุดของแต่ในเดือน ซึ่งในช่วงเดือนดังกล่าวจะต้องเตรียมแผนในการับคนมาทดแทนได้ทันความต้องการขององค์กรได้ ซึ่งการเก็บข้อมูลของหน่วยงานที่รับผิดชอบในการลาออกของพนักงานต้องนำมาเปรียบเทียบกันในแต่ละปีด้วย เพื่อจะได้ดูแนวโน้มของพนักงานที่ลาออกมากที่สุดในช่วงเดือนใด ซึ่งการลาออกของพนักงานดังกล่าว จะต้องมีเหตุผลที่สามารถอธิบายได้ด้วยหลักการและข้อมูลข้อเท็จจริง โดยผู้เขียนขอนำเสนอข้อมูลที่เป็นขององค์กรแห่งหนึ่งที่ผู้เขียนเคยเก็บข้อมูลไว้ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงและนำมาวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรได้ แต่อย่างไรก็ตามนักบริหารงานบุคคลจะต้องมีข้อมูลเชิงลึกของพนักงานที่ลาออกจากองค์กรด้วยเช่นกัน เพราะว่าเหตุผลของพนักงานที่เขียนในแต่ละคนมีความหลากหลาย
การบริหารคนภายในองค์กร นับว่าเป็นสิ่งสำคัญ ที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล จะต้องเตรียมการวางแผนไว้ เพื่อที่จะให้พนักงานที่จะเข้ามาสู่องค์กร จะได้ไม่เกิดความรู้สึกว่า พนักงานที่ทักษะประสบการณ์มากกว่า พอเข้ามาทำงานภายในองค์กรจะได้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่า หรือไม่เช่นนั้นปัญหาที่เกิดภายในองค์กรอยู่บ่อยๆ ก็คือ พอรับคนใหม่เข้ามาทำงาน คนเก่าต้องลาออกไป เพราะว่าคนใหม่เข้ามา ได้รับค่าตอบแทนที่มากกว่า ซึ่งผู้บริหารองค์กรต้องยอมรับว่า พนักงานรุ่นใหม่มีการเปลี่ยนงานค่อนข้างสูง โดยส่วนใหญ่บริษัทใดที่ขาดแคลนอัตรากำลัง หรือต้องการพนักงานที่มีประสบการณ์จากที่อื่น ก็จะมักนิยมซื้อตัวพนักงานที่อยู่ในบริษัทอื่นเข้ามา ในอัตราที่ค่อนข้างสูง
แนวความคิดของผู้บริหารองค์กร ที่มักได้ยินคำว่าอัตราการลาออกของพนักงานสูง ก็จะเริ่มรู้สึกไม่ค่อยดีเท่าไรนัก แต่เมื่อมีการศึกษาในการบริหารทรัพยากรบุคคลยุคใหม่ เริ่มหันมาให้ความสนใจ อัตราการลาออกของพนักงานกันมากขึ้น โดยให้เก็บข้อมูลพนักงานอย่างละเอียด พร้อมทั้ง สาเหตุของการลาออกของพนักงาน ว่าเป็นเพราะสาเหตุใดกันแน่ หน่วยงาน HR จึงต้องมีการเก็บข้อมูล Exit Interview เป็นรายเดือน เพื่อที่จะนำเสนอผู้บริหารให้ทราบของเหตุผลการลาออกของพนักงานภายในองค์กร ดังตัวอย่างที่ยกประเด็น ตามข้อมูลด้านล่าง ข้อมูลหรือเหตุผลของการลาออกของพนักงานแต่ละคนที่ได้มาจาก