การบริหารคนในยุคปัจจุบัน ก็ยังถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น อันดับต้นๆ ของการบริหารจัดการองค์การไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชนก็ตาม ซึ่งระบบราชการได้มีมติ ครม.ให้มีการยกเลิกระบบซีที่ใช้อยู่ปัจจุบัน เปลี่ยนมาใช้ระบบแท่งแทน ทำให้ภาครัฐมีการปรับแผนยกระดับการบริหารบุคคลกันขนานใหญ่ อย่างไรก็ตาม การบริหารดังกล่าวจะประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับ คงจะต้องมีการสื่อสารทำความเข้าใจ กับตัวบุคคลที่ได้รับผลกระทบ ว่าระบบดังกล่าวมีผลดีต่อกระบวนการทำงานในอนาคตอย่างไร พร้อมทั้งผู้ที่จะนำไปปฏิบัติต้องมีความรู้อย่างแท้จริงในการนำไปปฏิบัติให้เกิดผลดีต่อองค์การ จะทำให้การบริหารผลตอบแทนประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้ จะเห็นได้ว่า การบริหารทางภาครัฐมีการปรับตัว ในส่วนของภาคเอกชนก็ได้มีวิวัฒนาการไปอีกระดับหนึ่ง
คณเคยถูกคาดหวังให้ทำตัวหรือมีพฤติกรรมอย่างไรในองค์กรจากเจ้านาย หรือเพื่อนร่วมงานหรือไม่ ถามเช่นนี้ ก็เพราะว่าระยะสองสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ ผมได้มีโอกาสเข้าไปร่วมทำงานและแลกเปลี่ยนความรู้กับ 3 องค์กร ในฐานะที่ปรึกษาและวิทยากรหัวข้อ ค่านิยมร่วมและการสร้างวัฒนธรรมองค์กร ก่อนอื่นผมอยากจะทำความเข้าใจ ตามภาพต้นไม้ข้างต้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจ เรื่องวัฒนธรรมองค์กรได้มากยิ่งขึ้น ก่อนว่า ในองค์กรหนึ่งนั้น การที่จะให้พนักงานมีความรู้สึกร่วมหรือค่านิยมร่วม องค์กรต้องสร้างความเชื่อมั่น(Beliefs)ก่อน ซึ่งเปรียบเสมือนส่วนรากของต้นไม้ เมื่อพนักงาน เกิดความเชื่อถือ
คนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่ง องค์การทุกภาคส่วนพยายามที่หันมาใส่ใจ เรื่อง คนกันมากขึ้น ยิ่งในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย ย่อมมีผลกระทบต่อการดำรงชีพของพนักงาน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ องค์การเองคงจะไม่มุ่งเน้นที่คุณภาพของผลิตภัณฑ์ขององค์การอย่างเดียวควรจะให้มาใส่ใจเรื่อง คุณภาพชีวิตของพนักงานควบคู่ไปด้วย เพราะสภาพเศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้ มีส่วนกระทบต่อการดำเนินชีวิตของพนักงานอย่างแน่นอน องค์การจะมีส่วนช่วยผลักดันให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานอย่างไร ซึ่งผู้เขียนจะพยายามหาข้อมูลปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต และพยายามศึกษาหาวิธีการ เพื่อที่จะมาปรับปรุงการทำงาน ให้ประสบความสำเร็จไปพร้อมกันด้วย ถ้าเรามามองกันในด้านคุณภาพชีวิตในการดำเนินชีวิต จะประกอบไปด้วย ปัจจัยสี่
ในวงการ HR ถ้าเรามามองรอบๆตัวเราจะเห็นว่ามีคนเก่ง (Highly Intelligence) เป็นจำนวนมาก ในสังคมครอบครัวหรือที่ทำงาน บางครั้งเราเองก็คงแอบคิดหรือคิดดังๆ อยู่เหมือนกันว่าเราก็เป็นคนเก่งคนหนึ่ง หากเราพิจารณาให้ลึกลงไปอีก เราก็จะพบว่าคนเก่งๆ ของเราบางท่านก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จในหน้าที่การทำงาน รวมไปถึงความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในองค์การ ในวงการ HR ถ้าเรามามองรอบๆตัวเราจะเห็นว่ามีคนเก่ง (Highly Intelligence) เป็นจำนวนมาก ในสังคมครอบครัวหรือที่ทำงาน
เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคปัจจุบันนับว่าเป็นสิ่งสำคัญเป็นพื้นฐานรากที่ทุกองค์การเริ่มหันมาให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก องค์การบางแห่งเริ่มไปเน้นที่ เครื่องจักร และเครื่องมือต่างๆที่นำพามาซึ่งผลประกอบการโดยรวมขององค์การ ท้ายสุดก็ไม่พ้นเรื่องการบริหารคน ต้องมาเริ่มต้นที่การพัฒนา และใส่ใจเรื่องความเป็นอยู่ของคนในองค์การเพราะเป็นจุดเริ่มต้นที่เป็นปัจจัยหลักของการเจริญเติบโตแบบยั่งยืนขององค์การ ซึ่งผู้เขียนจะขอยกตัวอย่าง ผลการศึกษาวิจัยของ Olver,Roy and Watter (1999)ตามแผนภาพด้านล่างดังนี้ จากการศึกษาองค์การจะเห็นได้ว่า สมัยปี ค.ศ. 1982 ในยุคนั้นส่วนใหญ่จะไปเน้นที่สินทรัพย์ที่จับต้องได้ (62%) มากกว่าสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้
ในฉบับที่แล้วผู้เขียนได้อธิบายถึง การบริหารคนให้มีความสอดคล้องกับยุคเศรษฐกิจในสภาวะปัจจุบัน ซึ่งองค์การบางแห่งได้ผ่านยุคต่างๆ มาโดยเริ่มตั้งแต่ ยุคเกษตรกรรม ยุคอุตสาหกรรม ยุคสารสนเทศ และยุคการจัดการความรู้ จนกระทั่งมาในขณะนี้เราก้าวเข้าสู่ยุคหลังการจัดการความรู้ ในฐานะผู้บริหารระดับสูงควรจะมีบทบาทในการบริหารองค์การให้มีความสอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เมื่อเราเข้าสู่ยุคหลังการจัดการความรู้ นั้นเราเตรียมพร้อมเข้าสู่ สังคมการดูแล เอาใจใส่ การมีส่วนร่วมช่วยเหลือ และช่วยคิดช่วยทำ ซึ่งกันและกัน เพื่อนำพาสังคมไปสู่การพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม ผู้เขียนจะขออธิบายการวางกลยุทธ์ขององค์การให้มีความสอดคล้องกับสังคมยุคหลังการจัดการความรู้ โดยก่อนวางแผนกลยุทธ์องค์การต้องคำนึงถึงปัจจัยทั้ง 4 ด้านหลักดังต่อไปนี้
พอตั้งคำถามในลักษณะนี้แล้ว บางท่านอาจจะคิดถึงระบบต่างๆที่จะต้องนำมาปรับใช้ในองค์กรมากมาย หรือคิดถึงว่าต้องเป็นบริษัทใหญ่ๆเท่านั้นที่เขาทำกัน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เรื่องยากสำหรับองค์กรเล็กๆ และไม่จำเป็นที่ต้องเป็นบริษัทใหญ่ๆที่ได้มาตรฐานเท่านั้นที่จะต้องค้นพบคนเก่งได้ องค์ กรเล็กๆ มีพนักงานในองค์กรไม่ถึง 100 คนก็สามารถค้นพบคนเก่งในองค์กรได้เช่นกัน จึงได้มีคำกล่าวที่ว่า ถ้าองค์กรยังไม่มีระบบการดูแลคนและลงโทษคนที่ไม่ดี ให้ผู้บริหารรักษาคนที่ดีเอาไว้ก่อน แต่ก็จะมีคำถามต่อไปอีกว่า จะมีวิธีการดูแลคนดีอย่างไรในเบื้องต้น คนดีมีลักษณะอย่างไร ซึ่งผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างคำจัดกัดความ คนดี ของ ท่าน
ชีวิตการทำงานเปรียบเสมือนกันดำรงอยู่ของชีวิตของคนเรานั่นเอง จะสังเกตเห็นโดยทั่วไปว่า คนที่มีความสุขไม่ใช่คนที่ร่ำรวย คนที่มีความสุขที่สุดในโลกไม่ใช่คนที่ประสบความสำเร็จ แต่คนที่มีความสุขที่สุด คือ คนที่มีความสบายใจเท่านั้นเอง การที่เราจะสบายใจได้นั้น เราต้องปฏิบัติตัวอย่างไร หรือวางตัวอย่างไรให้ผู้พบเห็น หรือเพื่อนที่ทำงานด้วยเกิดความรู้สึกที่ดี เรามาเริ่มความหมายของคำว่าสบายใจกันซิว่า มีส่วนประกอบอะไรบ้าง 1. เราต้องมีความเชื่อมั่นในตัวเอง ก่อนว่า เชื่อว่าเรามีดี น่าคบหาและ ตัวเราเอง สามารถทำได้ โดยที่ไม่ต้องไปพึ่งใคร
องค์กรมักจะประสบปัญหา เรื่องการตัดสินใจ สำหรับพนักงานที่ตัดสินใจเขียนใบลาออกจากการเป็นพนักงาน ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงพิจารณาการจ่ายโบนัสประจำปีของบริษัท แนวปฏิบัติในเรื่องนี้ โดยเฉพาะบริษัทก็ยังไม่ได้เขียน อย่างชัดเจนว่าจะจ่ายหรือไม่จ่าย เลยเป็นที่ทำใจลำบากในการทำงานของฝ่ายทรัพยากรบุคคล ที่จะต้องมีข้อมูลของพนักงานลาออกอย่างถูกต้องชัดเจน นำเสนอผู้บริหาร แต่ในทางปฏิบัตินั้นค่อนข้างลำบากในการพิจารณาในเรื่องนี้อยู่ดี ว่าจะต้องกำหนดกฎเกณฑ์อย่างไร ถึงจะเกิดความยุติธรรมสำหรับการจ่ายโบนัสในครั้งนี้ดี ผู้เขียนขอยกตัวอย่าง จากประสบการณ์ตรงที่ มีองค์กรกำหนดแนวปฏิบัติ กรณีพนักงานเขียนใบลาออก ในช่วงที่มีการพิจารณา การจ่ายโบนัสประจำปี จะเกิดความสับสนอะไรบ้าง
สังคมยุคใหม่ที่ผู้บริหารต้องเข้าใจและรับรู้ เพื่อต้อนรับแนวคิดของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการก้าวกระโดดเข้าสู่วงการในโลกสังคมการทำงาน เมื่อสมัยก่อนยุคแรกๆ มีการปลอมแปลงวุฒิการศึกษา เพื่อที่จะเข้ามาทำงานให้ได้ในบริษัทที่เขาใฝ่ฝัน แต่นายจ้างก็รู้ทันเกมส์ ลูกจ้าง ก่อนที่จะรับเข้าทำงาน ก่อนที่จะมีการประเมินผ่านการทดลองงานในบริษัท จะมีการตรวจสอบวุฒิการศึกษา จากสถาบันการศึกษาแต่ละแห่งก่อน ซึ่งเป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งของงานสรรหาว่าจ้าง จะต้องทำการตรวจสอบให้เสร็จก่อนที่จะมีการบรรจุ เข้าเป็นพนักงาน ในบริษัท เมื่อสมัยก่อนไม่ค่อยมีการตรวจสอบกัน แต่พอมายุคปัจจุบันเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกองค์กร จะต้องสร้างระบบการตรวจสอบให้รวดเร็วทันกาล เพื่อไม่ให้เกิดการรับคนที่ไม่ถูกต้อง ไม่ตรงความต้องการขององค์กร